Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

สำนักวิจัยและสถิติ บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ หรือไทยรี จัดทำบท ความเรื่อง ไมโครอินชัวรันส์ (Microin surance) โดยในตอนแรกนี้ ได้กล่าวถึงคำจำกัดความ และความแตกต่างระหว่าง ไมโครอินชัวรันส์ และประกันภัยแบบดั้ง เดิม โดยระบุว่า Microinsurance ก็คือการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งตามนิยาม หมายถึง คนที่มีความอ่อนไหว ต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยจะเป็นกลุ่มแรกที่โดนผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน การถูกเลิกจ้างหรือการถูกลดเงินเดือน เมื่อเกิดภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำและคนกลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงสูงต่อภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น การเจ็บป่วยอุบัติเหตุ การสูญเสียทรัพย์สินจากการโจรกรรมหรือไฟไหม้ ผลิตผลทางการเกษตรเสียหาย และภัยธรรมชาติ

เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องพักอาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี หรือต้องทำงานนอกระบบ ทั้งภาคเกษตรและมิใช่ภาคเกษตร ซึ่งคนเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการป้องกันความเสี่ยงที่ดีทั้งจากภาค รัฐ เช่น ระบบสาธารณสุข และระบบประกันสังคม และจากภาคเอกชน เช่น การประกันภัย สาเหตุเนื่องมาจากการที่คนเหล่านี้ขาดเอกสาร หรือหลักฐานที่จะสามารถเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือขาดเอกสารหรือ หลักฐานที่จะใช้ทำประกันภัย พร้อมทั้งยัง ขาดความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน ภัยหรือถูกบริษัทประกันภัยปฏิเสธในการรับทำประกัน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อความเสีย หายเกิดขึ้น คนกลุ่มนี้จึงไม่สามารถบริหาร จัดการความเสี่ยงดังกล่าวได้ดีเท่าที่ควรนัก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่คนกลุ่มนี้ มีตั้งแต่ การนำเงินที่ออมไว้มาใช้จ่าย การกู้ยืมเงิน ทั้งในและนอกระบบ การให้ลูกออกจากโรงเรียนไปจนถึงการขายทรัพย์สินที่ตนมีอยู่

ดังนั้น Microinsurance จึงเสมือนเป็นหนึ่งในเครื่องมือของผู้มีรายได้น้อยจะสามารถนำมาใช้บริหาร ความเสี่ยงของตนเองได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา

ส่วนผลิตภัณฑ์ Microinsurance นั้น ต้องมุ่งตอบสนองความเสี่ยงที่คนกลุ่มนี้คำนึงถึงมากที่สุด ซึ่งแม้ว่าการให้ลำดับความสำคัญกับความเสี่ยงในแต่ละประเทศ แตกต่างกัน แต่การเจ็บป่วยของสมาชิกใน ครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงที่ได้รับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การตาย โดยเฉพาะของผู้ที่หารายได้เลี้ยงครอบครัว ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ ทรัพย์ สินเสียหาย และภัยธรรมชาติ ยังเป็นสิ่งที่คนที่มีรายได้น้อยมีความกังวลเช่นกัน

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ของ Microinsurance ในหลายประเทศจึงมีอย่างหลาก หลาย ตั้งแต่การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ การประกันอุบัติเหตุ การประกันทรัพย์สินการประกันภัยธรรมชาติ และการประกันพืชผล เหมือนกับการประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) ที่มีการซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี แม้ว่า Microinsurance นั้นจะเป็นประกันภัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการสงเคราะห์ให้แก่คนที่มีรายได้น้อย เพราะหากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม จะก่อ ให้เกิดรายได้และกำไร แก่บริษัทประกันภัย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เนื่องจาก Microinsurance เป็นการดำเนินการกับประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสของบริษัทประกันภัยในการขยายตลาดในการทำธุรกิจให้ ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งผลของการขยายตลาดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งต่อบริษัทประกันภัยเอง รวมทั้งในระดับประเทศ เพราะเมื่อประเทศมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น รัฐบาลจะสามารถนำงบประมาณที่ใช้ในการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ไปพัฒนาส่วนต่างๆ ของประเทศได้

ด้วยเหตุนี้ Microinsurance จึงไม่ได้วัดจาก ขนาดขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดให้มีประกันภัย หรือแบกรับความ เสี่ยง เพราะองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Microinsurance มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ อาทิ การรวมกลุ่มกันภาย ในชุมชน (Community-based schemes) กลุ่มสหกรณ์ Micro Finance Institute (MFI) ไปจนถึงการให้บริการของบริษัทประกันภัยข้ามชาติเช่น Allianz และ AIG เป็นต้น หรือไม่อาจวัดจาก ขนาดของความ เสี่ยงของผู้ทำประกันภัย เพราะความเสี่ยง ของคนกลุ่มนี้มีตั้งแต่ การเจ็บป่วย การเสียทรัพย์สิน ไปจนถึงการเสียชีวิต

ทั้งนี้ จากการศึกษาจากประสบการณ์ ของต่างประเทศ พบว่าการดำเนินการ Microinsurance นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ 1.ความร่วมมือระหว่างบริษัทประกัน ภัยและสหกรณ์ หรือ MFI โดยบริษัทประกันภัยเป็นผู้ออกผลิตภัณฑ์ และให้สหกรณ์ หรือ MFI เป็นตัวแทนในการกระจาย/ขายประกันภัย 2.บริษัทประกันภัยที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการคนที่มีรายได้น้อยโดย เฉพาะ 3.ผู้ให้บริการทางการแพทย์เป็นผู้ขายประกันสุขภาพ 4.การรวมกลุ่มของชุมชน 5.รัฐบาลให้การสนับสนุนหรืออุดหนุน และ6.MFI จัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน และให้ผู้ใช้บริการซื้อประกันภัย

ดังนั้นจะเห็นว่า Microinsurance ไม่ใช่สิ่งใหม่ของการประกันภัย โดยวัตถุประสงค์ของ Microinsurance นั้นเหมือนกันกับประกันภัยแบบดั้งเดิม (Traditional Insurance) กล่าวคือ ต่างก็เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้แก่ผู้ทำประกันภัยนั่นเอง โดยที่ Microin surance เป็นการย้อนกลับไปสู่พื้นฐานเริ่มแรกของการประกันภัยแบบดั้งเดิม (Back to Basics) เพราะในทางปฏิบัติ Microinsurance ยังต้องดำเนินการเช่นเดียวกับการประกันภัยแบบดั้งเดิม เช่น การตั้งราคา การเอาประกันภัยต่อ และการจัดการสินไหมทดแทน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของ Lloyd’s ชี้ให้เห็นว่ารายละเอียดในการดำเนินการของ Microinsurance นั้นมีความแตกต่างกับประกันภัยดั้งเดิม โดยการ ทำ Microinsurance นั้นมิใช่เพียงแค่ย่อขนาดของประกันภัยแบบดั้งเดิมให้เล็กลงเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ Microinsurance คือ ผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งมี ความแตกต่างกับกลุ่มลูกค้าของการประกัน ภัยแบบดั้งเดิม ทั้งทางด้านลักษณะทางกาย ภาพเช่น การพักอาศัย การศึกษา และการ เข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย เป็นต้น และลักษณะทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ รายจ่าย และเงินออม การทำ Microinsurance โดย ลดทุนประกันลงลดความคุ้มครองลง และเก็บเบี้ยประกันถูกลง จึงไม่ใช่วิธีดำเนินการที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จเท่าที่ควร หากโครงสร้างของการจัดการทางด้านต่างๆ เช่น ช่องทางการกระจายประกัน ภัย หรือการจัดการสินไหมทดแทนยังคงเหมือนกับประกันภัยแบบดั้งเดิม

ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำ Microinsurance จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด (Mindset) โดยจะต้องศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรมความต้องการ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันภัย และความสามารถทางด้านการเงินของคนที่มีรายได้น้อย เพื่อ ให้เข้าใจและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ตรงตามความต้องการและความสามารถ ที่จะจ่ายของคนกลุ่มนี้ รวมทั้งต้องง่ายต่อ ความเข้าใจของผู้ซื้อและง่ายต่อการปฏิบัติ ของบริษัทประกันภัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนั้นจะต้องมีการส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้เข้าใจถึงประโยชน์ในการทำ ประกัน เนื่องจากประกันภัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับสินค้าหรือ บริการทั่วไป หากยังไม่เกิดความเสียหายขึ้น และสุดท้ายต้องนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินการ ทั้งทางด้านของการพิจารณารับประกันภัย ช่องทางในการ ขายประกันภัยและการจัดการสินไหมทดแทนด้วย เพื่อให้ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
 
ที่มา : สยามธุรกิจ


ID=727,MSG=818
Re: Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

Re: Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

Micro-insurance

ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพทางชีวิตความเป็น อยู่รวมทั้งสถานภาพทางการเงินเมื่อต้องประสบอุบัติเหตุหรือ ความเสี่ยงภัย เช่น ไฟไหม้ จนเป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สินหรือชีวิตสมาชิกใน ครอบครัว แต่การที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้ที่มีความเสี่ยงภัยจะอาศัยกลไกใน การโอนความเสี่ยงภัยของตนเองและครอบครัวไปให้ผู้รับโอนความเสี่ยงภัยหรือ บริษัทประกันภัยมักจะประสบความยุ่งยากสับสนพอสมควร โดยเฉพาะประชาชนที่ไม่สามารถอ่านเขียนจะมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอในการตี ความเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรวมถึงแบกรับอัตราค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับ ความคุ้มครองภัยที่ตนเองมีความเสี่ยง

การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เสนอ ให้สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิตคิดรูปแบบของการประกันภัยสำหรับ ประชาชนที่มีรายได้น้อยกลุ่มรากหญ้าหรือที่เรียกว่า Micro-insurance ซึ่งคอลัมน์นี้ก็ได้เคยเขียนถึงเมื่อปี 2550 เพราะถือว่าเป็นนโยบายช่วย เหลือสังคมผู้มีรายได้น้อยให้สามารถมีหลักประกันในความเสี่ยงภัยของชีวิตและ ทรัพย์สินโดยอาศัยกลไกของธุรกิจประกันภัยมารับโอนความเสี่ยงภัยของผู้มีราย ได้น้อยซึ่งรูปแบบของการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในหลายประเทศที่มี ผู้ยากจนหรือมีรายได้น้อยจำนวนมาก เช่น ประเทศอินเดียที่ได้มีการพัฒนาระบบการประกันภัยให้สามารถช่วยเหลือผู้ยากจน หรือมีรายได้น้อยมากกว่า 30 ล้านคนที่ได้มีการเอาประกันภัยในรูปแบบต่างๆ มากกว่า 130 ประเภทของกรมธรรม์ประกันภัย

การที่ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในประเทศไทยจะสามารถพัฒนารูปแบบ ของการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยจะมีหลักเกณฑ์เพียงค่า เบี้ยประกันภัยถูกเพียงอย่างเดียวคงจะไม่สามารถทำให้การประกันภัยสำหรับราก หญ้ามีความยั่งยืนและอาจจะล้มเหลวเหมือนเช่นการประกันภัยเอื้อ อาทรในอดีต ดังนั้น การกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองหรือรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละประเภทจะ ต้องคำนึงถึงเรื่องของพื้นฐานการศึกษาของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะประเด็นที่ เกี่ยวพันที่จะไม่ขัดกับหลักกฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการประกันภัย เช่น หลักการส่วนได้เสีย หรือหลักการเปิดเผย ข้อความจริงที่เป็นสาระสำคัญ หลักการเฉลี่ยความเสียหาย และที่สำคัญคือการไม่ซ้ำซ้อนกับความคุ้มครองที่ประชาชนได้รับผ่านระบบ สวัสดิการของรัฐ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค หรือการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ประสบภัยจากรถ หรือการประกันสังคม เป็นต้น

นอกจากนี้ รูปแบบของภาษาที่ใช้ในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรากหญ้าจะต้องเข้าใจได้ง่าย แต่ในเวลาเดียวกันก็คงจะต้องรัดกุมเหมาะสมกับหลักการพิจารณารับประกันภัย มีต้นทุนในการพิจารณารับประกันภัยและสิ่งสำคัญ คือต้นทุนในการให้บริการขั้นพื้นฐานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีขั้นตอน ในการจ่ายเงินชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมโดยไม่ชักช้าเนื่องจาก ผู้เอาประกันภัยโดยรวมจะเป็นผู้มีรายได้น้อยจึงจำเป็นจะต้องได้รับการชดเชย อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ให้บริการรับประกันภัยหรือบริษัทรับประกันภัยจะต้องลดขั้นตอนในการ เรียกร้องค่าชดเชยและลดขั้นตอนในการพิจารณาจ่ายชดเชย ค่า สินไหมทดแทนเช่นกัน

ในเวลาเดียวกันจะต้องมีการสนับสนุนของภาครัฐใน การ รณรงค์เพื่อให้มีจำนวนของผู้เอาประกันภัยที่มีมากเพียงพอคุ้มกับต้นทุนของ การดำเนินการเพราะบริษัทรับประกันภัยเองจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบอื่น นอกจากต้นทุน เช่น สัญญาการประกันภัยต่อ (Reinsurance Treaty) โดยเฉพาะกรณีเกิดมหันตภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายจำนวนมากเช่น กรณี สึนามิหรือการเกิดแผ่นดินไหว พายุ รวมถึงการร่วมมือพัฒนาศูนย์กลางระบบ ข้อมูลกลางของผู้เอาประกันภัยรากหญ้ากับหน่วยงานของรัฐเพื่อที่บริษัทประกัน ภัยในประเทศที่ให้บริการการประกันภัยแบบรากหญ้าสามารถ ลดต้นทุน การขยายตลาดสำหรับการประกันภัยแบบรากหญ้านี้จะต้องหลีกเลี่ยงช่องทางการ จำหน่ายแบบบังคับผ่านระบบอิทธิพลท้องถิ่น ระบบการเมือง

มิฉะนั้นอาจจะนำไปสู่ปัญหาของการทุจริตหรือความเสี่ยงของภัยทางจิตใจ (Moral Hazards) นอกจากนี้ช่องทางการพัฒนาควรจะเปิดโอกาสให้บรรดาองค์กรการกุศลหรือองค์กร เอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีการ ประกันภัยโดยองค์กรการกุศลเหล่านี้เป็นผู้ที่ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแต่มิใช่ ผู้มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันภัยและสิ่งสำคัญต้องไม่เป็น ช่องทางในการหาเสียงของนักการเมืองที่อาศัยช่องทางจากการประกันภัยรากหญ้า
 
ที่มา : สยามธุรกิจ


ID=727,MSG=819


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 03:22:03am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com