ประกัน กับ 3ปัญหาหลักในชีวิตของคน

ประกัน กับ 3ปัญหาหลักในชีวิตของคน

1. อายุยืนยาวเกินไป

ประกันชีวิตคือเงินสด
ประกันชีวิตคือการเก็บเงิน
ประกันชีวิตคือเงินสดก้อนหนึ่งที่จะถูกส่งมอบในวันข้างหน้าให้กับตัวเราเอง หากเรายังอยู่ในวันครบสัญญา
หรือหากจากไปก่อน คนในครอบครัวที่เราได้กำหนดไว้ก็จะเป็นผู้รับไปแทน(ผู้รับผลประโยชน์)

ปัจจุบันคนทำงานส่วนมาก โดยทั้วไปจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ถ้ามีความสามารถ ก็อาจจะได้รับการต่ออายุการทำงานต่อไปได้อีก 5-10 ปี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากที่เกษียณอายุไปแล้ว เราส่วนใหญ่จะต้องอยู่ไปอีกมากกว่า 15 ปีขึ้นไป และ 15 ปีที่ว่านี้เป็นการ "อยู่เพื่อใช้เงิน" ไม่ใช่อยู่เพื่อหาเงิน
จริงๆ มันคือ การตกงาน และเป็นการตกงานแบบถาวร หากไมไ่ด้วางแผนธุรกิจให้มีรายได้ไว้รองรับ (แม้ไม่ทำงานก้มีรายได้ ! )

- ตัวเราได้เตรียมพร้อมทางด้านเงินเกษียณไว้หรือยัง ?
- วันนี้ตัวเรามีเงินในบัญชีเหลืออยู่เท่าไหร่ ?
- ถ้าเราวางแผนที่จะเกษียณเร็วกว่าปกติทั่วไป เงินที่เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณ จะเพียงพอหรือไม่ ?

ตัวอย่าง
ผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 30 ปี วางแผนไว้ว่านอกจากฝากเงินกับธนาคารและลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ
แล้วยังต้องการเงินก้อนพิเศษตอนเกษียณอายุ 60 ปี อีกอย่างน้อย 2 ล้าน บาทจากแหล่งเงินออมอื่น ๆ ที่ไม่เสี่ยงเกินไป
เช่น ซื้อ ประกันชีวิต เพราะจะได้มีวินัยในการออมเงิน ได้ลดหย่อนภาษี และยังได้รับความคุ้มครองตลอดสัญญาอีกด้วย (ได้ประโยชน์สูงถึง 3 อย่าง)
โดยหวังว่าเงินก้อนพิเศษ 2,000,000 นี้ จะได้นำมาใช้จ่ายหลังเกษียณประมาณเดือนละ 10,000 ซึ่งจะใช้ยังชีพหลังเกษียณต่อได้อีกประมาณ 16 ปี
เราจะวางแผนประกันกรณีนี้อย่างไรดี

คำแนะนำ
ดังนั้นการประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์ น่าจะช่วยได้ในกรณีนี้ โดยซื้อแบบประกันสะสมทรัพย์ในวงเงินทุนประกัน 1.2 ล้านบาท เมื่อครบกำหนดเกษียณอายุ มูลค่าเงินสดและผลตอบแทนจากกรมธรรม์จะทำให้เรามีเงิน 2 ล้านบาท คือเพิ่มขึ้น 66% ได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีความเสี่ยง โดยจ่ายเบี้ยประกันปีละประมาณ 37,000 บาท (หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท หรือเฉลี่ยวันละ 100 บาท) โดยที่ยังได้ความคุ้มครองชีวิตอีก 1.2 ล้านบาทถึงเกษียณอายุ ไม่มีค่าใช้จ่าย เหมือนได้่ความคุ้มครองมาฟรี ๆ นอกจากนี้ทุกปีที่ชำระเบี้ยประกันชีวิต ยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย หากฐานภาษีอยู่ที่ปีละ 20% ก็จะได้เงินคืนภาษีกลับมาอีกปีละ 7,400 บาท (37,000 x 20%) เป็นผลตอบแทนสูงที่ได้เพิ่มอีก โดยไม่มีความเสี่ยงเลย

บางคนก็ทำได้ บางคนก็ทำไม่ได้ บางคนบอกว่ามันมากเกินไป ก็ต้องถามตัวเองกลับว่ายังต้องการเงินเกษียณ 2 ล้านบาทอยู่หรือไม่ ยังต้องการเงินยังชีพเดือนละหมื่นหลังเกษียณต่อไปอีก 16 ปี หรือไม่ ถ้ายังไม่พร้อมที่จะเก็บเงินจำนวนนี้ ก็ลดเป้าหมายเงินเกษียณก้อนนี้ลงได้ คุณตัดสินใจเองได้เลย บางคนก็ไม่อยากลดรายได้ในอนาคตของตัวเอง มีวิธีแก้ไขที่ง่ายและรวดเร็วก็คือ เริ่มต้นบางส่วน ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย เช่น เริ่มเก็บออมสักครึ่งนึง คือวันละ 50 บาท ถ้าทำได้ ทุกอย่างก็ลงตัว แล้วในอนาคตเมื่อเข้ารูปเข้ารอย ก็ค่อยทยอยเพิ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเกษียณที่วางแผนไว้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ คนที่เริ่มลงทุนหรือเก็บ เงินช้า ผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อย จะต้องเก็บเงินมากกว่า และได้ผลลัพธ์น้อยกว่าคนที่เริ่มลงทุนหรือเก็บเงินเร็วและทำแบบจริงจัง เหมือนกับวลีที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่า “ออมก่อนรวยกว่า” นั่นเอง


2. ตายเร็วเกินไป (อายุสั้น)

เรื่องนี้เป็นจุดประสงค์หลักของของการประกันชีวิต เราจะเริ่มต้นด้วยวิธีการหาทุนประกันที่จำเป็นสำหรับตัวเอง โดยการอนุรักษ์เงินต้น (Capital Conservation) ปกติ แล้วเรามักคำนวณหาทุนประกันจากรายได้ของครอบครัว และภาระหนี้สินต่าง ๆ ยก ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวหารายได้คนเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีบุตร 2 คน อายุ 5 ขวบและอายุ 3 ขวบ จะมีค่าใช้จ่ายในบ้านรวมกับทุนการศึกษาของลูกทั้ง 2 คน เป็นยอดเงินสักเท่าไหร่ ภายใน 20 ปี แต่ถ้าหัวหน้า ครอบครัวต้องจากไปก่อนในวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวเขา ภรรยาซึ่งไม่เคยทำงานนอกบ้านมานานแล้วจะหางานได้อย่างไร ถ้าคุณเป็นหัวหน้าครอบครัว คุณต้องการรับประกันรายได้ของครอบครัวไว้ตลอดไปหรือไม่ ?

วิธีอนุรักษ์เงินต้นก็คือ หาทุนประกันชีวิตที่มากพอ เมื่อหัวหน้าครอบครัวจากไป ก็นำเงินประกันชีวิตที่ได้รับ นำไปฝากธนาคาร/นำไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ แล้วใช้เฉพาะดอกผลที่ได้รับโดยไม่แตะต้องเงินต้นเลย ครอบครัวก็จะมีเงินใช้ตลอดไป

แนวคิดนี้ ใช้ได้ดีกับครอบครัวที่ภรรยาไม่ได้ทำงาน และหัวหน้าครอบครัวที่มีกรมธรรม์อยู่บ้างแล้วแต่ไม่มาก หรือไม่เพียงพอ ซึ่งทุนประกันชีวิตที่น้อยเกินไปอาจถูกใช้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว แล้วครอบครัวคุณจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ?

- เมื่อคุณแต่งงาน คุณได้สัญญาว่าจะดูแลภรรยาและลูกไปตลอดชีวิตหรือไม่ ?
- ประกันชีวิตที่คุณมีอยู่ เพียงพอที่จะดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตหรือไม่ ?


3. ทุพพลภาพ หรือตายทั้งเป็น

ถาม : สินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดในตัวคุณคืออะไร ?
ตอบ : ก็คือความสามารถในการหารายได้ของตัวเรา

ถามต่อ : คุณเคยคิดไหมว่าตัวคุณมีค่าตัวสักเท่าไหร่ ?
ตอบต่อ :
พวก เราเคยคำนวณมูลค่าของตัวเราเองบ้างหรือเปล่า ? สองมือและสมองของเรานี้ได้ทำเงินให้เรามาแล้วเท่าไหร่ และจะทำได้อีกเท่าไหร่ในวันข้างหน้า ? แล้ว หากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพต่าง ๆ มาตัดรอนการหารายได้ของเราในวันนี้ แล้วเราจะมีค่าตัวเหลือเท่าไหร่ในวันข้างหน้า จะเพียงพอที่จะใช้ดูแลตัวเองต่อไป รวมถึงดูแลภรรยาและลูก ๆ ต่อไปได้หรือไม่ ?

เราอาจใช้กรมธรรม์ประกันภัยโรคร้ายแรงและทุพพลภาพ โดยให้มีทุนประกันเท่ากับรายได้อย่างน้อย 6 ปี เพื่อจะได้มีเงินใช้ในการดำรงชีวิตเมื่อป่วยหรือพิการ บางคนอาจจะได้เตรียมไว้บ้างแล้ว แต่อยู่ในรูปของประกันสุขภาพที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เพียงพอ เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง

ตัวอย่าง
เช่น คนที่เป็นมะเร็งต่างรู้ดีว่า จะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพียง 2 ทางเท่านั้น ทางแรกคือรักษาตัวจนหาย หรือในที่สุดก็ต้องจากไป แต่โชคร้ายที่คนเป็นมะเร็งส่วนมากมักจะตายหลังจากรักษาตัวอยู่ 3-5 ปี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้น การเตรียมความพร้อม ในขณะที่ร่างกายเรายังแข็งแรงและมีสุขภาพดี ก็คือซื้อประกันโรคมะเร็ง โรคร้่ายแรงและทุพพลภาพ ประกันอุบัิติเหตุแบบชดเชยรายได้ โดยให้ทุนประกันคุ้มครองเท่ากับรายได้ 6 ปี

สรุปการประกันชีวิตแบบคุ้มครองความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ควรมีไว้ เพื่อแก้ 3 ปัญหาหลัก

1. อายุยืนเกินไป (Live Too Long)
- ประกันชีวิตแบบที่เน้นสะสมทรัพย์ (Endowment)
- ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Link)

2. ตายเร็วเกินไป (Die Too Soon)
- ประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองชีวิตสูง (Life Plan)

3. ทุพพลภาพ หรือตายทั้งเป็น (Living Death)
- ประกันภัยโรคมะเร็ง (Cancer Insurance)
- ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illness Rider)
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance)
- ค่าชดเชยรายวันเมื่อเข้าโรงพยาบาล (Hospital Cash)
- ชดเชยรายได้จากทุพพลภาพ (Disability Income)
- ประกันสุขภาพสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล (Health Insurance)


ID=393,MSG=482


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 12:35:02am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com