ประกันถึงยุคลำบากทำธุรกิจยาก

ประกันถึงยุคลำบากทำธุรกิจยาก

ประกันถึงยุคลำบากทำธุรกิจยาก

ปี 53 ประกันภัยถึงทางแยก เริ่มทำธุรกิจยากเพราะต้องเดินตามกฎสากล IAIS ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่เพื่อยกระดับธุรกิจมีมาตรฐาน เพิ่มความน่าเชื่อถือ ชี้กฎหมายใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแก้ไขหลายข้อเพื่อรองรับ IAIS เช่นเดียวกับกฎใหม่ๆ ที่คปภ.ทยอยใช้บังคับ ย้ำประกันไม่ทำไม่ได้เพราะ มีแค่ 2 ทางเลือกปิดกิจการหรือบีบให้ควบรวมกับบริษัท อื่นที่ได้มาตรฐาน เผยกฎหมายใหม่ให้อำนาจ คปภ. เต็มที่ คุมทั้งบริษัทประกันยันบริษัทลูก

นายอรัญ ศรีว่องไทย รองประธานคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจประกันและประชาสัมพันธ์ สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ ็เจาะลึกธุรกิจประกันภัยในอนาคติ ที่สมาคมประกันวินาศภัยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ปี 2553 เป็นปีที่ ธุรกิจประกันภัยเดินมาถึงทางแยกคือต้องปฏิบัติตามกติกาสากลเพื่อให้ธุรกิจมี มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นทำให้การดำเนินธุรกิจประกันภัยในอนาคตทำ งานยากขึ้นเพราะหากไม่เดินตามมาตรฐานที่ว่าจะมี 2 ทางเลือกคือ 1.ถูกบังคับไม่ให้ประกอบธุรกิจประกันภัยต่อไปอีก และ 2.ให้ไปรวมกิจการกับบริษัทประกันภัยอื่น

สำหรับมาตรฐานสากลที่ว่าถูกกำหนดโดยสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association Insurance Supervisors : IAIS) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกัน ภัย (Insurance Core Principles : ICP) ซึ่งสมาชิก 190 แห่งใน 140 ประเทศต้องปฏิบัติตามมีทั้งหมด 7 หมวด 28 มาตรฐาน ซึ่งในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีกฎหมาย หลายข้อที่แก้ไขจากของเดิมเพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานนี้ ขณะที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เอง ได้กำหนด กฎ กติกาต่างๆ ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามมาตรฐาน IAIS เช่นกัน

ภายใต้มาตรฐาน IAIS หมวด 1 ว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขสำหรับความมีประสิทธิภาพของการกำกับและดูแลธุรกิจ หมวด 2 ระบบการกำกับดูแล โดยหน่วย งานที่กำกับดูแลคือ คปภ. ต้องมีอำนาจตามกฎหมายและมีความเป็นอิสระ มีความโปร่งใสและชัดเจนในการกำกับดูแล เช่น เปิดเผยข้อมูล หมวด 3 เป็นเรื่องขององค์กรภายใต้การกำกับดูแลซึ่งนอก จากบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยแล้วยังให้อำนาจ คปภ. กำกับและแทรกแซงกิจกรรมของบริษัทลูกและบริษัทร่วมธุรกรรมของบริษัทประกัน ภัยนั้นๆ ด้วยอยู่ระหว่างออกกฎหมายลูกมารองรับ

นอกจากนี้ ยังให้อำนาจการบริหาร และการถ่ายโอนธุรกิจกับคปภ. ที่สามารถ เข้าแทรกแซงในการบริหารงานได้ โดยใช้อำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เพื่อเข้าไปแก้มติ หรือแทนที่มติของผู้ถือหุ้นได้ทันที ส่วนหมวด 4 การดำเนินการ ในการกำกับดูแล คปภ. ต้องวิเคราะห์สภาพการตลาดให้กับธุรกิจเพื่อชี้นำให้ธุรกิจเดินไปในเส้นทาง ที่มีประสิทธิภาพ และแก้ไขสถานการณ์ที่อาจจะร้ายแรงได้ทันท่วงที หมวด 5 กฎระเบียบต่างๆ ด้านการกำกับการประกันภัย อาทิ การประเมินและจัดการความเสี่ยง กำหนดให้บริษัทประกันภัยทำแผนบริหารความเสี่ยงและส่งแผนกับทางคปภ. มีการประเมินความเสี่ยงด้านการลงทุนและหนี้สินมากขึ้น รวมถึงเงินสำรองที่ต้องจัดไว้เพียงพอกับสินไหมทดแทนรวมถึงความพอเพียงของ เงินทุนและความมั่นคงทางการเงิน

หมวด 6 ตลาดและผู้บริโภค เป็นจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งโดยคปภ. ได้มีการควบคุมคนกลางประกันภัยด้วยการขึ้นทะเบียนตัวแทนและนายหน้า จึงต้องมีการพัฒนาความรู้รองรับการขอและต่ออายุใบอนุญาต ขณะที่บริษัทประกันภัยจะต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส มีการควบคุมการฉ้อฉลจากทั้งบริษัท ตัวแทน และนายหน้าเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค

หมวด 7 เรื่องการต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการให้เงินอุด หนุนต่อการก่อการร้าย หากมีการทำธุรกรรมชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปเช่นเดียวกับจ่ายสินไหมทดแทนวงเงินเท่ากันบริษัทประกันภัยต้อง รายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

นายอรัญ กล่าวว่า พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 23 ให้บริษัทประกันภัยจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ ตกเป็นรายได้ของบริษัท รวมถึงเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองเพื่อการอื่นตามที่คณะ กรรมการประกาศกำหนด โดยเงินสำรองจะเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือสินทรัพย์อย่างอื่นก็ได้ตามที่ คปภ.กำหนด โดยกำหนดให้วางเงินสำรอง 25% ซึ่งในปี 2553 เริ่ม 15% ก่อนภายในเดือน มกราคมที่ผ่านมา
 
ที่มา : สยามธุรกิจ


ID=726,MSG=817


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 12:09:28pm เที่ยง ปิดทำการ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com