การซื้อประกันภัย Purchasing an insurance policy

การซื้อประกันภัย Purchasing an insurance policy

การซื้อประกันภัย Purchasing an insurance policy
การซื้อประกันภัย มีอยู่ 3 ช่องทาง

There are 3 ways to purchase an insurance policy:

1)ซื้อโดยตรงกับบริษัทประกันภัย (บริษัทวินาศภัยในไทย ประมาณ 60 แห่ง ,บริษัทประกันชีวิต ประมาณ 23 แห่ง)
2)ผ่านตัวแทนบริษัทประกันภัย (ตัวแทนสังกัดบริษัทประกันภัยแห่งใดแห่งหนึ่ง)
3)ผ่านบริษัทนายหน้าประกันภัย (นายหน้าไม่ได้สังกัดบริษัทใด เป็นอิสระขายได้ทุกบริษัท)

บริษัทประกันภัยเป็นผู้ร่างสัญญาเองและในขณะเดียวกันก็เป็นผู้จ่ายเคลมอีกด้วย จะเห็นว่าขัดแย้งกันในผลประโยชน์  ถึงแม้ว่าเมื่อเกิดเคลมบริษัทประกันภัยอาจใช้บริษัทสำรวจภัยและผู้ประเมินความเสียหาย (surveyor & adjuster) ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาเหล่านี้จะได้รับแต่งตั้งให้ทำงานแทนบริษัทประกันภัยไม่ใช่แทนผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ขาย” คือขายกรมธรรม์ต่าง ๆ แต่ผู้เอาประกันภัยเป็น “ผู้ซื้อ” ซึ่งผลประโยชน์ของสองฝ่าย ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยทั่วไปแล้วไม่เคยไปด้วยกันเลย หลักการซื้อขายทั่วไปและภาษิตกฎหมายมีอยู่ว่า

“ผู้ซื้อต้องเป็นผู้ระมัดระวังเอง” (let the buyer beware)

ยิ่งเป็นการซื้อประกันภัยยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะการซื้อสินค้าอย่างอื่นเราพอมองเห็นข้อบกพร่องก่อนได้ แต่การซื้อประกันภัยเป็นการซื้อเหตุการณ์ล่วงหน้า เราจะเห็นข้อบกพร่องของกรมธรรม์ก็ต่อเมื่อเกิดเคลมขึ้นแล้วและไม่สามารถแก้ไขอะไรได้และที่สำคัญคือการซื้อประกันภัย เป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้ เหมือนการซื้อสินค้าทั่วไป ดังนั้นความน่าเชื่อถือ จึงเป็นเรื่องสำคัญ การบริการ การช่วยเหลือ ความจริงใจต่อลูกค้า บอกความจริง เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ แนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดให้ โดยใช้ความรู้ของตัวแทน/นายหน้า นั้นเอง

ตัวแทนบริษัทประกันภัย นำผลิตภัณฑ์หรือกรมธรรม์ต่าง ๆ ที่ตนเป็น ตัวแทนของบริษัทประกันภัย นั้น ๆ ไปเสนอขาย

นายหน้าประกันภัยเป็น “ตัวแทนของผู้เอาประกันภัย” และได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ซื้อประกันภัย” ไม่ใช่ผู้ขายประกันภัย เพราะเมื่อได้รับคำสั่งให้จัดประกันภัย นายหน้าประกันภัยก็จะไปในตลาดประกันภัยเพื่อหากรมธรรม์ที่ดีจากบริษัทประกันภัยที่มีอยู่มากมายให้กับลูกค้าของตนซึ่งเท่ากับทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อประกันภัยนั่นเอง ด้วยเหตุนี้บทบาท หน้าที่และแนวความคิดในการทำงานของ ตัวแทนบริษัทประกันภัย กับ นายหน้าประกันภัย จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

นายหน้าประกันภัย แบ่งเป็น
- นายหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา
- นายหน้าที่เป็นนิติบุคคล คือเป็นรูปบริษัทซึ่งย่อมจะให้ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพและความมั่นคงมากกว่าเพราะไม่ได้ทำงานคนเดียวแต่มีกลุ่มคนที่คอยรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันได้

บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยที่ดำเนินธุรกิจในรูปของนิติบุคคล มีอยู่ 2 ประเภท
- บริษัทนายหน้าประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตั้งขึ้นเอง (in-house or captive brokers)
- บริษัทนายหน้าประกันภัยอิสระที่ไม่สังกัดบริษัทประกันภัย (independent or professional brokers) ประโยชน์สูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับคือการซื้อประกันภัยโดยผ่านบริษัทนายหน้าประกันภัยที่เป็นอิสระ


ID=3088,MSG=4372


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Tuesday เวลา 04:01:28am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com