ระบบประกันสุขภาพแบบสองมาตรฐาน

ระบบประกันสุขภาพแบบสองมาตรฐาน

ระบบประกันสุขภาพแบบสองมาตรฐาน Double standards in health care

ตีพิมพ์ใน นสพ. Bangkok Post ๒๕๕๓
http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/185255/double-standards-in-health-care
ผู้เขียนบทความคือ Dr Pongsadorn Pokpermdee, senior expert at the National Health Security Office และ Ms Proud Patanavanich, Intern, College of William and Mary, USA.

ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพหลักๆอยู่ 4 แบบ

1. ระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คุ้มครองข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน
2. ระบบประกันสังคม คุ้มครองประชาชนจำนวน 9.8 ล้านคน และกำลังจะคุ้มครองเพิ่มอีก 5.8 ล้านคน ที่ย้ายมาจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า คุ้มครองประชาชนจำนวน 47.3 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ 5.8 ล้านคนกำลังจะถูกโอนเข้าสู่ระบบประกันสังคม
4. ระบบประกันสุขภาพส่วนบุคคล เป็นการประกันสุขภาพที่บุคคลทั่วไปซื้อกรมธรรม์จากบริษัทประกันทั่วไป มีจำนวนประมาณ 1 -2 ล้านคน

ระบบประกันสุขภาพทั้งหมดนี้ ยกเว้นประกันสังคมและประกันสุขภาพส่วนบุคคลล้วนแต่ใช้งบประมาณที่มาจากภาษี อากรทั้งสิ้น ในระบบประกันสังคม การส่งเงินเข้ากองทุนจะเป็นภาระของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐ ในขณะที่ระบบประกันส่วนบุคคล ผู้ประกันตนจะเป็นผู้รับภาระจ่ายค่าเบี้ยประกันเอง

ถ้าพิจารณาโดยผิวเผิน จะเห็นได้ว่า ระบบประกันสุขภาพแบบที่ 1, 2 และ3 ที่ได้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนโดยรัฐ ก็ควรจะครอบคลุมคนไทยทั้งหมดทุกสถานะและอาชีพ แต่ อย่างไรก็ตาม มีระบบประกันสุขภาพอีกประเภทที่หน่วยงานรัฐซื้อจากบริษัทประกันเอกชน สำหรับกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษ เช่น สำนักงานอัยการ สำนักงานคณะกรรมการป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ
วุฒิสมาชิก และ สภาผู้แทนราษฎร์ โดยให้ความคุ้มครองและประโยชน์ด้านประกันสุขภาพเหนือกว่าคนไทยทั่วไป

ข้อมูล (จากตาราง) สะท้อนถึงงบประมาณต่อหัวด้านการรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างอย่าง มากระหว่างกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษกับประชาชนคนไทยทั่วไป กลุ่มที่ได้รับสิทธิพิเศษ
สามารถเข้าบริการของโรงพยาบาลเอกชนที่หรูหรา ในขณะที่ประชาชนทั่วไปต้องใช้บริการโรงพยาบาลรัฐที่แออัด

ถ้า เจาะลึกในรายละเอียดจะเห็นว่า สิทธิประโยชน์อื่นๆก็แตกต่างกัน เช่น ยา Rituximab ที่มีราคาแพงใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ผลดี สามารถจ่ายยาชนิดนี้ให้กับกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษได้อย่างง่ายดายแต่แทบจะ ไม่ได้จ่ายให้กับผู้ประกันสุขภาพในระบบสุขภาพถ้วนหน้าและประกันสังคม และในยาชนิดเดียวกัน กลุ่มที่ได้รับสิทธิพิเศษจะได้รับยาที่ผลิตโดยบริษัทผู้ผลิต (ซึ่งแพงกว่ายาเทียบเท่าหลายเท่าตัว)

นี่คือความจริงของสังคมไทย
เมื่อพูดถึงสิทธิ์ในการรับบริการด้านการรักษพยาบาล ข้าราชการและครอบครัวจะได้รับความสำคัญก่อน หลังจากนั้นค่อยเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษและคนที่อยู่ใน ระบบประกันสังคมตามลำดับ
การมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิมคือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย ที่คนไทยทุกคนสามารถเข้ารับบริการด้านรักษาพยาบาลจากโรงบาลรัฐอย่างเท่าเทียม

ปัจจุบัน สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการที่ครอบคลุมข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน ใช้งบประมาณ 65,000 ล้านบาท หรือ 13,000 ต่อคน ในขณะที่ประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมประชาชน 47 ล้านคน ใช้งบประมาณ 89,000 ล้านบาท
หรือเพียง 1,894 บาทต่อคน ต่างกันเกือบเจ็ดเท่า และที่น่าแปลกใจก็คือ ระบบประกันสุขภาพที่ผู้ประกันตนต้องร่วมรับภาระ (ประกันสังคม) ได้รับคุณภาพการบริการที่ต่ำกว่าประกันสุขภาพถ้วนหน้าเสียอีก

ข้าราชการในองค์กรอิสระได้รับการจัดงบประมาณด้านประกันสุขภาพ 38,000 บาทต่อคน รัฐมนตรี สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ วุฒิสมาชิก ได้รับ 20,000 บาทต่อคนและได้รับการเสนอเพิ่มเป็น 50,000 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่คนไทยทั่วไปได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านรักษาพยาบาลเพียง 2,000 บาทต่อคนต่อปีจากรัฐ

ความแตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรของภาครัฐและภาคการเมือง ซึ่งแสดงให้ถึงความไม่เชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งเป็นแก่นของระบอบประชาธิปไตย

ณ วันนี้ สังคมไทยเริ่มรับฟังและให้ความสนใจมากขึ้นต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่กระนั้น ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจต่อปัญหานี้ไม่เพียงพอ หลักสำคัญของเรื่องนี้
มิได้เกี่ยวกับการร้องขอให้เกิดความเห็นใจและ สงสาร แต่เกี่ยวกับความยุติธรรมภายใต้ความเท่าเทียมกันของสิทธิมนุษย์ ไม่ว่าสถานะทางสังคมอาชีพหรือสถานะทางการเมืองจะเป็นอย่างไร
ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาล เพราะทุกระบบใช้งบประมาณจากภาษีอากรทั้งสิ้น

ที่สำคัญกว่านั้นคือ ระบบบริการด้านสุขภาพต้องไม่แบ่งชนชั้น หรือให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่ม รัฐบาลต้องจัดให้ประชาชนมีอย่างเท่าเทียม รวยหรือจนไม่ควรเป็นอุปสรรคหรือปัจจัย
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพ สังคมไทยต้องการคำตอบในวันนี้


ID=556,MSG=645


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 10:00:34am ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com