ประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี กรุงเทพประกันชีวิต


⭐️⭐️⭐️ ประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ⭐️⭐️⭐️

โปรแกรมคำนวณ การซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี
คุณจะได้ทราบว่า ต้องซื้อประกันเท่าไร? จึงจะลดหย่อนภาษีประกันได้คุ้มค่าที่สุด

ด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีและรายได้นี้ จะทำให้การคำนวณเป็นเรื่องง่าย
เพียง เลื่อน slider รายได้ และ ภาษี ที่ต้องการเท่านั้น ไม่ต้องใส่ตัวเลขอะไรให้ยุ่งยาก
และนี่ก็คือ สิ่งที่ดีที่เราทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซค์ของเราได้ใช้

สนใจประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ปรึกษาตัวแทนประกันมืออาชีพ คลิ๊ก
คำถาม : หากรายได้ (หักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนต่างๆ ก่อนลดหย่อนประกัน) 165,000 ต้องจ่ายภาษี 750 จะต้องซื้อประกันเท่าไร จึงจะลดหย่อนได้เต็ม?
ตอบ : ต้องซื้อ ประกัน 15,000 / ปี (750 * 5%) = 750

โปรแกรมคำนวณประกันเพื่อลดหย่อนภาษี

Income
รายได้ก่อนลดหย่อนประกัน
Insurance
เบี้ยประกัน
IncomeX
รายได้-ค่าประกัน
Tax
ภาษี
Net Income
รายได้-เบี้ยประกัน-ภาษี
reduce tax
ภาษีที่ลดได้จากประกัน
0 0 0 0 0 0




รายละเอียดของภาษีแต่ละขั้น

% tax income

% tax incomex

Tax Rate Min Income Max Income Rate Calculate Depend on Income Real Time
ภาษีเต็ม
Real Time2
ภาษีลดหย่อนประกัน
0% 0 150,000 N/A 0 0
5% 150,001 300,000 (Income - 150,000) x 0.05
10% 300,001 500,000 (Income - 300,000) x 0.1 + 7,500
15% 500,001 750,000 (Income - 500,000) x 0.15 + 27,500
20% 750,001 1,000,000 (Income - 750,000) x 0.2 + 65,000
25% 1,000,001 2,000,000 (Income - 1,000,000) x 0.25 + 115,000
30% 2,000,001 5,000,000 (Income - 2,000,000) x 0.3 + 365,000
35% 5,000,001 N/A (Income - 5,000,000) x 0.35 + 1,265,000

ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต / ประกันสุขภาพ

- ผู้ยื่นภาษีใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันทั้งหมด 3 แบบต้องเป็นประกันของตนเองเท่านั้น เช่น
-- ลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป 75,000 บาท จะใช้สิทธิจากประกันอีกสองตัวได้อีก 25,000 บาท
-- ลดหย่อนประกันสุขภาพ ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท
หากใช้ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพตัวเองไปแล้ว 25,000 บาท จะใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตอีกสองตัวได้อีกแค่ 75,000 บาท
-- ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต 90,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพได้อีก 10,000 บาท
“ประสงค์ใช้สิทธิประกันสุขภาพ เพื่อลดหย่อนภาษี จะต้องแจ้งไปที่บริษัทประกันสุขภาพที่ทำอยู่ เพื่อให้บริษัทนำส่งเอกสารให้กรมสรรพากร (ยื่นเองไม่ได้) ซึ่งบริษัทประกันสุขภาพต้องนำส่งเอกสารไม่เกินวันที่ 7 มกราคม”

ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องนำไปเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี
กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในส่วนของการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต (ข้อ2) หรือใช้สิทธิแล้วแต่ยังไม่ครบ 100,000 บาท สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษี ในส่วนประกันชีวิตให้ครบ 100,000 บาทก่อนได้ ที่เหลือจึงนำมาใช้ในการคิดค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (ใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญ แทนประกันชีวิตแบบทั่วไปได้) ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับ กลุ่มค่าลดหย่อนภาษีการลงทุน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
1. ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสังคม
ผู้ยื่นภาษีที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิดน 9,000 บาท ต่อคน
เพดานประกันสังคมสูงสุดคนละ 750 บาทต่อเดือน  = 9,000 บาท / ปี

2. ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต / ประกันสุขภาพ
- ผู้ยื่นภาษีใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันทั้งหมด 3 แบบต้องเป็นประกันของตนเองเท่านั้น เช่น
-- ลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป 75,000 บาท จะใช้สิทธิจากประกันอีกสองตัวได้อีก 25,000 บาท
-- ลดหย่อนประกันสุขภาพ ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท
หากใช้ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพตัวเองไปแล้ว 25,000 บาท จะใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตอีกสองตัวได้อีกแค่ 75,000 บาท
-- ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต 90,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพได้อีก 10,000 บาท
“ใครที่มีความประสงค์ใช้สิทธิประกันสุขภาพ เพื่อลดหย่อนภาษี จะต้องแจ้งไปที่บริษัทประกันสุขภาพที่ทำอยู่ เพื่อให้บริษัทนำส่งเอกสารให้กรมสรรพากร (ยื่นเองไม่ได้) ซึ่งบริษัทประกันสุขภาพต้องนำส่งเอกสารไม่เกินวันที่ 7 มกราคม”

3. ค่าลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพบิดามารดา
ลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดารวมกับมารดาแล้ว ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่ใช่ 30,000 บาท) 
- เราต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อแม่
- พ่อแม่มีรายได้ปีละไม่เกิน 30,000 บาท
- หากมีพี่น้องสองคนต้องการใช้สิทธินี้ ให้หารตามจำนวนพี่น้องและแบ่งสิทธิเท่าๆ กัน

4. ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องนำไปเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี
กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในส่วนของการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต (ข้อ2) หรือใช้สิทธิแล้วแต่ยังไม่ครบ 100,000 บาท
สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษี ในส่วนประกันชีวิตให้ครบ 100,000 บาทก่อนได้ ที่เหลือจึงนำมาใช้ในการคิดค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
นั่นคือ สามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญ แทนประกันชีวิตแบบทั่วไปได้
"ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับ กลุ่มค่าลดหย่อนภาษีการลงทุน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท"

ประกันที่ลดหย่อนได้
1.ประกันชีวิต = ทั่วไป + บำนาญ  =>  Max 300,000

1. ประกันชีวิตทั่วไป = Max 100,000 ตามจ่ายจริง และ ไม่เกิน 100,000 เมื่่อรวมกับ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต (สำหรับในส่วนประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ต้องเป็นคู่ที่แต่งกันมาทั้งปีแล้ว ไม่ได้เพิ่งแต่งปีนี้ ซึ่งจะลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท) คุ้มครองชีวิตแก่ผู้ที่ทำประกันชีวิตเอาไว้ โดยหากผู้ทำประกันเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินตามทุนประกัน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ซึ่งก็จะเป็นผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการจากไปของผู้ที่ทำประกันชีวิตเอาไว้ทางใดทางหนึ่ง เช่น บุคคลในครอบครัว ประกันชีวิตทั่วไป มีแบบไหนบ้าง? 1.1 ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยประกันถูก ทุนประกันสูง แต่ไม่มีเงินคืนระหว่างทาง 1.2 ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) คุ้มครองในช่วงเวลาสั้น ๆ เบี้ยประกันถูก ความคุ้มครองสูง ไม่มีเงินคืนระหว่างทางและไม่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ 1.3 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) คุ้มครองเพียงระยะสั้น ความคุ้มครองต่ำ มีเงินคืนระหว่างทาง 1.4 ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked) ประกันที่ควบรวมการลงทุนในกองทุนรวม ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้การันตีผลตอบแทน ให้ความคุ้มครองสูง เบี้ยประกันถูก เงื่อนไขแบบประกันชีวิตทั่วไปที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ - ความคุ้มครอง 10 year ขึ้นไป - ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย - หากมีการจ่ายเงินคืนทุกปีระหว่างทาง เงินที่ได้คืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี - หากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา (เช่น จ่ายคืนทุก 3 ปี) เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา หากยกเลิกสัญญาประกันชีวิต หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนครบ 10 ปี จะเป็นอย่างไร? - ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับกรมธรรม์ฉบับนั้นได้อีก - ต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังของทุก ๆ ปีที่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่ต้องจ่าย ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked 1. ค่าการประกันภัย เป็นการชำระเพื่อซื้อความคุ้มครองชีวิต เหมือนซื้อประกันชีวิตทั่วไป และเลือกความคุ้มครองได้ตามต้องการ 2. ค่าใช้จ่ายหลักอื่น ๆ ของกรมธรรม์ เช่น ค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ เป็นต้น 3. ส่วนของการลงทุน ซึ่งเป็นเบี้ยส่วนที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายข้างต้นเพื่อนำไปจัดสรรลงทุนในหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตามสัดส่วนที่เราต้องการ 1 และ 2 ที่มีระยะความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น ลดหย่อนภาษีได้ นำมารวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ส่วนที่นำไปลงทุนไม่สามารถนำมารวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้ 2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ความคุ้มครองแบบการรับรองรายได้หลังเกษียณ จ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องไปจนกว่าจะเริ่มรับเงินบำนาญ (อย่างน้อยสุดเมื่ออายุ 55 ปี) แล้วรับเงินเกษียณเป็นงวดรายปีไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบสัญญา สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป (ใช้แทนประกันชีวิตแบบทั่วไปได้) เมื่อรวมกับ RMF / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน / กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท เงื่อนไขการนำประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษี - มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป - ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย - ต้องจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ กำหนดช่วงอายุการจ่ายเงินเป็น 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น และเราต้องจ่ายเบี้ยครบก่อนได้รับผลประโยชน์ 3. ประกันสุขภาพตัวเอง คุ้มครองสุขภาพ ทั้งเจ็บป่วยด้วยโรคภัย และอุบัติเหตุ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของประกันสุขภาพ - ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี จากแต่เดิมได้เพียง 15,000 บาทต่อปี - ประกันโควิดก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้เช่นกัน - ประกันสุขภาพประเภท UDR (Unit Deducting Rider) ซึ่งเป็นประกันสุขภาพที่ซื้อพ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ก็จะนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่แค่เฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมเพื่อความคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น - โดยเมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ - ประกันให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บปวดและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ - ประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก - ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses) - ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long-Term Care) 4. ประกันสุขภาพของพ่อแม่ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของประกันสุขภาพพ่อแม่ - ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี - ถ้าแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่กับพี่น้องตัวเอง จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย (เช่น จ่าย 15,000 ร่วมกันจ่ายกับพี่น้อง 3 คน ลดหย่อนต่อคนสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท) - ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่คู่สมรสก็นำไปใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี เงื่อนไขการนำประกันสุขภาพของพ่อแม่มาลดหย่อนภาษี ประเภทเบี้ยประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ เหมือนกับประกันสุขภาพตัวเอง - ตัวเรา/คู่สมรส ต้องเป็นลูกแท้ ๆ ตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมไม่ได้) - พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท - ต้องมีเราหรือพ่อแม่คนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้น ๆ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป เราต้องไปกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ในเว็บของบริษัทที่เราทำประกันไว้ เพื่อเป็นการยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลของเราต่อสรรพากร ปัจจบุันสามารถกรอกแบบฟอร์มตามที่เวลาต้องการ แล้วส่งไปยังบริษัท ทางอีเมล หรือ ผ่านตัวแทน/นายหน้า บริษัทเค้าจะนำข้อมูลส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ม.ค. ของทุกปี ฉะนั้นเพื่อความชัวร์ รีบจัดการเรื่องภายในเดือน ธ.ค. 3.1 ค่าลดหย่อนภาษีค่าซื้อกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) สำหรับกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ในปี 2563 นี้ ไม่ได้ไปต่อ ส่วนใครที่มีหุ้น LTF อยู่ในมือ (ซื้อก่อนปี 2563) ให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์เดิม คือ ผู้ยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน LTF ได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (ก่อนหักลดหย่อน) แต่เพดานสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เช่น มีเงินได้ทั้งปีภาษี 1,500,000 บาท สามารใช้สิทธิส่วนนี้ได้ 225,000 บาท (1,500,000 x 15%) หรืออย่างเช่น มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี 4,000,000 บาท 15% ก็จะได้ (4,000,000 x 15% = 600,000) แต่ใช้สิทธิได้เพียง 500,000 บาทเนื่องจากเป็นเพดานสูงสุดนั่นเอง ซื้อกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ในปีไหน ให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของปีนั้น ปีต่อไปหากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนกองทุน LTF อีกก็ให้ซื้อใหม่ตัวเดิมหรือตัวใหม่ก็ได้ กำไรที่ได้จากการขายกองทุน LTF ได้รับการยกเว้นภาษี *หากไม่เกินสิทธิของตัวเองและถือครบ 7 ปีปฏิทิน การนับปีปฏิทินคือ ไม่ว่าจะซื้อกองทุนวันไหนของปี ก็ให้นับเป็นปีที่ 1 และหากขายคืนวันไหนของปี ก็ให้นับเป็นอีก 1 ปี เช่น ซื้อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 ขายคืน วันที่ 2 มกราคม 2565 กรณีนี้ปี 2559-2565 คิดเป็น 7 ปีปฏิทินพอดี (วันที่ 31 ธ.ค. และ 1 ม.ค. ของทุกปีถือเป็นวันหยุด ไม่มีการซื้อขายกองทุน) และหากได้กำไรจากการขายเกินสิทธิ ให้นำกำไรส่วนเกินมาคิดภาษีในปีที่ขายในฐานะเงินได้ประเภทที่ 8 หากขายคืนกองทุนก่อนกำหนดครบ 7 ปีปฏิทิน ต้องทำการคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่เคยใช้ไป และจ่ายเงินค่าปรับคิดเป็น 1.5% ต่อเดือน (นับแต่เม.ย. ปีที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากกองทุน ถึงเดือนที่มีการขายคืน) เช่น ปีที่ใช้สิทธิคือ 2560 และขายกองทุนคืนในเดือนกรกฎาคม 2562 นับเป็น 28 เดือน (1.5% x 28) สมมุติลดหย่อนไป 15,000 ดังนั้นต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 15,00 x 1.5% x 28= 6,300 บาท (ถือเป็นการคืนสิทธิที่เคยได้รับ) ดังนั้นใครจะซื้อกองทุน LTF ก็พิจารณาให้ดีๆ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวตามชื่อ แถมหากอยู่ไม่ครบ คนที่เคยใช้สิทธิต้องมานั่งคิดภาษีย้อนหลัง บวกค่าปรับอีกนะคะ เพิ่มเติม: การนับแบบ 7 ปีปฏิทิน สำหรับกองทุนหุ้น LTF เริ่มตั้งแต่กองทุนที่ซื้อในปี 2559-2562 หากซื้อกองทุนในปีก่อนหน้า ตั้งแต่ปี 2558 ลงไป ให้คิดปีปฏิทินตามเดิมคือ 5 ปี เช่น ซื้อปี 2558 ครบรอบในปี 2562 (5ปี) 3.2 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน / กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) / กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ผู้ยื่นภาษีก่อนใชสิทธิจากทั้ง 4 กองทุนนี้ ต้องคำนวณสิทธิลดหย่อนกองแต่ละตัว ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อ “รวมกันทั้งหมด และรวมกับกองทุน RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท” และอย่าลืมว่าหากผู้ยื่นภาษีใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (ข้อ2.4) ต้องนำมารวมด้วย และใช้สิทธิได้ไม่เกิน 500,000 บาท 3.2.1 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : ลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริง และต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น ถ้าเงินได้ 1,000,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน RMF ได้ 150,000 บาท (1,000,000×15%) และถ้าเงินได้ 4,000,000 บาท (4,000,000×15%=600,000) ถึงแม้จะซื้อกองทุนเต็ม 600,000 บาทตามสัดส่วน 15% แต่ก็จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน RMF ได้เพียง 500,000 บาทเท่านั้นเพราะเป็นเพดานสูงสุดที่กฏหมายกำหนด กองทุน RMF ที่จะนำมาใช้สิทธิต้องเป็นไปตามลักษณะดังนี้ ต้องซื้อกองทุน RMF ต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี เมื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF แล้ว จะต้องไม่ขายคืนจนกว่าจะถือกองทุนครบ 5 ปี และผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนวันที่ขายคืน 3.2.2 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่นกัน และค่าซื้อกองทุนที่นำมาใช้สิทธิลดหย่อนต้องเป็นเงินที่ซื้อเองเท่านั้น ไม่นับรวมเงินที่นายจ้างสมทบให้ เช่นทั้งปีซื้อกองทุนไป 100,000 บาท เป็นเงินตัวเอง 60,000 บาท นายจ้างสมทบ 40,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้แค่ 60,000 บาทที่เป็นเงินของตนเอง 3.2.3 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน : สองกองทุนนี้ใช้เกณฑ์เดียวกันในการคิดค่าลดหย่อนภาษี คือ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (คิดแยกแต่ละกองทุน) 3.2.4 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : ลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริง สูงสุดได้ปีละไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนตั้งแต่ข้อ 3.2.1-3.2.5 ต้องไม่เกิน 500,000 บาท 3.2.5 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท มีเงื่อนไข คือ ต้องถือกองทุนไว้อย่างน้อย 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี และเมื่อรวมกองทุนทั้ง 5 กองทุนแล้ว สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท
สรรพากร ปรับปรุงล่าสุด: 03-12-2021

ให้เราติดต่อกลับ



⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 01:16:49pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com