ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

จุดประสงค์ของการประกันภัย สำหรับเจ้าบ้าน

การประกันภัยเจ้าบ้านเป็นการ ประกันภัยที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองต่อผู้เป็นเจ้าของอาคาร ประเภทบ้านอยู่อาศัย สำนักงานในบ้าน หรือห้องชุดอยู่อาศัยในแฟลต แมนชั่น หรือคอนโดมิเนียม ให้ได้รับ ความคุ้มครองหลายอย่างไว้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากอัคคีภัย ความเสียหายจากโจรกรรมหรือการลักทรัพย์ ความเสียหายต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย ต่อทรัพย์สินในอาคาร การสูญเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว การจ่ายเงินชดเชย สำหรับการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น

    การประกันภัยประเภทนี้ ให้ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่หลากหลายแล้ว ยังสะดวกในการต่ออายุการประกันภัยด้วย เนื่องจากเป็นการผนวกเอากรมธรรม์หลายรูปแบบ ไว้ในกรมธรรม์เดียว และที่สำคัญเป็นการช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำประกันภัยหลายประเภทหลายกรมธรรม์

    กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละบริษัทอาจเลือกขายความคุ้มครองแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปความคุ้มครองจะมี 5 หมวด ดังนี้

    หมวด 1 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร
    หมวด 2 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร
    หมวด 3 : ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนที่พักอาศัยชั่วคราว และการสูญเสียค่าเช่า
    หมวด 4 : ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
    หมวด 5 : เงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
    โดยแต่ละหมวด มีความคุ้มครอง ดังนี้

    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร หรือต่อทรัพย์สินในอาคารที่เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า การระเบิด อากาศยานหรือสิ่งที่หล่นจากอากาศยาน น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ การลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไปหรือออกจากอาคาร การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายาม กระทำการดังกล่าว อาคารถูกชนโดยพาหนะทางบก ม้าหรือปศุสัตว์ ที่ไม่ได้เป็นของหรืออยู่ในความควบคุมของผู้เอาประกันภัยหรือของสมาชิกใน ครอบครัวที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ

ความคุ้มครองต่ออาคารและทรัพย์สินในอาคาร

ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่า

    กล่าวคือ ในกรณีที่อาคารที่พักอาศัยที่ทำประกันนั้นได้รับความเสียหายจากภัยดังที่ได้ กล่าวมาแล้วข้างต้น จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะต้องทำการซ่อมแซมหรือสร้างขึ้นใหม่ และในระหว่างรอการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่นั้น ผู้เอาประกันภัยก็จะต้องหาที่พักอาศัยชั่วคราว เช่น บ้านเช่า/โรงแรม/อพาร์ทเมนท์ เป็นต้น บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นค่าเช่าที่พัก อาศัยชั่วคราวดังกล่าว

  ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของอาคารและมีรายได้จากการให้เช่า อาคารนั้น เช่น เจ้าของบ้านเช่า/ เจ้าของหอพัก/เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น หากเกิดความเสียหายต่ออาคารจากภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์จนทำให้เจ้าของ อาคารต้องขาดรายได้ซึ่งเคยได้รับ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ที่ระบุในตาราง

คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ในฐานะเจ้าของอาคารที่เอาประกันภัย หรือในฐานะผู้เช่า ซึ่งพักอาศัยในอาคารที่เอาประกันภัย โดยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ความรับผิดต่อร่างกายของบุคคลภายนอก เช่น การเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความบาดเจ็บต่อร่างกาย (ตัวอย่าง เช่น บุคคลภายนอกมาบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วลื่นล้มในห้องน้ำหัวฟาดพื้น) และความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิด ขึ้นในอาคารหรือเกี่ยว กับอาคาร (ตัวอย่าง เช่น รถของบุคคลภายนอกจอดไว้ในบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วของจากที่สูงตกใส่ หลังคารถ แล้วทำให้รถได้รับความเสียหาย)

    หากผู้เอาประกันภัยประสบ อุบัติเหตุขณะที่อยู่ในอาคารที่ทำประกันภัยและเป็นเหตุให้เสียชีวิตทันที หรือได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุมาจากภัยภายใต้ความคุ้มครองต่ออาคาร และทรัพย์สินในอาคารดังได้กล่าวมาแล้วนั้น และมีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ (ตัวอย่าง เช่น อาคารที่เอาประกันภัยเกิดเพลิงไหม้แล้วผู้เอาประกันภัยถูกไฟคลอกตาย/ เกิดระเบิดในอาคารที่เอาประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บต้องรับการรักษาพยาบาล และต่อมาเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดระเบิดนั้น)    ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้

ความคุ้มครองสำหรับเงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย

ความคุ้มครองที่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้

    1. ความ เสียหายต่อกระจก หมายถึง การแตกของกระจกที่เป็นเสมือนผนังอาคารและกระจกประตูหน้าต่างที่เอาประกันภัย ไว้ โดยบริษัทจะชดใช้โดยเลือกกระจกอื่นมาทดแทนหรือซ่อมแซมกระจกแตกไป และ

    2. ความคุ้มครองเงินชดเชยการเสียชีวิตของคู่สมรสและสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย หากผู้ เอาประกันภัยต้องการได้รับเงินชดเชย กรณีคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัยตามที่ระบุชื่อไว้ ได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุมาจากภัยที่ระบุภายใต้ความคุ้มครองต่ออาคารและ ทรัพย์สินในอาคาร และทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทก็จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

    การเรียกร้องค่าสินไหมทด แทน เมื่อเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขใน กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติดังนี้    หลักเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยใช้ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในแต่ละหมวดความคุ้มครอง มีดังต่อไปนี้

        1. แจ้งเป็นหนังสือให้บริษัททราบโดยพลัน
        2. กรณีโจรกรรม หรือพยายามกระทำการดังกล่าว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที
        3. การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ข้อ ตกลงคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งและส่งมอบหลักฐานตามที่บริษัทร้องขอ พร้อมทั้งรายละเอียดของทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหายภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย
        4. การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ข้อ ตกลงคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหมายศาล หมายเรียกใด ๆ หรือกระบวนการทางกฎหมายอื่น ๆ ให้แก่บริษัท และต้องให้ข้อมูลและความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่บริษัท
        5. ผู้เอาประกันภัยต้องไม่ตกลงหรือยอมรับ หรือประนีประนอม หรือปฏิเสธการเรียกร้องใด ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากบริษัทเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซ่อม แซมทรัพย์สินที่เสียหาย เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายต้องรับผิด หรือบริษัทไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาอัน สมควร

หลักเกณฑ์ที่บริษัทใช้ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

    หมวด 1 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร
    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความสูญเสียหรือเสียหายต่ออาคารตามความเสียหายที่แท้จริง โดยชดใช้เป็น เงินสด หรือทำการซ่อมแซม หรือ ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม แต่ทั้งนี้ จะไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    หมวด 2 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร
    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคารที่เอาประกันภัย ตามจำนวนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินในขณะเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ วามสูญเสียหรือเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    หมวด 3 ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่า
    สำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว ตามจำนวนเงินค่าเช่าที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    สำหรับการสูญเสียค่าเช่า บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าเช่าที่ผู้เอาประกันภัยเคยได้รับจาก การให้เช่าอาคารที่เอาประกันภัยนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    หมวด 4 ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
    การเสียชีวิต จะชดใช้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
    การบาดเจ็บ จะชดใช้เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง รวมทั้งค่าชดเชยตามสมควร แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    สำหรับความรับผิดต่อ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินขณะที่เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

    หมวด 5 เงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
    หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภาย ใต้เงื่อนไขความคุ้มครองในหมวดนี้ ดังได้กล่าวมาแล้ว บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    ในการประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ในกรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

        1. กรณี ที่อาคารถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่มีผู้อยู่อาศัยเกิน 15 วันติดต่อกัน แล้วเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคารและทรัพย์สินในอาคารที่ทำประกัน ภัยนั้น
        2. กรณี ที่มีการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกนอกอาคารเป็นการชั่วคราว เพื่อขายหรือนำออกแสดงนิทรรศการและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนั้น ในขณะที่อยู่นอกอาคารที่เอาประกันภัย
        3. กรณี เป็นความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินบางประเภท เช่น เงินสด เพชร พลอย โฉนดพันธบัตร ตั๋วเงิน ต้นฉบับเอกสาร เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในข้อยกเว้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์
        4. กรณี ที่เป็นความบาดเจ็บทางร่างกายของสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลที่อยู่ประจำในบ้านของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัย
        5. กรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นของ หรืออยู่ในความควบคุมดูแลของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย
        6. ความ บาดเจ็บทางร่างกาย หรือเสียชีวิตและความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดขึ้นจากอาชีพ หรือธุรกิจของผู้เอาประกันภัย หรือจากการใช้ลิฟท์ บันไดเลื่อน หรือยานพาหนะใด ๆ

ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจทำประกันภัยเจ้าบ้าน

    ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจการประกันภัยเจ้าบ้าน มีดังนี้

        1. ต้องสำรวจดูถึงสภาพความเสี่ยงภัยและความ ต้องการความคุ้มครองของเจ้าของอาคารที่อยู่อาศัยว่า ความจำเป็นต้องทำประกันภัยหลายอย่างในขณะเดียวกันหรือไม่ เช่น ต้องการความคุ้มครองจากอัคคีภัย จากโจรกรรม ทรัพย์สิน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และการสูญเสียค่าเช่า เป็นต้น ถ้าหากผู้เอาประกันภัยได้ทำการประกันภัยแต่ละแบบ หรือมีกรมธรรม์ประกันภัยหลายฉบับอยู่แล้ว การทำประกันภัยเจ้าบ้านฉบับเดียวโดยได้รับความคุ้มครองทั้งหมดจะเกิดความ สะดวกและประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้มากกว่า
        2. ผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารซึ่งมีรายได้หลัก จากการให้เช่าอาคาร เช่น เจ้าของห้องชุดให้เช่า เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เจ้าของหอพัก เป็นต้น จะได้ประโยชน์ เพราะโดยปกติมักจะมีการประกันอัคคีภัย การประกันภัยการสูญเสียค่าเช่าอยู่แล้ว และขอแนะนำให้ซื้อการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพิ่มเติม ดังนั้น การซื้อการประกันภัยสำหรับเจ้าของบ้านกรมธรรม์เดียวจะให้ความคุ้มครองครอบ คลุมถึงความคุ้มครองทุกส่วนที่ต้องการ
        3. ชาวต่างชาติที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทย มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องการประกันภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความรับผิดต่อบุคคลภายนอก นอกจากนี้ยังมีความต้องการความคุ้มครองถึงทรัพย์สินของคนใช้หรือผู้ติดตาม ด้วย ซึ่งกรมธรรม์สำหรับเจ้าบ้านบางแบบอาจจะมีการขยายความคุ้มครองถึงเสื้อผ้า และทรัพย์สินส่วนตัวของคนใช้หรือผู้ติดตามของผู้เอาประกันภัยและที่อยู่ใน บ้านของผู้เอาประกันภัย
        4. สำหรับบ้านอยู่อาศัยโดยทั่วไปจะมีความจำ เป็นหรือไม่นั้น ควรพิจารณาถึงภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์ว่า มีความจำเป็นหรือมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายมากน้อยขนาดไหน เพราะการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าของบ้านจะต้องซื้อภัยทั้งหมดซึ่ง อาจจะทำให้ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยแพงกว่าการเลือกซื้อ กรมธรรม์เฉพาะแบบที่ต้องการ

    ผู้เช่า ซึ่งเป็นผู้เช่าบ้าน ผู้เช่าคอนโดมิเนียม/ห้องชุด ผู้เช่าอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น สามารถทำประกันภัย สำหรับเจ้าบ้านได้แต่จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะส่วนของความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนและความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น สำหรับตัวอาคารนั้น ผู้เช่าไม่สามารถนำไปทำประกันภัยได้ เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์หรือส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว


ID=879,MSG=989


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 02:59:37pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com