ประกันภัยก่อสร้าง [Contractors All Risks:CAR / Contractor Work Insurance:CWI]

ข้อมูล ในการจัดทำใบเสนอราคาประกันภัยการก่อสร้าง

1. ชื่อโครงการหรืองานที่รับเหมา
2. ชื่อผู้ว่าจ้าง
3. ชื่อผู้รับเหมาหรือผู้รับเหมาช่วงแต่ละราย
4. รายละเอียดของงานก่อสร้างโดยสังเขป
5. มูลค่าโครงการรวมและมูลค่าย่อยของแต่ละงาน
6. ระยะเวลาก่อสร้าง
7. ข้อกำหนดการคุ้มครองถ้าผู้รับเหมาต้องการ(ถ้ามี)
8. สำเนาสัญญาจ้างงาน(ถ้ามี)
9. แผนผังสถานที่ก่อสร้าง
10. กำหนดการก่อสร้าง
11. แปลนการก่อสร้าง แสดงรูปหรือลักษณะของอาคารที่จะก่อสร้างทุกด้านจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามมูลค่าของสัญญา (ค่าวัสดุ,ค่าแรง,กำไร) อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับการรับพิจารณาของฝ่ายรับประกันภัย
12. ภ.พ. 20
13. สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างฉบับเจ้าของโครงการ
14. แผนที่แสดงสถานที่ก่อสร้าง
15. แบบแปลนการก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้าง
16. ภาพถ่ายงานก่อสร้าง (กรณีงานเริ่มต้นก่อสร้างไปบางส่วน)

"การให้ข้อมูลครบถ้วน จะสามารถทำข้อเสนอได้"

ประกันภัยก่อสร้าง คืออะไร
ประกันงานก่อสร้าง
การประกันภัยงานก่อสร้าง Contractors ALL Risks (CAR)
ข้อตกลงคุ้มครองและทรัพย์สินที่สามารถทำประกันภัยได้
ทรัพย์สินข้อใดที่จะได้รับความคุ้มครอง ต้องตกลงซื้อและระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย

หมวด 1 งานวิศวกรรมโยธาและอาคาร
งานก่อสร้าง (ทั้งงานก่อสร้างถาวร และงานชั่วคราวรวมวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของงาน และ/หรือ วัสดุที่จัดหาโดยเจ้าของโครงการ)
อุปกรณ์ก่อสร้าง (ไม่ใช่เครื่องจักรกล) เช่น นั่งร้าน Sheet Pile
เครื่องจักรกลสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง เช่น Tower Crane, Material
หมวด 2 งานติดตั้งเครื่องจักร

ทรัพย์สินหรือเครื่องจักรที่นำมาติดตั้ง เช่น งานระบบประกอบอาคาร (ระบบลิฟต์ บันไดเลื่อน ระบบสุขาภิบาล)
หมวด 3 ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก

บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย อันเกิดจากการปฎิบัติงานก่อสร้าง หรือติดตั้งเครื่องจักร
ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน

กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้เอาประกันภัย (ผู้รับเหมาก่อสร้าง และ/หรือ เจ้าของโครงการ) สำหรับภัยหรืออุบัติเหตุทุกชนิดที่มิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย
ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ทำประกันภัย (งานก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องจักร) ความคุ้มครองแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.ภัยธรรมชาติ (Act of God) แผ่นดินไหว ลมพายุ (รวมทั้ง Hurricane Cyclone) การยุบตัวของแผ่นดิน แผ่นดินถล่ม การพังทลาย ความเสียหายจากน้ำ
2.ภัยอื่นๆ (Any Other Causes) ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด การลักทรัพย์ที่มีร่องรอยการงัดแงะ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ เจตนามุ่งร้าย หรือกลั่นแกล้ง ความประมาทเลินเล่อ หรืออุบัติเหตุอื่นๆ
ความคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
สำหรับการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเกิดจากการปฎิบัติงานก่อสร้าง หรืองานติดตั้งสัญญา(ในหรือรอบสถานที่ ก่อสร้าง) และผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย
ทุนประกันภัย
งานก่อสร้างและงานติดตั้งเครื่องจักร ตามมูลค่าเต็มของงานก่อสร้างตามสัญญา (รวมค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าขนส่ง ภาษีศุลกากร ภาษีการค้า คำดำเนินการของผู้รับเหมาและวัสดุ ที่จัดหาโดยเจ้าของโครงการ)อุปกรณ์ก่อสร้าง (ที่ไม่ใช่เครื่องจักรกล) มูลค่าตามสภาพแท้จริง (Current or Market Value)
เครื่องจักรกล ตามมูลค่าทดแทนทรัพย์สิน (Replacement Value)
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
จำนวนเงินจำกัดความรับผิด ตามที่ตกลงกันแต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของมูลค่างานตามสัญญา
เงื่อนไขและข้อยกเว้นที่สำคัญ
ผู้เอาประกันภัยต้องปฎิบัติตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง (Sound Engineering Practice)
ต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภัยที่เป็นสาระสำคัญ (Material Chang in the risk) เช่น การเปลี่ยนผู้รับเหมาหลัก เปลี่ยนแบบก่อสร้าง การหยุดงานก่อสร้าง
ข้อยกเว้นที่สำคัญ
ความเสียหายต่อเนื่องทุกชนิด ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ค่าปรับ เนื่องจากทำงานล่าช้า การสูญหายที่ตรวจพบเมื่อเช็คสต็อก
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับทรัพย์สิน
การออกแบบผิดพลาด แรงงานฝีมือด้อยคุณภาพ การชำรุดของเครื่องจักรกล อุปกรณ์ก่อสร้าง หรือยานพาหนะทุกชนิด
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ความเสียหายอันเกิดจากการสั่นสะเทือน การเคลื่อนตัว/ถอดถอน การอ่อนกำลังของสิ่งค้ำจุน (Vibration, Removal and Weakening of Support - VRWS) การบาดเจ็บ เสียชีวิตหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแล ครอบครอง ควบคุมหรือเป็นของผู้รับเหมา หรือเจ้าของโครงการ
ความรับผิดอันเกิดจากยานพาหนะทุกชนิด
เอกสารเบี้องต้นประกอบการพิจารณารับประกันภัย
1. สัญญารับเหมาก่อสร้าง
2. ใบประเมินราคาก่อสร้าง (Bill of Quantity - BOQ)
3. ภาพถ่ายสถานที่ก่อสร้าง ภาพด้านหน้า - หลัง ภาพด้านซ้าย - ขวา

ประกันงานก่อสร้าง
ประกันภัยก่อสร้าง [Contractors All Risks:CAR,contractor work insurance:CWI]
บริษัทผู้ว่าจ้าง มักมีเงื่อนไข ให้ผู้รับเหมา ต้องทำประกันภัยก่อสร้าง เพื่อป้องกันคามเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง รวมทั้งผู้ว่าจ้างเอง เมื่อต้องกู้เงิน หรือ ขอ OD ธนาคาร เพื่อก่อสร้าง ธนาคารอาจมีเงื่อนไข ต้องมีการทำประกันความเสี่ยงภัยในการก่อสร้างด้วย
กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมา แบ่งความคุ้มครองหลักๆ

1. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย [Property]
เช่น ตัวอาคาร, โครงสร้างต่างๆ รวมถึงสามารถขยายความคุ้มครองต่อตัวอาคาร หรือทรัพย์สินเดิมของผู้ว่าจ้างที่สร้างเสร็จแล้วที่อยู่ในโครงการ ซึ่งความคุ้มครองจะเป็นประเภทความเสี่ยงภัยทุกชนิดแต่จะระบุเป็นข้อยกเว้นต่างๆเช่น การเสื่อมสภาพของตัวทรัพย์สินเอง การหมดอายุ การเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ สนิม การออกแบบผิดพลาด เสียหายจากฝีมือแรงงาน สงคราม การก่อการร้าย เป็นต้น
2. เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ

3. ความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก (Public Liability)
ด้านทรัพย์สิน บาดเจ็บ อนามัย ชีวิต
ผู้รับเหมาสามารถโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันภัยโดยจะรับผิดชอบเฉพาะความรับผิดส่วนแรก (Deductible) เท่านั้น และสามารถนำผู้รับเหมาย่อยทุกราย และ/หรือ ผู้ว่าจ้างรวมเป็นผู้เอาประกันภัยด้วยกันได้

ตัวอย่าง งานก่อสร้างที่สามารถซื้อความคุ้มครองกรมธรรม์ประเภทนี้ได้แก่
สร้างถนน, สร้างทางรถไฟ, สร้างสนามบิน, อุโมงค์, สะพาน อาคาร (ที่พักอาศัย, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, สนามกีฬา, โรงงาน ฯลฯ) เขื่อน, โรงผลิตไฟฟ้า ไซโล, โรงสี, โกดัง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ฯลฯ

เครื่องจักรหยุดชะงักที่เกิดจากตัวเอง เป็นข้อยกเว้น
กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรหยุดชะงักจึงเป็นกรมธรรม์ที่ออกแบบมาให้คุ้มครองการหยุดชะงักการทำงานของเครื่องจักรใดๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)หม้อแรงดันไอน้ำ หม้อแปลงไฟฟ้า ปั๊มลม เครื่องมือ อุปกรณ์ ส่วนควบ ฯลฯ
จึงให้ความคุ้มครองถึงความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ที่เป็นสาเหตุจากภายใน ของเครื่องจักร เช่น การหล่อและการใช้วัสดุที่มีคุณภาพไม่สมบูรณ์ ความบกพร่องด้านการฝีมือ การขาดความชำนาญ ความประมาทเลินเล่อ การกลั่นแกล้ง ขาดน้ำในหม้อน้ำ ระเบิดในทางฟิสิกส์ การแยกจากกันด้วยกำลังเหวี่ยงจากศูนย์ถ่วงความเสียหายเนื่องจากอุปกรณ์ชำรุด ความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากการหมดอายุการรับประกันของผู้ผลิต การใช้งานที่ผิดพลาด โดยไม่ตั้งใจ ความบกพร่องของระบบหล่อลื่น ระบบหล่อเย็น ไฟลัดวงจร เดินเครื่องเกินกำลัง

การชดใช้ของกรมธรรม์เครื่องจักรหยุดชะงัก 2 แบบ
- ความเสียหายบางส่วน (Partial Loss) : บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้เป็นค่าซ่อมชดเชยในราคาที่แท้จริงในราคาใหม่แทนเก่า Replacement Value)
- ความเสียหายทั้งหมด (Total Loss) : บริษัทประกันภัยจะใช้หลักการประเมินราคาโดยใช้ราคาที่แท้จริง (Actual Value) โดยคำนวณราคาหักค่าเสื่อม

การประกันภัยงานวิศวกรรมต่างๆ ช่วยรับภาระความเสี่ยงภัยแทนเจ้าของโครงการ หรือผู้รับเหมาก่อสร้างในกรณีที่โครงการก่อสร้างได้ประสบอุบัติเหตุเสียหาย ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาทางการเงินที่จะต้องเสียค่าซ่อมแซมความเสียหายจำนวนมาก

สิ่งที่รับประกันภัย
งานก่อสร้างอาคาร,สำนักงาน,โรงแรม,โรงพยาบาล,ถนน,สะพาน,ที่อยู่อาศัย,การสร้างเขื่อน,การทำทำนบกั้นน้ำ ฯลฯ

ความคุ้มครองมาตรฐาน
A.ให้ความคุ้มครองสำหรับมูลค่างานก่อสร้าง, วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง,อุปกรณ์, เครื่องมือเครื่องจักร,และความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม อันมีสาเหตุมาจาก
- ความเสียหายขากภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ระเบิด
- ความเสียหายที่สืบเนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคนงาน, การขาดความชำนาญ, การใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
B.ให้ความคุ้มครองสำหรับความรับผิดตามกฏหมายของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก สำหรับการเสียชีวิตและบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินงานของผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างผู้เอาประกันภัย
ความคุ้มครองพิเศษที่สามารถซื้อเพิ่มได้
1. Extended Maintainance Clause
2. Cross Liability Clause
3. Debris Removal Clause
4. 20% Expending Cost Clause etc.

ภัยที่เป็นข้อยกเว้นหลัก ของประกันการก่อสร้าง
ไฟไหม้, ฟ้าผ่า, การระเบิด, โจรกรรม หรือลักทรัพย์
น้ำท่วม แผ่นดินไหว การเลื่อน เคลื่อนตัวของดิน การชนของยานพาหนะต่างๆ
การเสื่อมสภาพด้วยตัวเอง การเป็นสนิม ผุพัง กัดเชาะ
การจลาจล นัดหยุดงาน ประท้วง
การจงใจกระทำให้เกิดความเสียหาย การกระทำโดยเจตนา การประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความเสียหายที่เกิดก่อนหรือหลังกรมธรรม์มีผลคุ้มครอง
ความเสียหายที่อยู่ในระหว่างเครื่องจักรได้รับการรับประกันจากผู้ผลิต
ภัยสงคราม นิวเคลียร์ การแผ่รังสี
ให้ความคุ้มครองถึงเครื่องจักรหนักที่มูลค่าสูงที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เครน, เครื่องขุด, เจาะ, เครื่องลำเรียง, บรรจุ, เครื่องที่ใช้ในการตอก, เจาะเสาเข็ม, ฯลฯ ที่จะชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ที่มีผลจากปัจจัยภายนอก หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ที่มิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์ โดยให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อเครื่องจักรเหล่านั้นได้เคลื่อนย้าย พร้อมประกอบและติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคุ้มครองไม่ว่าจะในขณะที่ใช้งานอยู่ ในขณะพักการใช้งาน ในขณะถูกถอดชิ้นส่วน เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความสะอาด ตรวจสอบ ซ่อมแซม
การหยุดชะงักของเครื่องจักรที่มีผลจากภายใน เช่น ไฟลัดวงจร
ความเสียหายเนื่องจากผิดสัญญา
ความเสียหายต่อเนื่องทางธุรกิจ
ความเสียหายสืบเนื่องทุกชนิด เช่น ค่าปรับ, ค่าเสียเวลา ค่าสูญเสียงานสัญญา, งานล่าช้า
ความเสียหายเชิงกลหรือเชิงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง
ค่าใช้จ่ายในการทำใหม่, ซ่อมแซม, ปรับปรุงแก้ไขสำหรับวัสดุที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา
ความเสียหายจากการออกแบบผิดพลาด

ทุนประกันภัย ควรใช้ราคาทดแทนใหม่ (Replacement Value) และสามารถขยายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าแรงงานในการติดตั้งใหม่ ค่าภาษี อากร (ถ้ามี)

  • กรุงเทพประกันภัย




⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 05:36:21pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com