กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้

กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้

กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้
เมืองไทยกำลังเปลี่ยน ไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ ( Aging society )  ภายใน 20 ปีข้างหน้า  1 ใน 5 ของประชากรไทยจะมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป  และเราทุกคนรู้ว่ารัฐบาลไม่มีทางที่จะดูแลคนชราเหล่านี้ได้ทั่วถึงแน่  วิธีที่ดีที่สุดที่ทุกประเทศใช้กันคือ ส่งเสริมให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง  และหนึ่งในวิธีการนั้นคือ การสนับสนุนให้เขาซื้อกรมธรรม์บำนาญเพื่อเขาจะได้มีเงินเลี้ยงดูหลังเกษียณ ไปตลอดชีวิต

กรมธรรม์บำนาญ ( Annuity ) เป็นสัญญาทางการเงินในรูปของกรมธรรม์ประกันภัย  ที่ผู้ขายซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทประกันชีวิต  ทำข้อตกลงจะจ่ายเงินงวดในอนาคตให้แก่ผู้รับบำนาญ ( annuitant ) เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่เขาต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวทันที หรือ เบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอหลายๆงวดให้บริษัท  ก่อนที่เขาจะได้รับเงินรายได้เป็นรายเดือน, รายสามเดือน, รายหกเดือนหรือรายปีไปตลอดชีวิต หรือตามจำนวนปีที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

หากเป็นกรมธรรม์บำนาญแบบตลอดชีพ ( Lifetime Annuity )  เงินรายงวดที่จ่ายจากบริษัทไปยังลูกค้านั้นไม่มีการจำกัดกรอบเวลา  ขึ้นกับอายุขัยของลูกค้าเป็นหลัก  ยิ่งอายุยืน ยิ่งรับเงินมากงวดขึ้น  แต่สัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อลูกค้าเสียชีวิต  หากมีเงินสะสมเหลืออยู่  ส่วนที่เหลือนี้จะถูกริบเข้ากองกลางเพื่อนำไปเป็นทุนสะสมให้สมาชิกคนอื่นต่อ ไป (คล้ายกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์)  เว้นแต่จะมีผู้รับบำนาญร่วมหรือมีผู้รับประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

กรมธรรม์บำนาญจึงเป็นการประกันการทรงชีพ ( longevity insurance )  ซึ่งความไม่แน่นอนของช่วงชีวิตบุคคลจะถูกโอนความเสี่ยงไปยังบริษัท  และบริษัทจะใช้ชีวิตของลูกค้าจำนวนมาก มากระจายความเสี่ยง  กรมธรรม์แบบนี้จึงควรซื้อไว้เพื่อที่เราจะยังคงมีรายได้หลังเกษียณอายุ
ระยะของกรมธรรม์  โดยทั่วไป มี 2 ช่วง
1.    ช่วงสะสม ( Accumulation phase ) เป็นช่วงที่ลูกค้าฝากและสะสมเงินออมในบัญชีของตนในบริษัทประกันชีวิต
2.    ช่วงรับบำนาญ ( Annuitization phase หรือ Distribution phase ) เป็นช่วงที่บริษัทประกันจ่ายเงินได้ประจำให้ลูกค้าที่ระบุไว้ในกรมธรรม์จน กว่าจะเสียชีวิตหรือตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
อย่างไรก็ตาม  เราอาจสร้างกรมธรรม์ที่มีแต่ระยะรับบำนาญ  โดยการใส่เงินเข้าไปก้อนใหญ่ครั้งเดียว ( single premium) แล้วขอรับบำนาญภายใน 1 ปี กรมธรรม์แบบนี้จะเรียกว่า Immediate annuity  ซึ่งจะช่วยรองรับผู้สูงอายุที่ได้รับเงินก้อนโต ณ วันเกษียณ เช่นเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , เงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF) หรือเงินบำเหน็จราชการ  โดยให้เขานำเงินที่ได้นี้ มาซื้อกรมธรรม์บำนาญ  แล้วกรมธรรม์จะทำหน้าที่จ่ายเงินให้ใช้  แทนค่าจ้างเดิมไปจนวันสุดท้ายของชีวิต กรมธรรม์แบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ถ้าเรายัง ไม่พร้อม  ยังไม่มีเงินก้อน  จะใช้วิธีค่อยๆจ่ายเบี้ยประกันสะสมเข้าไปเรื่อยๆ  จนเมื่อมีเงินมากพอแล้วค่อยรับบำนาญ  หรือใครจะเริ่มจากการจ่ายเงินก้อนโตเข้าไปครั้งเดียว  แต่เราอาจรู้สึกว่ามันยังไม่มากพอ  จะขอฝากเงินไว้ให้เขาบริหารลงทุนไปก่อน  จนเมื่อมีขนาดพอสมควรแล้ว  ค่อยมารับบำนาญ  กรมธรรม์แบบนี้จะเรียกว่า Deferred Annuity
หรือในกรณีที่เรามีเงินก้อนโต  แต่อายุเรายังไม่ถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดว่าเป็นวัยเกษียณ  จะฝากเงินเก็บไว้ที่บริษัทประกันจนถึงอายุที่กำหนดแล้วค่อยรับบำนาญ  ก็เรียกกรมธรรม์นี้ว่า Deferred Annuity เหมือนกัน  โดยเงินโตนี้อาจมาจากมรดก, เงินจากการขายอสังหาริมทรัพย์  หรือเงินครบสัญญากรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ก็ได้
ชนิดของกรมธรรม์บำนาญ

ในสหรัฐและยุโรปที่มีกรมธรรม์บำนาญขายมาช้า นานแล้ว  พบว่ามีกรมธรรม์ชนิดต่างๆให้เลือกมากมาย  บางแบบเรียกตามอัตราผลประโยชน์ที่ได้รับ  บางแบบเรียกตามระยะเวลาที่รับบำนาญ  ขณะที่บางแบบใช้จำนวนผู้รับหรือสุขภาพของผู้รับมาเป็นชื่อเรียก  โดยลูกค้าสามารถเลือกที่จะใช้เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้มาผสมรวมกันในกรมธรรม์ ฉบับเดียวกันก็ได้
กรมธรรม์บำนาญ  สามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
1. กรมธรรม์แบบคงที่และแบบแปรผัน ( Fixed and Variable annuities )
กรมธรรม์ ที่จ่ายเงินบำนาญแบบคงที่ตั้งแต่งวดแรกไปจนวันสุดท้ายของชีวิต เราเรียกกรมธรรม์แบบนี้ว่ากรมธรรม์บำนาญแบบคงที่ ( Fixed annuities )  ซึ่งหากลูกค้ามีอายุยืนมากๆหรือกรณีที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงนานๆ  จะมีผลให้กำลังซื้อของผู้รับบำนาญลดลงในอนาคต  จึงมีกรมธรรม์ชนิดที่จ่ายเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปีเช่น 3% หรือเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเฟ้อ  ซึ่งจะช่วยให้เรามีกำลังซื้อเท่าเดิม  แต่ต้องแลกกับการที่เงินบำนาญงวดแรกที่ได้รับ  ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับกรมธรรม์แบบคงที่ทั่วไป  ยิ่งเรากำหนดให้เงินงวดเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก  เงินบำนาญที่จ่ายออกมางวดแรกยิ่งต่ำลง  กรมธรรม์แบบนี้เรียกว่า Escalation Annuities
ขณะที่กรมธรรม์บำนาญแบบแปรผัน ( Variable annuities ) จะจ่ายเงินที่ขึ้นลงตามผลประกอบการจากการลงทุน ซึ่งโดยมากมักจะเป็นการลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ และกองทุนรวมต่างๆ  กรมธรรม์บำนาญแบบแปรผันนี้  บางอย่างมีการรับประกันเงินงวดขั้นต่ำ  ขณะที่บางอย่างไม่มีการรับประกันเลย  แต่ชนิดที่มีการรับประกันจะได้รับความนิยมมากกว่า

2. กรมธรรม์บำนาญแบบรับประกันจำนวนปี ( Guaranteed annuities )
จุด อ่อนอย่างหนึ่งของกรมธรรม์บำนาญดั้งเดิม คือถ้าผู้รับเงินบำนาญเกิดเสียชีวิตก่อนที่จะได้ใช้เงินเท่ากับยอดเงินที่ตน สะสมไว้  เงินงวดที่เหลือจะถูกริบเข้ากองกลางเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนให้สมาชิกผู้ รับบำนาญที่เหลือ
จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะมีกรมธรรม์แบบรับประกัน จำนวนปีขั้นต่ำ  ที่บริษัทผู้รับประกันจะต้องจ่ายเงินบำนาญอย่างน้อยในจำนวนปีที่แน่นอน เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี  หากผู้เอาประกันอยู่รับเงินครบตามระยะเวลาดังกล่าว  เขายังคงสิทธิที่จะอยู่รับเงินบำนาญไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสียชีวิต  แต่ถ้าเกิดเขาเสียชีวิตก่อนช่วงเวลาที่กำหนด  คู่สมรสหรือกองมรดกของเขาจะมีสิทธิเข้ารับเงินส่วนที่เหลือ(ของ 5 ปี หรือ 10 ปีที่รับประกันไว้)
แต่การตัดสินใจที่จะเลือกเป็นกรมธรรม์แบบที่ รับประกันจำนวนปีนั้น  ต้องแลกกับการที่จะได้รับเงินงวดน้อยลง เช่น ชายอายุ 65 ปี หากเลือกกรมธรรม์ที่มีระยะเวลารับประกัน 5 ปี จะได้รับบำนาญน้อยกว่าแบบที่ไม่มีระยะเวลารับประกัน 2% และหากให้บริษัทรับประกันขั้นต่ำถึง 10 ปี จะได้รับเงินบำนาญน้อยกว่าแบบทั่วไปถึง 6%

3. กรมธรรม์บำนาญแบบคู่ชีวิต (Joint annuities or Partner’s Pension )
เป็น กรมธรรม์ที่จะจ่ายเงินบำนาญให้ไปตลอดชีวิตของผู้รับสองคน  ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นคู่สามี-ภรรยา  โดยหากผู้รับบำนาญคนแรกเสียชีวิตไปแล้ว  คนที่เหลือจะยังคงได้รับบำนาญต่อไปตลอดชีวิต  การจ่ายเงินยังคงดำเนินต่อไปในจำนวนเท่าเดิมหรืออาจจะลดลง ขึ้นกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา  ในบางประเทศให้สามารถใช้ได้กับคู่รักที่เป็นเพศเดียวกันได้  หรืออาจหมายถึงคนที่บริษัทประกันเชื่อว่ายังต้องพึ่งพาผู้รับบำนาญคนแรกใน วันที่เขาจากไป

4. กรมธรรม์บำนาญสำหรับผู้มีโรคประจำตัว ( Impaired life annuities )
ปัจจุบัน ได้เริ่มมีการออกกรมธรรม์บำนาญเพื่อรองรับผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งบางชนิด  โดยหากลูกค้ามีรายงานของแพทย์เข้ามายืนยันการเจ็บป่วย  บริษัทจะจ่ายเงินรายงวดก้อนใหญ่ขึ้น  เพราะคาดว่าลูกค้าจะอยู่รับเงินได้ไม่นาน  กรมธรรม์แบบนี้จะต้องซื้อผ่านที่ปรึกษาการเงินหรือตัวแทนประกันชีวิตเท่า นั้น

5. กรมธรรม์บำนาญแบบเพิ่มพูน ( Enhanced  Annuities )
เป็น กรมธรรม์ที่โดยทั่วไปจะขายให้ลูกค้าที่สูบบุหรี่เป็นประจำ  แต่อาจขายให้คนที่มีน้ำหนักมาก หรือคนที่ทำงานในเหมืองนานๆก็ได้ โดยบริษัทจะขอรายงานแพทย์เพื่อยืนยันความถูกต้อง  ถ้าบริษัทอนุมัติ  เงินงวดที่ได้รับในอนาคตจะสูงกว่าบำนาญทั่วไป  เพราะบริษัทคาดว่าจะจ่ายเงินให้เราช่วงสั้นกว่าคนทั่วไป

6. กรมธรรม์บำนาญแบบคุ้มครองเงินต้น ( Capital Protected Annuities )
เป็น กรมธรรม์แบบที่ถ้าคุณจากไปก่อนอายุ 75 ปี จะมีเงินก้อนหนึ่งจ่ายให้ผู้รับประโยชน์ของคุณ  เงินก้อนนี้จะเท่ากับเงินที่คุณสะสมไว้  หักด้วยเงินบำนาญทั้งหมดที่คุณรับไปแล้ว
    จะเห็นได้ว่า  กรมธรรม์บำนาญได้มีการออกแบบมามากมาย  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย  ดังนั้นก่อนซื้อกรมธรรม์ต้องศึกษาและอ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่ละแบบให้ดี เสียก่อน

    วิธีคำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับ
    ขนาดของเงินงวดที่จะได้รับในอนาคตขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ
    1. ขนาดของเงินสะสม ( The pot )
    2. อัตราบำนาญ ( Annuity rate )
โดยสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้
Annuity = Value of fund x Annuity rate
อัตรา บำนาญถูกคิดคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย  ซึ่งใช้ปัจจัยหลายอย่างมาคำนวณ เช่น อัตรามรณะ อัตราดอกเบี้ย อายุ เพศและสุขภาพ  โดยทั่วไป  อัตราจะยิ่งสูงถ้าลูกค้ายิ่งมีอายุมาก  เพราะช่วงอายุในอนาคตเหลือน้อยกว่า  ขณะเดียวกัน  อัตราของผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง  เพราะผู้ชายมีอายุสั้นกว่าผู้หญิง

นอกจากนี้หากเราเลือกเงื่อนไขพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น  ขอปรับเงินบำนาญตามเงินเฟ้อ, ขอให้รับประกันระยะเวลาจ่ายขั้นต่ำ หรือขอให้จ่ายให้คู่สมรสด้วยหลังการเสียชีวิตของคนแรก  มันจะทำให้เงินบำนาญลดลง

ข้อดีของการซื้อกรมธรรม์บำนาญ
1. มีหลักประกันว่าเราจะมีเงินใช้ยามเกษียณแน่นอน
2. รับประกันผลตอบแทนที่ได้  ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุนในอนาคต
3. เป็นการจัดสรรเงินที่เป็นระบบ  เชื่อถือได้
4. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยการลดหย่อนภาษีให้
5. เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข  ทุกคนยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินกองกลาง
6. สบายใจว่าคู่สมรสของเรามีเงินเลี้ยงดู  แม้เราจะไม่อยู่แล้ว
7. ช่วยลดภาระของรัฐในระยะยาว

ข้ออ่อนของกรมธรรม์บำนาญ
1. เมื่อเริ่มรับเงินบำนาญแล้ว  ยกเลิกไม่ได้
2. หากยกเลิกในช่วงสะสมเงิน  อาจถูกคิดค่าธรรมเนียม 7% - 20%ของเงินที่สะสมไป
3. กรณีผู้ซื้อมีอายุสั้น  อาจทำให้ได้รับเงินบำนาญคืนน้อยกว่าที่จ่ายออกไป
4. อัตราเงินเฟ้ออาจทำให้เงินที่ได้ในอนาคตมีกำลังซื้อลดลง  อาจจะไม่สะดวกสบายอย่างที่คาดหวังไว้
5. ต้องสะสมเงินเป็นเวลายาวนานกว่าจะได้ใช้เงิน ( อย่างต่ำต้องรอถึงอายุ 55 ปี )
เมื่อไรที่เราควรตัดสินใจซื้อกรมธรรม์บำนาญ
ไม่ มีใครสามารถทำนายอนาคตได้  อย่างไรก็ตาม  จากประสบการณ์ในทศวรรษที่ผ่านมา  จะพบว่าผู้ที่ตัดสินใจล่าช้ามักเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์  ไม่เพียงแต่จะมาจากการที่อัตราการจ่ายบำนาญลดลงเพราะคนอายุยืนขึ้น  แต่ยังมาจากผลตอบแทนการลงทุนที่ลดน้อยลง  จากความล่าช้าในการเริ่มต้นลงทุน

บทสรุป
ปัจจุบันนี้ กรมธรรม์บำนาญกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษและอเมริกา  มีข้อมูลว่าเงินเกษียณอายุของประชาชนชาวอเมริกัน มาจากกรมธรรม์แบบบำนาญถึง 15%  ดังนั้น จึงเชื่อว่าประชาชนในประเทศต่างๆจะพากันเลียนแบบ และนิยมกรมธรรม์บำนาญกันอย่างแพร่หลาย
รัฐบาลไทยควรฉวยโอกาสนี้  รณรงค์ให้ประชาชนซื้อกรมธรรม์บำนาญไว้ให้มากที่สุด  เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล  โดยการอนุมัติให้ลดหย่อนภาษีเงินออมส่วนนี้ได้  เชื่อว่ากองทุนบำนาญนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็ว  พร้อมที่จะเป็นทั้งหลักประกันและเงินออมของประเทศในอนาคต

หมายเหตุ  ชื่อเรียกคำต่างๆ  อาจจะเปลี่ยนแปลงได้  เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อ กรมธรรม์บำนาญแบบต่างๆของไทย อย่างเป็นทางการ


ID=604,MSG=693


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 07:48:00am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com