Micro insurance คืออะไร

Micro insurance คืออะไร

Micro insurance คืออะไร

Micro insurance
ตอนที่ 1: คำจำกัดความ และความแตกต่าง ระหว่าง Micro insurance และประกันภัยแบบดั้งเดิม

คำจำกัดความของ Micro insurance

คนที่มีรายได้น้อยเป็นผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยจะเป็นกลุ่มแรกที่โดนผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน การถูกเลิกจ้าง หรือการถูกลดเงินเดือน เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พร้อมกันนั้น คนกลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงสูงต่อภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การสูญเสียทรัพย์สินจากการโจรกรรมหรือไฟไหม้ ผลิตผลทางการเกษตรเสียหาย และภัยธรรมชาติ
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องพักอาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี หรือต้องทำงานนอกระบบทั้งภาคเกษตรและมิใช่ภาคเกษตร ซึ่งคนเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการป้องกันความเสี่ยงที่ดีทั้งจากภาครัฐ เช่น ระบบสาธารณสุข และระบบประกันสังคม และจากภาคเอกชนเช่น การประกันภัย สาเหตุเนื่องมาจากการที่คนเหล่านี้ขาดเอกสารหรือหลักฐานที่จะสามารถเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือขาดเอกสารหรือหลักฐานที่จะใช้ทำประกันภัย พร้อมทั้งยังขาดความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือถูกบริษัทประกันภัยปฏิเสธในการรับทำประกัน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อความเสียหายเกิดขึ้น คนกลุ่มนี้จึงไม่สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวได้ดีเท่าที่ควรนัก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่คนกลุ่มนี้มีตั้งแต่ การนำเงินที่ออมไว้มาใช้จ่าย การกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบ การให้ลูกออกจากโรงเรียน ไปจนถึงการขายทรัพย์สินที่ตนมีอยู่Micro insurance จึงถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่คนเหล่านี้จะสามารถนำมาใช้บริหารความเสี่ยงของตนเองได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา จากที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า Micro insurance ก็คือการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยนั่นเอง ซึ่งคำนิยามนี้เป็นคำนิยามในระดับสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ผลิตภัณฑ์ของ Micro insurance
เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่คนที่มีรายได้น้อยคำนึงถึงมากที่สุด โดยการรวบรวมข้อมูลของMonique Cohen and Jennefer Sabstad (2006) เห็นได้ว่า แต่ละประเทศที่ถูกรวบรวมข้อมูลนั้นให้ลำดับความสำคัญของความเสี่ยงแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงที่ได้รับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การตาย โดยเฉพาะของผู้ที่หารายได้เลี้ยงครอบครัว ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ ทรัพย์สินเสียหาย และภัยธรรมชาติ ยังเป็นสิ่งที่คนที่มีรายได้น้อยมีความกังวล
เช่นกัน ดังตารางที่ 1 ดังนั้นผลิตภัณฑ์ของ Micro insurance ที่มีการดำเนินการอยู่ในหลายๆ ประเทศจึงมีอย่างหลากหลาย โดยมีตั้งแต่การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ การประกันอุบัติเหตุ การประกันทรัพย์สินการประกันภัยธรรมชาติ และการประกันพืชผล เฉกเช่นเดียวกับการประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) ที่มีการซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน

ตารางที่ 1: ความเสี่ยงที่คนรายได้น้อยให้ความสำคัญของต่างประเทศ
ประเทศ / ความเสี่ยง
อูกันดา • เจ็บป่วย, ตาย, ทุพลภาพ, ทรัพย์สินเสียหาย และไม่มีเงินชำระหนี้
มาลาวี • ตาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก HIV/AIDS), ขาดอาหาร, เจ็บป่วย และขาดโอกาสทางการศึกษา
ฟิลิปปินส์ • ตาย, สูงอายุ และเจ็บป่วย
เวียดนาม • เจ็บป่วย, ภัยธรรมชาติ, อุบัติเหตุ และความเสียหายที่เกิดกับปศุสัตว์
อินโดนีเซีย • เจ็บป่วย, การขาดโอกาสทางการศึกษาของเด็ก และผลผลิตตกต่ำ
สปป. ลาว • เจ็บป่วย, โรคระบาดในปศุสัตว์ และตาย
จอร์เจีย • เจ็บป่วย, ความเสียหายทางธุรกิจ, ขโมย, การตายของสมาชิกในครอบครัว และการขาดรายได้หลังเกษียณอายุ
ยูเครน • เจ็บป่วย, ทุพลภาพ และขโมย
โบลิเวีย • เจ็บป่วย, ตาย และความเสียหายของทรัพย์สินรวมถึงผลิตผลทางการเกษตร
ที่มา: Protecting the poor: A Micro insurance compendium, International Labour Office (ILO), 2006

ถึงแม้ว่า Micro insurance นั้นจะเป็นประกันภัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
Micro insurance จะเป็นการสงเคราะห์ให้แก่คนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากการขยาย Micro insurance ไปสู่ผู้ที่มีรายได้น้อยนั้น หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดรายได้และกำไรแก่บริษัทประกันภัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เพราะ Micro insurance เป็นการดำเนินการกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา
ดังนั้น Micro insurance จึงถือเป็นโอกาสของบริษัทประกันภัยในการขยายตลาดในการทำธุรกิจให้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งผลของการขยายตลาดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งต่อบริษัทประกันภัยเอง รวมทั้งในระดับประเทศ กล่าวคือ เมื่อประเทศมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น รัฐบาลจะสามารถนำงบประมาณที่ใช้ในการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ไปพัฒนาส่วนต่างๆ ของประเทศได้จากที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า Micro insurance คือ ประกันภัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย ดังนั้นMicro insurance จึงมิได้วัดจากขนาดขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดให้มีประกันภัย/แบกรับความเสี่ยง โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Micro insurance มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ อาทิ การรวมกลุ่มกันภายในชุมชน (Community-based schemes) กลุ่มสหกรณ์ Micro Finance Institute(MFI) ไปจนถึงการให้บริการของบริษัทประกันภัยข้ามชาติเช่น Allianz และ AIG เป็นต้น
ขนาดของความเสี่ยงของผู้ทำประกันภัยว่า ความเสี่ยงนั้นเป็นความเสี่ยงที่มีขนาดเล็ก โดยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อคนกลุ่มนี้ มีตั้งแต่ การเจ็บป่วย การเสียทรัพย์สิน ไปจนถึงการเสียชีวิตและเมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการดำเนินการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Micro insurance โดยศึกษาจากประสบการณ์ของต่างประเทศ เห็นได้ว่า การดำเนินการนั้นมีหลากหลายรูปแบบดังนี้ความร่วมมือระหว่างบริษัทประกันภัยและสหกรณ์ หรือ MFI โดยบริษัทประกันภัยเป็นผู้ออกผลิตภัณฑ์ และให้สหกรณ์ หรือ MFI เป็นตัวแทนในการกระจาย/ขายประกันภัยบริษัทประกันภัยที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการคนที่มีรายได้น้อยโดยเฉพาะผู้ให้บริการทางการแพทย์เป็นผู้ขายประกันสุขภาพการรวมกลุ่มของชุมชนรัฐบาลให้การสนับสนุนหรืออุดหนุนMFI จัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน และให้ผู้ใช้บริการซื้อประกันภัยเมื่อพิจารณาจากที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า Micro insurance ไม่ใช่สิ่งใหม่ของการประกันภัย โดยวัตถุประสงค์ของ Micro insurance นั้นเหมือนกันกับประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) กล่าวคือ ทั้ง Micro insurance และประกันภัยแบบดั้งเดิมเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้แก่ผู้ทำประกันภัยนั่นเอง Micro insurance จึงเป็นเพียงการย้อนกลับไปสู่พื้นฐานเริ่มแรกของการประกันภัย
แบบดั้งเดิม (Back to Basics) ซึ่งในอดีตช่วงต้นทศวรรษที่ 19 ที่ประกันภัยแบบดั้งเดิมเริ่มเป็นที่แพร่หลายกลุ่มคนที่ต้องการบริหารความเสี่ยงก็คือกลุ่มที่ไม่สามารถที่จะแบกรับความเสี่ยงเองได้หรือก็คือ คนที่มีรายได้น้อยในสมัยนั้นนั่นเอง จึงต้องจัดหาประกันภัยไว้เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Micro insurance และประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance)

ในทางปฏิบัติ Micro insurance ยังต้องดำเนินการเช่นเดียวกับการประกันภัยแบบดั้งเดิม เช่น การตั้งราคา การเอาประกันภัยต่อ และการจัดการสินไหมทดแทน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของ Lloyd’sได้แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดในการดำเนินการของ Micro insurance นั้นมีความแตกต่างกับประกันภัยดั้งเดิม

ตารางที่ 2: ความแตกต่างระหว่างประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) กับMicro insurance


ลูกค้า
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• อาศัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ
• รู้จักและมีเข้าใจเกี่ยวกับประกันภัยพอสมควร

Micro insurance
• อาศัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูง
• ไม่ค่อยรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยมากนัก

ช่องทางการขาย
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• ผ่านตัวกลางที่ได้รับอนุญาตหรือบริษัทประกันภัยโดยตรง

Micro insurance
• ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมหรือเป็นทางการมากนัก

กรมธรรม์
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• รายละเอียดกรมธรรม์มีความซับซ้อน
• มีข้อยกเว้นจำนวนมาก

Micro insurance
• ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
• มีข้อยกเว้นบ้าง
• ประกันภัยกลุ่ม

การคำนวณเบี้ยประกันภัย
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• มีข้อมูลสถิติพอสมควร
• ราคาขึ้นอยู่กับความเสียงของแต่ละบุคคล

Micro insurance
• ขาดข้อมูลสถิติ
• ราคากลุ่ม
• อัตราส่วนเบี้ยประกันภัยต่อความคุ้มครองส่วนใหญ่จะสูงกว่า
• อ่อนไหวต่อราคาอย่างมาก


การเก็บเบี้ยประกันภัย
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• รายเดือนถึงรายปี
• ส่วนใหญ่แจ้งผ่านจดหมาย

Micro insurance
• บ่อยครั้งและไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับกระแสรายได้ของลูกค้า
• มักเชื่อมโยงกับธุรกรรมอื่นๆ เช่น การจ่ายเงินงวดเงินกู้

การควบคุมความเสี่ยงทางด้านประกันภัย
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• การเข้าถึงประกันภัยมีข้อจำกัด
• ต้องการเอกสารที่สามารถตรวจสอบได้
• มีการกลั่นกรองก่อนทำประกันภัยเช่นการตรวจสอบทางการแพทย์

Micro insurance
• การเข้าถึงประกันภัยผ่อนคลายมากกว่า
• ต้องมีระบบการควบคุมความเสี่ยงที่ดี(เพื่อลดต้นทุน)
• ความเสี่ยงทางด้านการประกันภัยจะควบคุมจากทางด้านของเบี้ยประกันภัยมากกว่าการกีดกันไม่ให้เข้าถึงการได้มาซึ่งประกันภัย
• เกี่ยวข้องกับการบริการอื่นๆ เช่น สินเชื่อเป็นต้น

การจัดการสินไหมทดแทน
ประกันภัยแบบดั้งเดิม
• มีหลายขั้นตอนและซับซ้อน
• ต้องการเอกสารจำนวนมาก

Micro insurance
• ขั้นตอนน้อย ง่าย และรวดเร็ว
• ต้องมีระบบการควบคุมการทุจริตที่ดี
ที่มา: Insurance in Developing Countries: Exploring Opportunities in Micro insurance, Lloyd’s, 2009

เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่าง Micro insurance กับประกันภัยแบบดั้งเดิม เห็นได้ว่า การทำMicro insurance นั้นมิใช่เพียงแค่ย่อขนาดของประกันภัยแบบดั้งเดิมให้เล็กลงเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ Micro insurance คือ ผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีความแตกต่างกับกลุ่มลูกค้าของการประกันภัยแบบดั้งเดิม ทั้งทางด้านลักษณะทางกายภาพเช่น การพักอาศัย การศึกษา และการเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเป็นต้น และลักษณะทางเศรษฐกิจเช่น รายได้ รายจ่าย และเงินออม เป็นต้น การทำ Micro insurance โดยลดทุนประกันลง ลดความคุ้มครองลง และเก็บเบี้ยประกันถูกลง จึงไม่ใช่วิธีดำเนินการที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จเท่าที่ควร หากโครงสร้างของการจัดการทางด้านต่างๆ เช่น ช่องทางการกระจายประกันภัย หรือการจัดการสินไหมทดแทนยังคงเหมือนกับประกันภัยแบบดั้งเดิมดังนั้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำ Micro insurance จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด (Mind-set)โดยจะต้องศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม ความต้องการ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันภัยและความสามารถทางด้านการเงินของคนที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เข้าใจและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการและความสามารถที่จะจ่ายของคนกลุ่มนี้ รวมทั้งต้องง่ายต่อความเข้าใจของผู้ซื้อ และง่ายต่อการปฏิบัติของบริษัทประกันภัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนั้นจะต้องมีการส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้เข้าใจถึงประโยชน์ในการทำประกัน เนื่องจากประกันภัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับสินค้าหรือบริการทั่วไป หากยังไม่เกิดความเสียหายขึ้น และสุดท้ายต้องนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินการทั้งทางด้านของการพิจารณารับประกันภัย ช่องทางในการขายประกันภัยและการจัดการสินไหมทดแทนด้วยเพื่อให้ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในบทความนี้ได้กล่าวถึงคำจำกัดความ ผลิตภัณฑ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความแตกต่างของMicro insurance กับประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) ในภาพกว้างไปแล้ว สำหรับตอนต่อไปจะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ของ Micro insurance ที่มีการพัฒนาและได้รับความสนใจในต่างประเทศหนังสืออ้างอิง
1. Churchill, C. (2006), Protecting the poor: A Micro insurance compendium (ed. Craig Churchill), pp. 12-22.
Germany.
2. Cohen, M. and Sebstad, J. (2006), Protecting the poor: A Micro insurance compendium (ed. Craig Churchill),
pp. 25-44. Germany.
3. Lloyd’s (2009), Insurance in Developing Countries: Exploring Opportunities in Micro insurance, London.


ID=729,MSG=821


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 07:24:30am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com