200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

การจัดอันดับของ google
ถ้าเป็นคนที่คุ้นเคยกับเรื่อง seo พวกเราจะต้องรู้จักกับ algorithm ของ google ที่เป็นปัจจัยหลักที่ google ใช้ในการจัดอันดับ ไม่ว่าจะเป็น pagerank, hilltop, trustrank, caffeine, panda, penguin, hummingbird และอื่น ๆ แต่สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือ google ใช้ ปัจจัยมากกว่า 200 ปัจจัยในการจัดอันดับ คืออะไรบ้างเราลองมาดูกัน
1. อายุของโดเมน โดเมนที่มีอายุนานกว่าจะได้อันดับที่ดีกว่า สิ่งนี้ยืนยันโดย matt cutt
2. keyword ในชื่อโดเมน โดเมนที่มี keyword ในชื่อโดเมน จะได้เปรียบในการจัดอันดับในคำนั้น ๆ
3. keyword ในชื่อโดเมนโดยเป็นคำแรกของโดเมน อย่างเช่น ของเล่นใหม่.com ก็จะมีการจัดอันดับที่ดีในคำว่า “ของเล่น” มากกว่าโดเมนที่ไม่มีคำนี้ในชื่อ หรือมีคำนี้แต่ไม่ใช่คำแรกของชื่อโดเมน
4. การจดอายุโดเมนนาน ส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย เนื่องจาก google มองว่าโดเมนที่ตั้งใจทำนั้นจะจ่ายเงินค่าโดเมนล่วงหน้าหลาย ๆ ปี ในขณะที่เว็บที่ทำแบบฉาบฉวยจะจดอายุเพียงปีสองปี ดังนั้นอายุที่เหลืออยู่ของโดเมนจะช่วยส่งผลกับอันดับด้วย
5. keyword ใน subdomain จะช่วยส่งผลที่ดีต่อการจัดอันดับเช่นกัน
6. ประวัติของโดเมนนั้น ๆ การที่โดเมนมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ หรือมีการหมดอายุแต่ไม่มีการต่อหลาย ๆ ครั้ง เป็นสิ่งบอก google ว่าโดเมนนี้ไม่ใช่โดเมนเก่า แต่เป็นโดเมนที่เริ่มทำใหม่ google อาจเริ่มนับค่าใหม่กับโดเมนประเภทนี้
7. โดเมนที่ชื่อโดเมนตรงกับ keyword เลย แน่นอนว่าโดเมนประเภทนี้จะทำอันดับได้ดีในคำนั้น ๆ แต่ถ้าเว็บนั้นถูกสร้างโดยไม่ใช่เว็บคุณภาพ google ก็จะลดอันดับโดเมนพวกนี้ลง ซึ่งตรงนี้ยืนยันโดย matt cutt
8. การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเจ้าของโดเมน whois การจดโดเมนเราสามารถเลือกจดแบบ private whois ซึ่งจะไม่เปิดเผยข้อมูลของเรา สิ่งนี้ google มองว่าถ้าเว็บที่ถูกต้อง ย่อมไม่กลัวการเปิดเผยข้อมูล การที่เว็บซ่อนเร้นอะไรบางอย่างย่อมไม่ใช่เรื่องดี
9. การลงโทษ โดยใช้ข้อมูล whois ถ้ามีเว็บใด ๆ ที่ google ลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง spam หรือการฝ่าฝืนข้อห้ามอื่น ๆ ของ google เว็บไซต์อื่นที่ข้อมูล whois เป็นเจ้าของเดียวกัน อาจโดนผลลบตามไปด้วย
10. นามสกุลโดเมน เช่น .th อาจช่วยส่งผลให้เว็บนั้นทำอันดับใน google.co.th ได้ดี เหมือนกับเว็บไซต์ ประเทศอื่น ๆ ที่จะทำอันดับในประเทศนั้น ๆ ได้ดี แต่สิ่งนี้อาจส่งผลการจัดอันดับใน google.com ที่แย่กว่าปกติ
11. keyword ในหัวข้อเว็บ ส่งผลกับการทำ seo ในคำนั้น ๆ
12. การใส่ keyword ในคำแรกของหัวข้อเว็บ
13. keyword ใน meta description
14. การใส่คำนั้น ๆ ที่ต้องการลงใน H1 tag
15. การใช้คำนั้น ๆ หลาย ๆ ครั้งในบทความ จะบอกว่าบทความนี้เกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ ส่งผลต่อการที่ search engine จะนำไปจัดอันดับ
16. จำนวนคำของบทความ บทความที่มีจำนวนคำมากกว่าย่อมส่งผลดีกว่าบทความที่มีจำนวนข้อความสั้น ๆ
17. ความหนาแน่นของคำที่ต้องการในบทความส่งผลต่อการจัดอันดับ แต่การใช้คำมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน
18. LSI (Latent semantic indexing keyword) ในบทความไม่ควรเน้นแต่คำที่ต้องการ แต่ควรเน้นคำที่เป็น LSI ด้วย คือ keyword ที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกัน
19. LSI ในหัวข้อ และ meta description
20. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ ยิ่งไฟล์เล็ก โหลดได้เร็ว จะยิ่งมีผลดี
21. บทความที่ซ้ำกัน จะส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ
22. การใช้ rel=canonical อย่างเหมาะสม จะทำให้ google รู้ว่าเราไม่ได้ตั้งใจทำบทความซ้ำกัน
23. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บผ่าน browser chrome เป็นที่รู้กันว่า chrome เป็นของ google อะไรที่ chrome ไม่ปลื้ม google ก็ไม่ชอบตามไปด้วย
24. การทำ seo ให้กับรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นชื่อรูป alt text, title, description, caption ของรูป
25. ความสดใหม่ของบทความ เป็นสิ่งที่ caffeine algorithm ใช้ในการจัดอันดับ เพราะ google เชื่อว่า บทความที่เขียนไว้นาน ๆ อาจล้าสมัยไปแล้ว จึงสร้าง caffeine ขึ้นมาเพื่อให้บทความที่ใหม่กว่าซึ่งอาจจะมีข้อความที่มีข้อมูลที่ทันสมัยกว่า ได้อันดับที่ดีกว่า
26. การแก้ไขบทความ ทำให้ google รู้ว่าบทความนี้เปลี่ยนไป มีความสดใหม่กว่าบทความเก่า จะได้อันดับที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเขียนข้อความใหม่เพิ่มเข้ามา มากกว่าการเปลี่ยนแค่คำไม่กี่คำ
27. ความถี่ในการแก้ไขบทความ ยิ่งบทความเปลี่ยนบ่อย google ยิ่งรับรู้ถึงความสดใหม่ของบทความ
28. การมีคำที่ต้องการปรากฎอยู่ใน คำ 100 คำแรกจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การจัดอันดับของ google ให้ดีขึ้น
29. keyword ที่ต้องการใน H2, H3 tag
30. การเรียงคำที่ถูกต้องอย่างเช่น ทำบุญวันเกิด จะส่งผลให้อันดับคำว่า ทำบุญวันเกิด ดีกว่าการใช้ วันเกิดทำบุญ
31. การทำ Link ออกไปยังเว็บคุณภาพ
32. การทำ Link ออกไปเว็บอื่น อย่างเช่นถ้าเว็บของคุณเกี่ยวกับกระต่าย การทำ link ไปยังเว็บตุ๊กตาจากหน้านั้น อาจจะเป็นการบอก google ว่าหน้าเว็บนั้นเกี่ยวกับตุ๊กตากระต่าย ไม่ใช่แค่กระต่าย
33. การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง สำหรับภาษาอังกฤษ การใช้บทความมั่ว ๆ ไวยากรณ์ไม่ถูกต้องจะส่งผลเสีย แต่ไม่แน่ใจว่า google เก่งขนาดรู้ไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ ได้หรือไม่ แต่การใช้อย่างถูกต้องไว้ก่อนก็เป็นสิ่งดี
34. บทความเป็นบทความที่คัดลอกมาหรือเป็นบทความที่เขียนขึ้นใหม่ บทความที่เขียนขึ้นใหม่ย่อมทำอันดับได้ดีกว่า
35. บทความเสริมที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้เพิ่มคุณภาพให้กับหน้าเว็บ ซึ่งช่วยในการจัดอันดับของ google ดังนั้นการทำเว็บควรนึกถึงคนอ่านเว็บเราว่าจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากบทความของเรา
36. จำนวนลิงก์ออกที่ไม่มากเกินไป
37. การใส่รูป วีดีโอหรือไฟล์สื่ออื่น ๆ ในบทความจะช่วยเรื่องคุณภาพของบทความ
38. จำนวนของลิงก์ภายในเว็บเดียวกันที่ลิงก์มาหาหน้านั้น
39. คุณภาพของลิงก์ภายในเว็บเดียวกัน ความเกี่ยวข้องของเนื้อหาหน้าอื่นที่ลิงก์มาหา และ pagerank ของหน้านั้น ๆ
40. การที่มีลิงก์ออกไปยังหน้าเว็บที่ไม่มีอยู่ ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับของเว็บ การที่เว็บมี link เสียจำนวนมากหมายถึง เว็บนั้นที่ถูกทิ้ง ไม่เอาใจใส่
41. ระดับการอ่าน เป็นสิ่งหนึ่งที่ google ใช้ในการจัดอันดับ แบ่งออกเป็นสามขั้น ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง แล้วแค่ระดับของคำศัพท์ที่ใช้ในบทความ ยิ่งเว็บเราจัดอยู่ในระดับสูงก็จะยิ่งได้อันดับดี แต่การจัดอันดับภาษาไทยคงไม่เหมือนภาษาอังกฤษ
42. ลิงก์ affiliate การมี link ประเภทนี้ในเว็บไซต์ก็ไม่ใช่ผลเสียอะไรตามใดที่คุณไม่ใส่มัน “มาก”เกินพอดี ซึ่งอาจจะโดน google เพ่งเล็งได้ว่าเป็นเว็บ “thin affiliate site” คือเว็บที่มีเนื้อหาน้อยเกินไป แต่มี link affiliate มากเกินไป
43. การใส่ tag html ผิดพลาด หรือการ verify wc3 แล้วมีความผิดพลาดจำนวนมาก เป็นสัญญาณว่าเว็บนั้นไม่ได้คุณภาพ แต่บางคนกลับคิดตรงข้ามเรื่องการ verify wc3 ว่าอาจให้ผลตรงข้าม
44.หน้าเว็บของโดเมนที่มี authority มากกว่าย่อมอันดับดีกว่าเว็บที่มีค่าน้อยกว่า
45.pagerank ของหน้านั้น PR ที่สูงกว่าย่อมได้อันดับดีกว่า
46.ความยาวของ URL URL ที่ยาวมาก ๆ อาจเป็นผลเสียกับการมองเห็นของผลลัพท์การค้นหา
47. ที่อยู่ URL หรือ URL path ยิ่งหน้านั้นอยู่ใกล้กับหน้าแรกเว็บก็ย่อมได้ authority มากกว่าหน้าอื่น
48. แม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ แต่ google เองมีสิทธิบัตรที่พูดถึงระบบที่อนุญาตให้ผู้แก้ไขที่เป็นคนจริง ๆ สามารถแก้ไขบางอย่างที่อาจส่งผลกับการจัดอันดับได้
49. หน้าหมวดหมู่ เป็นสิ่งที่รวบรวมหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้อันดับหน้าที่อยู่ในหน้าหมวดหมู่ดีขึ้นในคำนั้น
50. ป้ายกำกับ เช่น wordpress tag การเชื่อมโยงบทความที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน ซึ่ง wordpress tag ตอบสนองสิ่งนี้เป็นอย่างดี
51. การมี keyword ใน url
52. หมวดหมู่ใน URL ซึ่งอ่านได้โดย google อาจจะช่วยให้ google จัดอันดับและแสดงได้ดีขึ้นว่าหน้าเว็บเราเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
53. การอ้างอิงและแหล่งที่มา หน้าเว็บที่มีการอ้างอิง และแหล่งที่มา อาจบอกถึงคุณภาพของหน้าเว็บนั้น ซึ่ง google เองก็ยังบอกว่าผู้อ่านนั้นควรจะดูว่าบทความมีแหล่งที่มาหรือไม่
54. การใช้ bullets และตัวเลข จะช่วยแบ่งบทความของคุณให้ผู้อ่าน อ่านง่ายขึ้น ทำให้บทความเป็นมิตรกับผู้อ่านมากขึ้น google ชอบบทความที่มี bullets และตัวเลข
55. ลำดับหน้าในไฟล์ sitemap สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการจัดอันดับเช่นเดียวกัน
56. การมีลิงก์ออกมากเกินไป ส่งผลเสียต่อการจัดการอันดับของเว็บ
57. จำนวนคำอื่น ๆ ในหน้านั้นในการจัดอันดับ ถ้ามีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่หน้านั้นเน้น ก็ส่งผลให้ google มองว่าเป็นหน้าคุณภาพ
58. อายุของหน้านั้น แม้ว่า google จะชอบเนื้อหาที่สดใหม่ หน้าเก่า ๆ ที่อัปเดตบ่อย ๆ ก็ให้ผลดีกว่าหน้าเว็บใหม่ ๆ
59. หน้าตาเว็บที่เป็นมิตรกับผู้อ่านทำให้ google มองว่าเป็นเว็บคุณภาพ
60. parked domain google ให้ความสำคัญกับ parked domain น้อยลงตั้งแต่การอัปเดตเมื่อ Dec 2011
61. บทความที่มีประโยชน์
62. บทความที่มีสาระและไม่ซ้ำใคร google นั้นลงโทษเว็บที่มีบทความซ้ำ ๆ หรือบทความน้อยแต่มี link ออกมากเกินไป
63. หน้าติดต่อเรา เป็นสิ่งหนึ่งที่เว็บควรมี เพราะ google ชอบเว็บที่มีข้อมูลให้ติดต่อได้ และถ้าข้อมูลตรงกับ whois ก็อาจช่วยมากขึ้น
64. trustrank หรือ domain trust จำนวน link ที่เว็บคุณได้จากเว็บอื่น โดยเฉพาะเว็บที่มี trustrank สูงหรือเว็บที่ google เรียกว่า seed sites
65. โครงสร้างเว็บไซต์ ช่วย google จัดการกับบทความในเว็บคุณได้เป็นอย่างดี
66. การอัปเดตเว็บบ่อย ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นเนื้อหาที่ไม่ซ้ำใคร
67. จำนวนหน้าเว็บ เว็บที่มีจำนวนหน้าเยอะ ทำให้ google มองว่าเป็นเว็บคุณภาพ
68. การมีไฟล์ sitemap ไฟล์นี้ช่วยให้ search engines รู้จักเว็บไซต์คุณดีขึ้น
69. site uptime การที่เว็บ down นั้นส่งผลเสียต่อการจัดอันดับเว็บคุณ
70 ที่อยู่ของเซิฟเวอร์ : ที่อยู่ของเซิฟเวอร์อาจจะมีผลทำให้เว็บของคุณมีอันดับต่างกันไปในแต่ละประเทศได้ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการค้นหาแบบเจาะจงพื้นที่
71 SSL Certificate (สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซ) กูเกิ้ลยืนยันว่าพวกเขาทำการเก็บข้อมูล SSL certificate ด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลนึงว่า google อาจจะจัดอันดับเว็บอีคอมเมิร์ซที่มี SSL certificates สูงกว่าเว็บอื่น ๆ
72 เงื่อนไขการให้บริการและหน้าส่วนตัว สองหน้านี้จะช่วยบอก google ว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือในโลกออนไลน์
73 เนื้อหาที่ซ้ำกันบนเว็บ: หน้าที่ซ้ำซ้อนและ meta information ที่เหมือนกันทุกหน้าในเว็บอาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณอันดับต่ำลง
74 เมนูแบบ Breadcrumb เป็นเมนูที่ช่วยให้ผู้เยี่ยมชม รวมไปถึง search engines รู้ว่าตอนนี้หน้าที่พวกเขาอยู่นั้นอยู่ตรงส่วนไหนของเว็บ ซึ่งบางเว็บไซต์อ้างว่ามันช่วยในเรื่องการจัดอันดับด้วย
75 การออกแบบให้รองรับอุปกรณ์มือถือ การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์มือถือต่าง ๆ (responsive website) จะช่วยให้ติดอันดับที่ดีในการค้นหาโดยใช้อุปกรณ์มือถือ
76 Youtube แน่นอนว่าวีดีโอเว็บ youtube สามารถทำอันดับใน google ได้ดี เหตุผลง่าย ๆ ก็แค่เจ้าของเดียวกัน
77 เว็บไซต์ที่ยากต่อการใช้งาน หรือดูหน้าเว็บ จะทำให้อันดับแย่ลงเนื่องจากผู้เยี่ยมชมใช้เวลาบนเว็บไซต์น้อยกว่าเว็บทั่วไป รวมดูจำนวนหน้าที่ดูน้อยกว่า การกลับเข้ามาดูอีกครั้งที่ต่ำ
78 การใช้ google analytics และ google webmaster tools หลายคนมีความเชื่อว่าถ้ามีการติดตั้งสองโปรแกรมนี้บนเว็บจะช่วยเรื่องการเก็บข้อมูล และส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเนื่องจากได้ให้ข้อมูลของเว็บคุณตามที่ google ต้องการ
79 คำวิจารณ์จากผู้เยี่ยมชม/ชื่อเสียงของเว็บไซต์ คำวิจารณ์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ จะส่งผลต่อการจัดอันดับ ซึ่งเราได้เห็นความพยายามจะใช้สิ่งนี้เข้ามาร่วมจัดอันดับหลายครั้ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถให้คะแนนเว็บเพื่อลดปัญหาการสร้าง link ที่เน้นเรื่อง seo มากกว่าเป็น link ตามธรรมชาติ
80 ลิงก์จากเว็บที่มีอายุเก่าแก่ให้ผลดีมากกว่าลิงก์จากเว็บใหม่ ๆ
81 จำนวนลิงก์ที่ลิงก์ไปที่หน้าหลักของเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของ google
82 จำนวนของลิงก์ที่ได้จากเว็บที่มี IP class C แตกต่างกัน ยิ่งหลากหลายเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเว็บคุณ
83 จำนวนลิงก์จากหน้าต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นหลาย ๆ หน้าในเว็บเดียวกัน แต่จำนวนที่ลิงก์มาก็ส่งผลต่อการจัดอันดับ
84 Alt Tag สำหรับ ลิงก์รูปภาพ อย่าลืมใส่ให้กับรูปภาพในเว็บคุณ 
85 ลิงก์จากเว็บ .edu หรือ .gov แม้ว่า Matt Cutts เองจะบอกว่า ลิงก์จากเว็บพวกนี้ไม่ได้สำคัญกว่าลิงก์จากเว็บทั่ว ๆ ไป แต่หลายคนไม่เชื่อ และมั่นใจว่าการได้ลิงก์จากเว็บ .edu และ .gov ส่งผลดีกว่าลิงก์จากเว็บทั่วไปแน่ ๆ
86 pagerank ของหน้าที่ทำลิงก์มาหาเว็บคุณ ยิ่งสูงยิ่งดี
87 ค่า authority ของเว็บที่ทำลิงก์มาหาเว็บคุณ เช่นการได้ลิงก์จากหน้าเว็บ pr2 เหมือนกัน แต่หน้าหลักเว็บแรก pr3 ในขณะที่เว็บที่สองหน้าหลัก pr8 การได้ลิงก์จากเว็บที่สองย่อมได้ผลดีกว่า
88 ลิงก์จากเว็บคู่แข่ง ลิงก์จากหน้าเว็บที่อยู่ในหน้าผลการจัดอันดับในคำเดียวกัน ย่อมส่งผลดีกับเว็บคุณในคำนั้น ๆ
89 การแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ยิ่งจำนวนมากยิ่งส่งผลกับหน้านั้น ๆ
90 link จากเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ เว็บต้องห้ามต่าง ๆ จะส่งผลเสียกับเว็บไซต์คุณ
91 การเขียนจากบุคคลภายนอก ลิงก์ที่ได้นั้นส่วนใหญ่จะได้ในส่วนของผู้เขียนข้อความนั้น ซึ่งถือว่ามีค่าน้อยกว่าลิงก์ในบทความ
92 ลิงก์ไปที่หน้าแรกของเว็บของหน้าใน การมีลิงก์ไปที่หน้าหลักบนหน้ารอง ๆ ของเว็บจะช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ
93 Nofollow links หนึ่งในหัวข้อที่ถูกพูดถึงบ่อยหัวข้อหนึ่งเมื่อพูดถึง SEO ซึ่ง google เองก็ได้บอกอย่างง่าย ๆ ว่า โดยทั่วไปแล้ว เราไม่ให้ความสนใจกับ nofollow link ซึ่งคำว่า “โดยทั่วไป” คือในกรณีปกติ ซึ่งหมายถึงมีกรณีที่นอกเหนือจากปกติและ google สนใจ ดังนั้นการได้ nofollow link ก็ดีกว่าไม่ได้เลย
94 ความหลากหลายของลิงก์ การมีลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติจำนวนมากนั้น สามารถดูได้ง่าย ๆ เช่น ลิงก์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งคล้าย ๆ กัน เช่น ลิงก์จากประวัติส่วนตัวในฟอรั่มหรือเว็บบอร์ด ลิงก์จากการเขียนความเห็นในบล็อก ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการแสปม แต่ในอีกนัยนึงการได้ลิงก์ที่หลากหลายก็เป็นสัญญาณว่าเป็นลิงก์ที่เป็นคุณภาพ
95 ลิงก์ผู้สนับสนุนหรือลิงก์จากคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน จะลดค่าของลิงก์นั้น
96 ลิงก์ในเนื้อหาบทความ ส่งผลดีมากกว่า ลิงก์ที่อยู่บนหน้าว่าง ๆ หรือลิงก์ที่เจอในส่วนอื่นของหน้า
97 การมี redirect 301 มาที่หน้าที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียกับเว็บคุณ
98 anchor text link เป็นสิ่งที่ช่วยให้ google รู้ว่า จะจัดการอันดับให้เว็บด้วยคำว่าอะไร แต่หลัง ๆ ความสำคัญลดลงมากเนื่องจากมีการ spam anchor text link
99 การทำ anchor text link ให้กับลิงก์ภายในไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวกับคำนั้น ช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ แม้ว่าอาจไม่เหมือนการได้ลิงก์จากเว็บภายนอก
100 หัวข้อลิงก์ ข้อความที่ปรากฎขึ้นเมื่อคุณลากเม้าส์ไปเหนือลิงก์นั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับ


ID=2896,MSG=4024
Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

101 การได้ลิงก์พวกโดเมน ดอทต่าง ๆ ที่เป็นชื่อประเทศ เช่น .th , .co.uk, .de จะช่วยให้เว็บของคุณทำอันดับได้ดีในประเทศนั้น ๆ
102 ลิงก์ที่อยู่ในบทความ: ลิงก์ที่อยู่ในส่วนของบทความจะมีน้ำหนักมากกว่า ลิงก์ที่อยู่ตอนท้ายของบทความ
103 ที่อยู่ของลิงก์ในหน้า นั้นเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วลิงก์ในบทความของหน้านั้นจะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่ด้านข้างหรือด้านล่างของเว็บ
104 การได้ลิงก์จากเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน ยิ่งเป็นเว็บที่เฉพาะเจาะจง ยิ่งได้พลังจากเว็บเหล่านั้นมากกว่าได้ลิงกืจากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
105 ระดับความเกี่ยวข้องของหน้า hilltop algorithm บอกว่าลิงก์จากหน้าที่ใกล้เคียงกับบทความหน้าจะมีพลังมากกว่าได้ลิงก์จากหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
106 ข้อความรอบ ๆ ลิงก์ google อาจใช้ข้อความรอบ ๆ ลิงก์นั้นเพื่อตัดสินว่าลิงก์นั้นเป็นอย่างไร เพราะข้อความการเป็นคำแนะนำเว็บคุณ หรือเป็นการวิจารณ์เว็บคุณในแง่ร้าย ลิงก์ที่มีข้อความรอบ ๆ เป็นข้อความที่ดีย่อมส่งผลดีมากกว่า
107 คีย์เวิร์ดในหัวข้อ google ชอบลิงก์ที่ anchor text เป็นคำเดียวกับคีย์เวิร์ดในหัวข้อเป็นพิเศษ
108 Link velocity การที่เว็บเราได้ backlink เพิ่มหรือลด เช่นเว็บคุณได้ backlink อยู่ 1,000 ลิงก์ เมื่อเวลาผ่านไปเว็บคุณได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 1,500 ลิงก์ ย่อมหมายถึงเว็บคุณได้รับความนิยม การมี positive link velocity ย่อมเป็นผลดีกับเว็บของคุณ
109 negative link velocity ตรงกันข้ามกับ positive link velocity การที่เว็บของคุณมีจำนวน backlink น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป หมายถึงการเสื่อมความนิยมของเว็บของคุณ
110 ลิงก์จากหน้าเว็บท่า การได้ลิงก์จากหน้าเว็บที่ google มองว่าเป็นเว็บข้อมูลชั้นดี หรือหน้าเว็บท่า ในหัวข้อเฉพาะจะได้รับการจัดอันดับที่ดีเป็นพิเศษ
111. ลิงก์จากเว็บ Authority : ลิงก์จาก “เว็บ authority” จะช่วยเพิ่มพลังให้เว็บคุณมากกว่าเว็บเล็ก ๆ ทั่วไป
112. การได้ลิงก์จากแหล่งอ้างอิงใน Wikipedia : แม้ว่าลิงก์เหล่านั้นจะเป็น nofollow แต่หลายคนก็คิดว่าการได้ลิงก์จาก Wikipedia จะช่วยเพิ่ม trust และ authority ให้กับเว็บคุณในการจัดอันดับของ search engines.
113. คำที่ปรากฎรอบ ๆ: คำที่ปรากฎรอบ ๆ backlinks ของคุณจะช่วยให้ Google รู้ว่าหน้าเว็บคุณเกี่ยวกับอะไร
114. อายุ Backlink : สอดคล้องกับสิทธิบัตรของ Google ลิงก์ที่เก่าแก่กว่าจะให้พลังมากกว่าลิงก์ใหม่ ๆ
115. ลิงก์จากเว็บจริง ๆ เทียบกับ Splogs : เนื่องจากการมีบล็อกเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้นจำนวนมาก Google จึงให้น้ำหนักมากกว่าจากลิงก์ที่มาจากเว็บจริง ๆ จากบล็อกปลอม ๆ
116. ลิงก์จากประวัติส่วนตัวที่เป็นธรรมชาติ: เว็บที่มีลิงก์ประวัติส่วนตัวเป็น “ธรรมชาติ” จะได้อันดับที่ดีและมั่นคงกว่าในการอัปเดต
117. การแลกเปลี่ยนลิงก์: Google ห้ามทำการแลกเปลี่ยนลิงก์มากเกินไป ซึ่งจะผลเสียต่ออันดับของเว็บไซต์คุณ
118. ลิงก์เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้าง: Google สามารถแยกได้ว่าลิงก์มาจากผู้ใช้หรือเจ้าของสร้าง ตัวอย่างเช่น google รู้ว่าลิงก์ที่มาจากบล็อกทางการของ WordPress.com ที่ en.blog.wordpress.com นั้นจะแตกต่างจากลิงก์จากบล็อกชื่ออื่น ๆ ของ wordpress.com (ตัวอย่างเช่น ******.wordpress.com)
119. ลิงก์จากหน้า 301: ลิงก์จากหน้า 301 redirects อาจจะเสียพลังไปบ้างเมื่อเทียบกับลิงก์ตรง ๆ อย่างไรก็ดี Matt Cutts บอกว่าลิงก์ 301 นั้นให้ผลคล้ายกับลิงก์ตรง ๆ
120. Schema.org Microformats: หน้าที่รองรับรูปแบบ microformats อาจได้อันดับดีกว่าหน้าที่ไม่รองรับมัน
schema.org microformats
121. การติด DMOZ: หลายคนเชื่อว่า Google ให้เครดิตกับเว็บที่ติดใน DMOZ ว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพ
122. การติดในไดเรกทอรีของ Yahoo!: google น่าจะมี algorithm ที่ให้ความสำคัญกับ Yahoo! Directory ดูจากการเป็นเว็บไดเรกทอรีมาอย่างยาวนาน ไม่แปลกที่เว็บที่ติดในนี้จะได้อันดับที่ดี
123. จำนวนของลิงก์ออกในหน้า: PageRank นั้นมีข้อจำกัด ดังนั้นลิงก์บนหน้าที่มีลิงก์ออกเป็นร้อย ๆ ลิงก์ย่อมส่งพลังของ pagerank ต่อไปได้น้อยกว่าหน้าเว็บที่มีลิงก์ออกน้อยกว่า
124. ลิงก์ประวัติส่วนตัวฟอรั่ม: เพราะว่ามีการเพิ่มจำนวนสแปมค่อนข้างมาก Google จึงอาจจะลดความสำคัญของลิงก์จากหน้าประวัติส่วนตัวในฟอรั่มลง
125. จำนวนคำของลิงก์เนื้อหา: ลิงก์จากบทความหนึ่งพันคำย่อมให้ผลดีกว่าลิงก์จากหน้าบทความที่มีเพียง ไม่กี่สิบคำ
126. คุณภาพของลิงก์เนื้อหา: ลิงก์จากหน้าบทความแย่ ๆ อย่างบทความที่อ่านไม่รู้เรื่อง จะไม่ส่งพลังให้มากเหมือนกับหน้าบทความที่มีการเขียนเรียบเรียงอย่างดี
127. ลิงก์ด้านข้างเว็บไซต์: Matt Cutts ยืนยันแล้วว่าลิงก์ด้านข้างเว็บไซต์ที่อยู่ทุกหน้าของเว็บนั้นจะถูก ”นับรวม” เป็นเพียงแค่ลิงก์เดียว
128. อัตราการคลิกสำหรับ Keyword ในหน้าการค้นหา: หน้าที่ได้คลิกมากกว่าจะได้อันดับที่ดีขึ้นใน keyword นั้น
129. อัตราการคลิกสำหรับทุก Keywords: หน้าหรือเว็บไซต์ที่มีอัตราการกดคลิกสูงสำหรับทุก keywords จะถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ว่ามีคนสนใจมาก ก็น่าจะเป็นหน้าเว็บที่น่าสนใจ
130. ระยะเวลาการอยู่ในหน้าเว็บ: หลายคนเชื่อ ในขณะที่อีกหลายคนไม่เชื่อว่าระยะเวลาที่ผู้เยี่ยมชมอยู่ในหน้าเว็บจะส่งผลกับ SEO แต่มันอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ google ใช้ในการจัดอันดับโดยใช้ผู้ใช้ของตัวเอง เป็นตัววัดคุณภาพของหน้าเว็บนั้น ๆ เพราะถ้าหน้าเว็บไม่ดี คนจะรีบกดออกอย่างรวดเร็ว
131. ทราฟฟิกแบบตรง: มีการยืนยันแล้วว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome เพื่อกำหนดว่ามีหรือไม่มีผู้คนเยี่ยมชมเว็บไซต์ (และเยี่ยมชมบ่อยแค่ไหน) เว็บไซต์ที่มีการเปิดเข้าเว็บโดยตรงจะถูกมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดีกว่าเว็บที่ถูกเปิดด้วยวิธีแบบอื่น
132. ทราฟฟิกซ้ำ: google มองว่าผู้เยี่ยมชมเว็บนั้น ได้กลับมาชมเว็บอีกหรือไม่ เว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเดิม ๆ เข้ามาซ้ำจะมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดี และได้รับการจัดอันดับที่ดี
133. เว็บที่ถูกปิดกั้น: Google ไม่ใช่สิ่งนี้แล้วใน Chrome อย่างไรก็ตาม Panda algorithm ใช้คำสั่งนี้ในการตัดสินว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพหรือไม่
134. Chrome Bookmarks: bookmark ใน Chrome อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ google ใช้มาช่วยวัดคุณภาพของเว็บ
135. ข้อมูล Google Toolbar: มีรายงานว่า Google ใช้ข้อมูลทูลบาร์เป็นตัววัดคุณภาพเว็บด้วย อย่างไรก็ตาม จากที่เราเคยรู้มาว่า google เก็บเวลาในการโหลดหน้าเว็บและเว็บนั้นติด แต่ตอนนี้ก็ได้รู้เพิ่มว่า google เก็บข้อมูลของเว็บเพิ่มจาก toolbar ของตัวเอง
136. จำนวนความคิดเห็น: หน้าที่มีความเห็นจำนวนมาอาจจะบ่งบอกถึงการตอบสนองของผู้ใช้และคุณภาพของเว็บ
137. Dwell Time: Google ให้ความสนใจอย่างมากกับ “dwell time”: ผู้คนใช้เวลานานเท่าไหร่บนเว็บไซต์คุณเมื่อมาจากหน้าค้นหาของ google บางครั้งสิ่งนี้ก็ถูกเอาไปอ้างอิงถึงเปรียบเทียบ “long clicks” กับ “short clicks”. ถ้าผู้คนใช้เวลาอยู่บนเว็บของคุณนาน ก็หมายถึงเว็บคุณเป็นเว็บคุณภาพ
138. Query Deserves Freshness: Google ให้อันดับที่ดีสำหรับหน้าใหม่ ๆ เนื้อหาใหม่ ๆ ในผลการค้นหา สอดคล้องกับ caffeine algorithm แต่หลัง ๆ ก็โดนลดความสำคัญลง
139. Query Deserves Diversity: Google อาจจะเพิ่มความหลากหลายเข้าไปในผลลัพท์การค้นหาสำหรับคีย์เวิร์ดทั่ว ๆ ไปอย่างเช่นคำว่า “Ted”, “WWF” หรือ “ruby”
140. ประวัติการใช้เบราว์เซอร์ของผู้ใช้: เว็บไซต์ที่คุมเยี่ยมชมบ่อย ๆ ในขณะที่คุณเข้าสู่ระบบของ google จะได้รับการจัดอันดับที่ดีสำหรับการค้นหาของคุณ
141. ประวัติการค้นหาของผู้ใช้: ผลลัพท์การค้นหาก่อนหน้าจะส่งผลต่อการค้นหาล่าสุด ตัวอย่างเช่นถ้าคุณค้นหา “รีวิว” แล้วค้นหาคำว่า “มือถือ” google จะจัดอันดับเว็บที่มีคำว่า “รีวิว มือถือ” สูงขึ้นในผลการค้นหา
142. Geo Targeting: Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีไอพีเซิร์ฟเวอร์ในถิ่นที่อยู่แถบนั้นและดอทต่าง ๆ ที่มีประเทศลงท้าย
143. การค้นหาแบบปลอดภัย: การค้นหาแบบปลอดภัยจะปิดกั้นไม่ให้คำหยาบและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชนมาแสดง
144. Google+ Circles: Google แสดงอันดับที่สูงสำหรับผู้เขียนและเว็บไซต์ที่เราได้เพิ่มลงในแวดวง Google Plus ของเรา
145. การร้องเรียน DMCA: Google จะลดอันดับของหน้าเว็บที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับ DMCA
146. ความหลากหลายของโดเมน: ดูเหมือนว่าจะมี algorithm ที่ชื่อว่า Bigfoot Update ที่จะทำการเพิ่มหน้าโดเมนต่าง ๆ เน้นที่ความหลากหลายในหน้าการค้นหามากขึ้นทำให้ หน้ารอง ๆ ของเว็บอันดับต้น ๆ ได้อันดับดีกว่า หน้าหลักของเว็บรอง ๆ
147. การค้นหาคีย์เวิร์ดสินค้า: บางครั้ง Google จะแสดงผลลัพท์สำหรับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับสินค้าหรือการขายของในรูแบบที่แตกต่างออกไป
148. การค้นหาท้องถิ่น: Google มักจะใส่ผลการค้นหาท้องถิ่นของ Google+ Local results ลงในหน้าผลลัพท์การค้นหาทั่ว ๆ ไป
149. Google News Box: การค้นหาบางคีย์เวิร์ด google อาจจะแสดงผลลัพท์ข่าวของ google ที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นในบางครั้ง
150. ความให้ความสำคัญกับยี่ห้อดัง ๆ: Algorithm ที่ชื่อว่า Vince ที่ถูกเพิ่มขึ้นมาในปี 2009 ไม่ได้ทำให้อันดับเปลี่ยนแปลงมาก แต่มันให้ความสำคัญกับยี่ห้อดัง ๆ โดยทำให้หน้าเว็บยี่ห้อดัง ๆ ติดอันดับในคำที่ niche มากขึ้น
151. ผลลัพท์สินค้า : บางครั้ง google แสดง ผลลัพท์สินค้า ( Google Shopping results) ในการค้นหา
152. ผลการค้นหาแบบรูปภาพ: บางครั้ง Google แทรกผลการค้นหาของเราด้วยผลลัพท์การค้นหารูป ที่ถูกดูมากที่สุดบนการค้นหาแบบรูปภาพ
153. การค้นหาแบบ Easter Egg: Google มีการค้นแบบ Easter Egg อยู่สิบกว่าอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณค้นหาคำว่า ”Atari Breakout” ในการค้นหาแบบรูป ภาพ ผลลัพท์การค้นหาจะกลายเป็นการเริ่มเล่นเกมส์นี้
การค้นหาแบบรูปภาพ หาคำว่า “Atari Breakout”
การค้นหาแบบเว็บ “Zerg rush”, “do a barrel roll”, “blink html”
154. ผลการค้นหาแสดงเว็บไซต์เดียวสำหรับยี่ห้อ : คีย์เวิร์ดที่เป็น ชื่อเว็บหรือยี่ห้อจะทำให้เกิดผลการค้นหาจากเว็บเดียวกันหลาย ๆ หน้า
155. จำนวนครั้งที่ทวีต: คล้ายกันกับลิงก์ การทวีตหน้าจะช่วยเพิ่มอันดับใน google
156. บัญชีของผู้ใช้ Twitter ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกันการทวีตจากหน้าผู้ใช้ที่สร้างมานานแล้ว หรือหน้าของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงอย่างดารา นักร้องดัง ๆ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากจะมีอิทธิพลสูงกว่าทวีตจากหน้าของผู้ใช้ใหม่
157. จำนวนการไลค์ในเฟซบุค : แม้ว่า Google จะไม่สามารถเห็นบัญชี Facebook แต่ละบัญชี แต่ google ก็คำนึงถึงจำนวนไลค์ใน facebook มาช่วยในการจัดอันดับด้วย แม้ว่าจะไม่มีผลมาก
158. การแบ่งปันใน Facebook: การแชร์โพสท์ใน Facebook — เพราะว่ามันคล้ายคลึงกับการสร้าง backlink ดังนั้นการแชร์ใน facebook นั้นได้ผลดีกว่าการมีไลค์ใน facebook
159. หน้าผู้ใช้ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกับ Twitter การแชร์ใน Facebook shares และการไลค์จากหน้าใน facebook ที่ได้รับความนิยมมาก ย่อมให้ผลดีกว่าหน้าทั่ว ๆ ไป
160. Pinterest Pins: Pinterest เป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีข้อมูลสาธารณะเป็นจำนวนมาก จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับ Pinterest Pins เป็นโซเชียลมีเดียที่สำคัญในการจัดอันดับ
161. การโหวตบนเรื่องที่แบ่งปันบนเว็บโซเชียล: ดูเหมือนว่า Google ใช้การแบ่งปันบนเว็บอย่าง Reddit, Stumbleupon และ Digg เป็นตัวชี้วัดหนึ่งเรื่องความนิยมทางสังคมออนไลน์
162. จำนวนของ Google+1′s: แม้ว่า Matt Cutts จะบอกว่า Google+ ไม่มีผลโดยตรงกับการจัดอันดับ มันก็ยากที่จะเชื่อถือ เพราะว่า google ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลอื่น แล้วทำไม google จะไม่ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลที่ตัวเองเป็นเจ้าของอย่าง Google Plus
163. บัญชีผู้ใช้ Google+ ที่มีชื่อ: ดูเหมือนว่าการกด +1 ใน google plus จากบัญชีผู้ใช้ที่มีชื่อจะส่งผลดีมากกว่าการกดของบัญชีที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า
164. การยืนยันความเป็นผู้เขียนบน google plus (Google+ Authorship): ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 อีริค ชมิดท์ ซีอีโอของ Google ได้อ้างว่า:
“ภายในผลลัพท์การค้นหา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนตัวที่ทำการยืนยันออนไลน์แล้วจะได้รับอันดับที่ดีกว่าบทความทั่ว ๆ ไปที่ยังไม่มีการยืนยันตัวตน การยืนยันผู้เขียนจึงเป็นการบอกถึงคุณภาพของเว็บ
165. การชี้วัดการเกี่ยวข้องทางสังคม: Google อาจจะใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากบัญชีผู้ใช้ที่ทำการแบ่งปันบทความและข้อความรอบ ๆ ลิงก์
166. การได้รับการวัดว่าเป็นเว็บที่ดีจากโซเชียลต่าง ๆ จะช่วยเพิ่ม authority ให้กับทั้งเว็บ ซึ่งจะช่วยอันดับในหน้าเว็บทั้งหมดของเว็บนั้น
167. anchor text ลิงก์ที่เป็นชื่อยี่ห้อ: นั้นสั้น ๆ เรียบง่าย แต่ให้ผลดีอย่างยิ่ง
168. การค้นหาชื่อเฉพาะ (ยี่ห้อ หรือชื่อเว็บไซต์) เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าเมื่อผู้คนค้นหายี่ห้อ หรือค้นหาชื่อเว็บคุณบน google (ตัวอย่างเช่น “WordThai” + “keyword”) Google จะให้ความสำคัญกับเว็บของยี่ห้อนั้นหรือเว็บที่เป็นเจ้าของชื่อเว็บนั้นเป็นพิเศษ
169. เว็บไซต์ที่มีหน้าเฟซบุ๊คและจำนวนไลค์ที่มาก จะได้รับการจัดอันดับที่ดี
170. เว็บไซต์ที่โปรไฟล์ Twitter Profile ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากแสดงว่าเป็นเว็บที่ได้รับความนิยม
171. หน้า Linkedin อย่างเป็นทางการของบริษัท บ่งบอกถึงความมีตัวตนจริง ๆ ของธุรกิจนั้น ๆ สร้างความน่าเชื่อถือให้เว็บ
172. รายชื่อลูกจ้างบนหน้าเว็บ Linkedin: หน้าประวัติส่วนตัวของผู้ใช้ที่ยืนยันทำงานอยู่บริษัทนั้น ช่วยทำให้หน้าเว็บบริษัทมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
173. การเคลื่อนไหวของบัญชีโซเชียลมีเดีย: มันคงดูเป็นเรื่องแปลกที่บัญชีในเว็บโซเชียลที่มีคนติดตามมากกว่าหนึ่งหมื่นคน แต่มีเพียงสองโพสท์ ดังนั้นเว็บที่มีผู้ติดตามมากและมีความสัมพันธ์กับผู้ติดตามมาก ๆ เช่นการโพสท์เรื่องจะช่วยเรื่องอันดับได้ดีกว่า
174. การเอ่ยถึงชื่อยี่ห้อบนเว็บไซต์ข่าว: เว็บยี่ห้อดัง ๆ มักจะถูกเอ่ยถึงในเว็บข่าวของ google อยู่เรื่อย ๆ ในความจริงแล้วยี่ห้อดัง ๆ บางยี่ห้อ มี feed ข่าว google ของตัวเองบนหน้าแรกด้วยซ้ำไป
175. Co-Citations: Brands get mentioned without getting linked to. Google likely looks at non-hyperlinked brand mentions as a brand signal.
176. จำนวนของสมาชิกรับข่าว RSS: การที่ Google เป็นเจ้าของบริการ RSS ที่มีชื่อเสียงอย่าง Feedburner จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับจำนวนสมาชิกรับข่าว RSS ว่าเว็บนั้นได้รับความนิยม
177 ธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google+ ท้องถิ่น: ธุรกิจที่แท้จริงต้องมีที่อยู่ออฟฟิตแน่นอน มันเป็นไปได้ที่ google จะให้น้ำหนักกับธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google plus ท้องถิ่น
178. เว็บไซต์เป็นWebsite is Tax Paying Business: รายงานของ SEOMoz ว่า Google อาจจะดูว่าเว็บนั้นเป็นธุรกิจที่มีการจ่ายภาษีหรือไม่ ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนที่ดี
179. การลงโทษของแพนด้า เว็บไซต์ที่มีบทความคุณภาพต่ำ (อย่างเช่นบทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ) จะถูกเมินหลังจากได้รับการลงโทษตาม algorithm Panda
180. การลิงก์ไปยังเว็บแย่ ๆ : การลิงก์ไปเว็บโป๊ การพนัน ผิดกฎหมายต่าง ๆ หรือเว็บขายยาหรือพวก payday load จะทำให้อันดับเว็บของคุณแย่ลง
181. การรีไดเรค: การรีไดเรคแบบโกง ๆ เพื่อหวังผลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้า google จับได้ ไม่ใช่แค่โดนลงโทษ แต่จะโดนแบนทันที
182. หน้าต่างป็อบอัพ หรือโฆษณาบังหน้าเว็บ : คู่มือแนะนำเว็บไซต์ของ google บอกว่าหน้าต่างป็อปอัพและโฆษณาที่ขึ้นมาบังหน้าเว็บบ่งบอกว่าเว็บนั้นมีคุณภาพต่ำ
183. เว็บที่ทำ SEO มากเกินไป: หน้าเว็บที่มีจำนวนคีย์เวิร์ดมากเกินไป การใส่คีย์เวิร์ดลงในส่วนหัวเยอะ ๆ หรือการใช้ คีย์เวิร์ดบ่อยครั้ง อาจะได้รับผลเสีย
184. หน้าที่ทำ SEO มากเกินไป: เพนกวินนั้นทำงานต่างกับแพนด้า โดยที่มันจะวิเคราะห์เป็นมาก ไม่เหมือนกับแพนด้าที่วิเคราะห์เป็นเว็บ
185. โฆษณามากเกินไป: Algorithm รูปแบบเว็บ จะลงโทษเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจำนวนมาก และมีเนื้อหาอยู่น้อย
186. การซ่อนลิงก์ Affiliate : การซ่อน affiliate links โดยเฉพาะการ cloaking จะทำให้ถูกลงโทษ
187. เว็บ Affiliate เป็นที่รู้กันดีว่า google ไม่ชอบเว็บ affiliates และหลาย ๆ คนก็เชื่อว่าเว็บที่มีลิงก์ affiliates จะถูกจัดอันดับต่ำกว่าความเป็นจริง
188. บทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ : Google เกลียดบทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ หรือใช้โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าพวกเขาสงสัยว่าเว็บของคุณผลิตบทความที่ไม่ได้เขียนเอง อาจจะถูกลงโทษหรือโดนแบน
189. การตั้งใจทำ PageRank มากเกินไป: ไม่ว่าจะเป็นการใช้ nofollow สำหรับลิงก์ออกทั้งหมด หรือลิงก์ภายในส่วนใหญ่ อาจเป็นสัญญาณว่าคุณพยายามที่จะโกงระบบที่ google คิดค้นขึ้น
190. ไอพีแอดเดรส ที่ถูกระบุว่าเป็นแสปม: ถ้าไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกระบุว่าเป็นสแปม มันจะส่งผลเสียกับเว็บทั้งหมดที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์นั้น
191. การสแปม Meta Tag: การฝังคีย์เวิร์ดในส่วนของ meta tags ถ้า Google คิดว่าคุณใส่ keyword มากเกินไปที่ meta tag google อาจจะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
192. การเพิ่มจำนวนอย่างมากของลิงก์บ่งบอกความไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่ง google จะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
193. บทลงโทษของเพนกวิน: เว็บไซต์ที่เพนกวินลงโทษจะแทบหาไม่เจอเลยในหน้าการค้นหา
194. ลิงก์จากหน้าประวัติส่วนตัวที่มี % ว่าเป็นลิงก์ด้อยคุณภาพ: ลิงก์ส่วนใหญ่ที่คนทำ SEO ใช้กันอย่างเช่นลิงก์จากความคิดเห็นหรือประวัติส่วนตัว เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณพยายามโกงระบบอยู่
195. การลิงก์ถึงเว็บที่เกี่ยวข้องกัน: การวิเคราะห์ที่ได้รับการเชื่อถือของเว็บไซต์ MicroSiteMasters.com บอกว่าเว็บที่มีลิงก์จำนวนมากจากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกันจะถูกเพนกวินลงโทษ
196. คำเตือนลิงก์ไม่เป็นธรรมชาติ: Google ส่งข้อความหลายพันคำเตือนใน Google Webmaster Tools ซึ่งถ้าไม่แก้ไขจะทำให้อันดับหล่นลง แม้ว่าจะไม่ยืนยัน 100%
197. ลิงก์จาก IP Class C เดียวกัน: การได้ลิงก์จากหลาย ๆ เว็บไซต์ที่อยู่บนไอพีเดียวกัน เป็นตัวบอกว่าคุณกำลังสร้างลิงก์จากเน็ตเวิร์คของตัวเอง
198. ลิงก์ anchor text “ที่เป็นพิษ”: การมีลิงก์ anchor text “ที่เป็นพิษ” (ตัวอย่างเช่นคีย์เวิร์ดกลุ่ม pharmacy) จะบอกว่าเว็บคุณเป็นเว็บสแปม ถูกสแปม หรือโดนแฮก ซึ่ง google จะทำการลดอันดับเว็บของคุณ
199. การลงโทษจากพนักงาน google เอง: การลงโทษส่วนใหญ่เกิดจาก algorithm ของ google แต่ถ้ามีการร้องเรียนและพนักงาน Google พบว่าทำความผิดจริง แม้ว่าจะไม่ขัดกับ algorithm ของ google พนักงาน google ก็จะทำการลงโทษเว็บนั้นโดยตรง
200. การขายลิงก์: การขายลิงก์นั้นจะลด pagerank ของคุณและการส่งผลเสียกับการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ
201. Google Sandbox: เว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่มีลิงก์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จะถูกเก็บไปไว้ใน Google Sandbox ซึ่งเว็บที่โดน google sandbox นั้น จะแทบไม่ปรากฎในหน้าการค้นหาของ google
202. Google Dance: การที่อันดับใน google ไม่นิ่งหรือที่เรียกกันว่า Google Dance จะส่งผลให้อันดับเว็บในหน้าการค้นหานั้นขยับเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดในเวลาอันสั้น เป็นกระบวนการที่ google กำลังตัดสินใจเว็บไหนที่กำลังจะโกงระบบของ google อยู่
203. Disavow Tool: การใช้ Disavow Tool บน google อาจจะช่วยลบการถูกลงโทษของเว็บที่ทำ SEO ที่แย่ ๆ ออกไปได้ แต่คุณต้องแก้ไขเว็บคุณให้ถูกต้องด้วย
204. การส่งคำขอให้พิจารณาใน google: การส่งคำขอที่ได้รับการตอบรับจะช่วยลบการลงโทษออกไป


ID=2896,MSG=4025
Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

SEO กับ 200+ ปัจจัยการค้นหาของ Google

SEO หรือ Search Engine Optimization คืออะไร ?
SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของร้านค้าติดอันดับต้นๆ ของผู้ให้บริการค้นหาอย่าง Google ด้วยวิธีการต่างๆ โดยอันดับที่ดีย่อมนำพามาซึ่งจำนวนผู้เข้าชมที่มากขึ้นนั่นเอง

โดยผลลัพธ์การค้นหา (SERP) จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. Paid หรือส่วนที่เป็น Ad มาจากการลงโฆษณากับ Google Adwords (เสียเงิน) และ 2. Organic หรือส่วนที่เป็นผลลัพธ์จริงๆ เกิดจากการทำ SEO เท่านั้น (ทำได้ด้วยตนเอง) ซึ่งในที่นี้เราจะทำให้ติดอันดับที่ที่ดีที่สุดในส่วนของ SEO

Google รู้ได้ยังไง ?
Google จะทำการส่งหุ่นยนต์ (Bot) มาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ร้านค้าของคุณ (Crawl & Indexing) ยิ่งคุณอัพเดทร้านบ่อยๆ Google ก็จะมาหาคุณมากขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อมูลในเว็บทั้งหมด ทุกตัวอักษร ทุกรูปภาพ ไปประมวลผลตามกระบวนการคิด algorithm ของ Google เอง จนได้ออกมาเป็นคะแนนอันดับของเว็บไซต์ของเรา ซึ่งปัจจัยการคิดคะแนนของ Google หลักๆนั้นมีมากกว่า 200 รายการ ดังนี้

==
อายุของโดเมน (จดนานแล้ว - ดี)
มี keyword (คำค้นหา) ในชื่อโดเมน
keyword เป็นคำแรกในโดเมน
วันหมดอายุของโดเมน (เหลือมาก - ดี)
มี keyword ในชื่อซับโดเมน เปลี่ยนซับโดเมน
ประวัติของโดเมน (หากเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองบ่อย - ไม่ดี)
keyword ตรงกับชื่อโดเมนทั้งหมด
เปิดเผยข้อมูลใน Whois
whois คือเว็บตรวจสอบข้อมูลชื่อผู้ถือครองโดเมน
ชื่อผู้ถือครองใน whois ไม่เป็นผู้ที่ทำผิดข้อบังคับ google
นามสกุล .co.th (ดีกว่า .com)
แต่ .th จะมีอันดับต่ำกว่า หากค้นหาแบบทั่วโลก (ปกติจะเป็น Google ประเทศไทย)
รู้หรือไม่ ? การตั้งชื่อโดเมนที่ดีควรจะ “สั้น จำง่าย และมีเอกลักษณ์”
ปัจจัยเกี่ยวกับแต่ละหน้าเพจ (Page-Level) Google จะให้คะแนนแยกกันแต่ละหน้าเพจ และแยกกันตาม keyword ทั้งหมดที่หน้านั้นมี ซึ่งจะเห็นได้ว่า Content นั้นสำคัญที่สุด
มี keyword ใน Title Tag
ระบบ LnwShop จะใส่ Title จากชื่อร้านให้อัตโนมัติหากไม่กำหนดตั้งค่า Title
รู้หรือไม่ ?Title ที่จะเพิ่ม Traffic ได้ดี อาจเพิ่มคำเหล่านี้ เช่น สุดยอด, รีวิว, วิธีการ, ในปี 2559, 10 <ใส่ตัวเลขนำหน้าประมาณ Top 10> เป็นต้น ระวังอย่าใช้คำที่เป็น Clickbait เช่น "คุณจะทึ่งถ้าเห็นสิ่งนี้" จะทำให้ลดอัตราการแชร์อย่างมาก และถึงแม้คนจะเข้าเยอะแต่เกิด Bounce Rate สูง (อัตราการเด้งออก ไม่คลิกหน้าอื่นต่อ) ซึ่ง Google ไม่ชอบ
keyword เป็นคำแรกใน Title Tagตั้งค่า Title
มี keyword ใน Description Tag
ระบบ LnwShop จะใส่ Description จากชื่อร้านให้อัตโนมัติหากไม่กำหนดตั้งค่า Description
รู้หรือไม่ ? Google มักจะไม่แสดง Description ตามที่เรากำหนดใน Meta Tag แต่มักจะนำส่วนข้อความส่วนบนในหน้ามาแสดงมากกว่า
มี keyword ใน H1 Tag
ระบบ LnwShop จะใส่ H1 ให้อัตโนมัติ ซึ่ง Title ที่ดีไม่ควรเกิน 50 ตัวอักษร
รู้หรือไม่ ?หน้าสินค้าต่างๆ ระบบ LnwShop จะนำชื่อสินค้ามาใส่ใน Title Tag และ H1 Tag และนำรายละเอียดสินค้ามาใส่ใน Description Tag ซึ่งแปลว่าคุณต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับชื่อสินค้า
มีการใช้คำ keyword นั้นซ้ำมากกว่าคำอื่นๆในหน้านั้น (เทียบคำต่อคำ)
ทาง SEO เรียกว่า keyword frequency หมายถึงมีคำ keyword ปรากฏในหน้านั้นๆ มากกว่าคำอื่น เช่น มีคำว่า "ชุดเกาหลี" 10 ครั้ง เทียบกับคำอื่นที่มีแค่ 2-3 ครั้งในหน้านั้น ปล.ระวังอย่าให้คำ keyword (คำที่ตรงเป๊ะ) ในเนื้อหาเกิน 4-5 ครั้ง พยายามใช้คำอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องด้วย
มีเนื้อหาข้อความมากพอสมควร (1,000+ คำ)
รู้หรือไม่ ? การเขียนเนื้อหาสำหรับ e-commerce ที่ดีควรเขียนให้เหมือนกับการเขียน blog ซึ่งเน้นที่เนื้อหา ใข้คำที่เกี่ยวข้อง (LSI) และเขียนให้มากเกิน 1,000 คำ


มีความหนาแน่นของ keyword ในหน้า (เทียบคำต่อทั้งหมด)
ทาง SEO เรียกว่า keyword density หมายถึงมีคำ keyword ปรากฏในหน้านั้นๆ เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ต่อคำทั้งหมด เช่น มีคำว่า "ชุดเกาหลี" 10 คำจากทั้งหมด 200 คำ
มีคำแทน, คำที่เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้องในหน้าด้วย
เพื่อแยกความแตกต่างของคำๆ หนึ่งได้อย่างชัดเจน เช่น 'นั่งตากลม' อาจเป็นการนั่งเพื่อกินลม หรือ นั่งแล้วทำตากลมเป็นดวง ซึ่งหากมีคำเกี่ยวเนื่อง Google จะเข้าใจเนื้อหาของเราได้ง่ายขึ้น
รู้หรือไม่ ?คุณสามารถหาคำแทนกันหรือคำที่เกี่ยวข้อง ทาง SEO เรียกว่า Latent Semantic Indexing (LSI) ได้จากการค้นหา Google ที่ด้านล่างของการค้นหา (SERP) จะมีส่วนแสดงผล "คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ keyword"
มีคำที่เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้องใน Title และ Description Tagตั้งค่า
โหลดเว็บได้อย่างรวดเร็ว
(ไม่ควรใส่รูปภาพหรือสินค้าในแต่ละหน้ามากเกินไป)
ไม่ควรมีเนื้อหา/บทความที่ซ้ำกัน
ใช้ Rel=Canonical เพื่อบ่งบอกหน้าที่ซ้ำกัน
ระบบ LnwShop จะทำงานให้โดยอัตโนมัติ
โหลดเว็บด้วย Chrome ได้อย่างรวดเร็ว
ใส่ข้อมูลให้รูปภาพทั้ง ชื่อไฟล์, Alt Text, Title Description และ Captionใส่ข้อมูลให้ภาพ
ใส่ Alt ให้เหมือนกับการใส่คำอธิบายภาพนั้นๆ เป็นวลีหรือประโยค หลีกเลี่ยงการใส่แต่ keyword
ความสดใหม่ของเนื้อหา/บทความ (ยิ่งใหม่ - ยิ่งดี)
รู้หรือไม่ ? หน้า Homepage เป็นหน้าที่มี authority กับ Google อย่างมาก แต่เชื่อหรือไม่ว่า Google มักไม่แสดงหน้าแรกให้ผู้ค้นหา (เพราะหน้าแรกมักจะไม่มีเนื้อหาเฉพาะที่ตรงกับความต้องการผู้ค้นหา) ดังนั้นคุณควรปรับหน้าแรกเพื่อการทำ Brand และเชื่อเชิญลูกค้าไปยังหน้าสินค้าให้ได้รวดเร็วที่สุด
มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา/บทความ
การเพิ่มหรือลบทั้งย่อหน้าจะมีผลมากกว่าเปลี่ยนแค่บางคำ
ความถี่ในการแก้ไขเนื้อหา/บทความ (ยิ่งถี่ - ยิ่งดี)
มี keyword อยู่ใน 100 คำแรกของหน้า
มี keyword ใน H2, H3 Tag
การเรียงคำ ตรงกับ keyword
คำว่า "วิธีเปิดร้านค้าออนไลน์อย่างไร" และ "เปิดร้านค้าออนไลน์มีวิธีอย่างไร" นั้นต่างกัน ดังนั้นคุณควรรู้ว่าลูกค้าค้นหาด้วยคำอะไรKeyword Planner
รู้หรือไม่ ?การค้นหา keyword ผ่าน Google เช่น พิมพ์ keyword ใน Google แล้วดูจากที่คำแนะนำ (พิมพ์แล้วยังไม่ enter) อาจได้ผลลัพธ์ดีกว่าการค้นหาคำผ่าน Keyword Planner เพราะจะได้ประโยคที่ผู้ใช้ค้นหาจริงๆ มากกว่าที่จะเป็นการหาเป็น คำๆ (ผู้ค้นหาภาษาไทยไม่ได้ค้นหาด้วยคำๆเว้นวรรค แต่ค้นหาแบบเป็นประโยค) หรือคุณจะหา keyword ได้จากแหล่งอื่นๆที่น่าสนใจดังนี้
1. หา keywords จากการแนะนำจากเว็บ Amazon และ Ebay (พิมพ์ในช่องค้นหา และรอคำที่เว็บแนะนำ)
2. หา keywords จากสารบัญในหนังสือบน Amazon
3. หา keywords จาก wikipedia
4. ดูแนวโน้มการใช้คำ keywords ที่ Google Trend
มี Link ออกไปยังเว็บที่มีคุณภาพ
เนื้อหาของของเว็บที่ Link วิ่งออกไป
เช่น เว็บคุณเกี่ยวกับเสื้อผ้า แต่มีลิงก์ออกไปยังเว็บตุ๊กตา Google จะมองว่าเว็บคุณมีแนวโน้มเป็น เสื้อผ้าของตุ๊กตา
การสะกดคำที่ถูกต้องและถูกไวยกรณ์
เป็นเนื้อหา/บทความที่เขียนขึ้นเองใหม่ (ไม่ได้คัดลอกมา)
หากคุณมีการคัดลอกมา ควรใส่เนื้อหาเพิ่มหัว-ท้าย และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาด้วย
มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ
รู้หรือไม่ ? มีวิธีง่ายๆที่ทำให้เนื้อหา/บทความของหน้าเพจมีคุณภาพ 1. มีคำมากกว่า 1,000 คำ 2. มีรูปภาพ, infographic, วิดีโอประกอบ 3. ทำเป็นหัวข้อและลิสต์รายการ
จำนวน Link ออก (มาก - ไม่ดี)
การใส่ nofollow='nofollow' ก็สามารถบอก Google ไม่ให้กับลิงก์นี้ได้
มีรูปภาพ วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ
คุณสามารถใส่วิดีโอในหน้าร้านค้าได้ดังนี้ ดูวิธีการใส่วิดีโอจาก youtube
รู้หรือไม่ ? เว็บที่ติดอันดับ 1-10 ของ Google จะมีรูปภาพในเว็บ (ที่เกี่ยวกับเนื้อหา) อย่างน้อย 1 รูปเสมอ และยิ่งมีรูปและวิดีโอมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ผู้เข้าชมอยู่กับเว็บนานขึ้น
มี Link ภายในเว็บที่วิ่งเข้ามาหาหน้านั้น
ยิ่งมีมากยิ่งหมายถึงหน้านั้นมีความสำคัญ เช่น หน้าแรกจะมีผู้ลิงก์เข้ามากที่สุด
คุณภาพของเนื้อหาของหน้าที่มีลิงก์ภายในวิ่งเข้ามา
รู้หรือไม่ ? การใส่ Internal Link หรือลิงก์ภายในเว็บไซต์ เป็นการทำ SEO ที่ง่ายและได้ผลดีมาก เช่น การมี Link จากหน้าที่ติดอันับได้ดีไปยังหน้าที่เราต้องการดันอันดับ
ไม่ควรมีลิงก์เสีย (ลิงก์ไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่จริง)
ระบบ LnwShop มีหน้า 404 Page สำหรับลิงก์เสียให้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีลิงก์เสียที่เกิดจากเว็บร้านค้าของคุณอย่างแน่นอน
มีความง่ายในการอ่าน
ใส่หัวข้อ, ทำเป็นย่อหน้า (ย่อหน้าละไม่เกิน 2-4 ประโยค), ใช้ขนาดอักษรไม่ต่ำกว่า 14px, เว้นบรรทัด และเว้นช่องว่างระหว่างแต่ละย่อหน้าให้มากเข้าไว้
ไม่ควรมี Link ที่เป็น Affiliate มากเกินไป
ลิงก์ affiliate หมายถึงลิงก์ที่มีการนำพาไปอีกเว็บหนึ่งแล้ว เจ้าของเว็บที่ใส่ลิงก์นั้นจะได้ผลประโยชน์กลับจากเว็บที่วิ่งไปหา (ค่านายหน้า)
ไม่ควรมี HTML error
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของคุณได้จาก Google Search Console
มีโดเมนที่น่าเชื่อถือ (Domain Authority - DA)เช็คค่า DA
มีค่า Page Rank (PR) สูง
PR สูงเกิดจากมีลิงก์เข้ามาเป็นจำนวนมาก, แต่ละหน้ามีค่า PR ไม่เท่ากันเช็คค่า PR
URL ไม่ควรยาวจนเกินไป
ปกติแล้วลิงก์ของ LnwShop ที่แสดงยาวเนื่องจากเป็นโค้ดของภาษาไทย ซึ่งมีผลดีมากกว่า (มีโอกาสตรงกับ keyword)
URL ยิ่งใกล้โดเมนยิ่งดี
เช่น lnwshop.com/store จะได้คะแนนส่วนนี้มากกว่า lnwshop.com/store/gointer
เนื้อหาเขียนด้วยคน (ไม่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ)
ความเกี่ยวข้องกันกับหน้าหมวดหมู่
เช่น "เสื้อผ้า" ในหน้าสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ "เสื้อผ้า" จะดีกว่า ในหน้าสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ "รองเท้า"
Tag หรือป้ายกำกับ จะส่งผลดี (แต่ไม่ควรมีมากเกินไป)
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถใส่ Tag ได้ในสินค้าทุกชิ้น ซึ่งจะช่วยทำให้คุณสามารถจัดหมวดหมู่ได้อย่างอิสระ , บทความหน้าร้าน (Aritcle) ก็สามารถใส่ Tag ได้เช่นกัน
มี keywords ใน URL
LnwShop มีระบบ Mod rewrite URL ที่ช่วยให้มีชื่อสินค้า/ชื่อหมวดหมู่ ใน URL
URL ที่สามารถอ่านได้ และมีลำดับชั้น
ระบบ LnwShop ทำให้เรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า URL ที่แสดงใน SERP จะเป็นลำดับชั้น

มี Reference และที่มา (หากมี)
ใช้ bullet หรือ ลำดับรายการ
ลำดับความสำคัญใน Sitemap ดู Sitemap.xml
หากมีลิงก์ออกมากจะถูกหาว่า Spam
มี PR ของคำต่างๆ หลายคำในหน้านั้น
พูดง่ายๆคือ หน้านั้นมีการติดอับที่ดีในหลายๆ คำ แปลว่า หน้านั้นยิ่งมีคุณภาพ
อายุของหน้านั้นๆ
หน้าใหม่ดีกว่าหน้าเก่า แต่หน้าเก่าที่อัพเดทใหม่ดีกว่าหน้าใหม่ (การอัพเดทนั้นหมายถึงการเพิ่มเนื้อหาอย่างน้อย 1 ย่อหน้า)
มีการจัดวางเนื้อหาเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
ไม่ใช่โดเมนที่ว่างอยู่ (Parked Domain)
เนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าชม
เนื้อหาที่มีคุณภาพ อาจไม่มีประโยชน์กับผู้เข้าชมก็ได้ ดังนั้นต้องทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกว่ามีประโยชน์มากที่สุด
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ได้จากการทำหน้าเนื้อหา "... คืออะไร", "... ใช้ยังไง", "วิธี ..." เป็นต้น
ปัจจัยเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Site-Level) นอกจากหน้าต่างๆ ที่มีคะแนนแตกต่างกันแล้ว ภาพรวมของเว็บไซต์ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่จะช่วยเพิ่มคะแนนแต่ละหน้าได้
มีเนื้อหาที่มีคุณค่าและแตกต่าง
Google พยายามหลีกเลี่ยงการให้อันดับกับเว็บไซต์ Affiliate (ที่มักจะเหมือนๆกันและไม่มีคุณค่ากับผู้เข้าชม)
รู้หรือไม่ ? พยายามลบหน้าเว็บที่มีเนื้อหาพื้นๆ ออกไป และสร้างหน้าเว็บที่มีข้อมูลเชิงลึกและมีประโยชน์กับผู้เช้าชมแทน
มีหน้าสำหรับติดต่อ (หน้าติดต่อเรา)
มี Domain Trust / TrustRank สูง
คิดจากอีกหลายปัจจัย โดยเน้นที่การมี link จากเว็บที่มีคุณภาพสูงจำนวนมากเช็ค TrustRank
มีโครงสร้าง HTML ของเว็บที่ดี
มีการปรับปรุงแก้ไขเว็บอยู่เสมอ
มีจำนวนหน้าเว็บเยอะพอสมควรดูหน้าที่ Google รู้จักแล้ว
จำนวนหน้าเว็บที่เยอะ เป็นสัญญาณเล็กๆ ให้กับ Google ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีคุณภาพ
รู้หรือไม่ ? การมีหน้าเว็บเพจเยอะๆ อาจไม่ดีเสมอไป หากคุณเห็นว่ามีหน้าบางหน้าที่ไม่มีคนเข้าเลย ให้ลบหน้าเหล่านั้น และนำมารวมกันเป็นหน้ารวมเนื้อหาทั้งหมดในหน้าเดียวกันจะดีกว่า //เชื่อหรือไม่ ? เว็บ e-commerce บางเว็บ ลบสินค้าที่ไม่มีผู้ซื้อออกไปกว่า 1,000 รายการ และทำให้ SEO ดีขึ้น ซึ่งนั่นแปลว่าลูกค้าก็จะเยอะขึ้นด้วย
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถตรวจสอบได้ว่า Google ได้เก็บข้อมูลหน้าเพจไหนของเว็บเราไปบ้างแล้ว โดยใช้คำสั่ง site:https://www.lnwshop.com/
มี Sitemap ของเว็บ ดู Sitemap.xml
เว็บมี Uptime สูง
สำหรับร้านค้า business หากเซิฟเวอร์เครื่องที่ร้านค้ามีข้อมูลอยู่เกิดข้อผิดพลาดก็จะสามารถกลับมาใช้ได้รวดเร็วกว่า ร้านค้าอื่นๆ ในเครื่องนั้นสั่งซื้อ Business Class
ที่ตั้งเซิฟเวอร์ หากค้นหาคำไทย ที่ตั้งในไทยจะดีกว่า
มีการใช้งาน SSL (https://)
Google ให้ความสำคัญกับผู้ที่ใช้งาน SSL เข้ารหัสข้อมูลในการรับ-ส่งข้อมูลสั่งซื้อ SSL
รู้หรือไม่ ? Google นั้นได้ใช้ HTTPS เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการจัดอันดับ Google ตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีผลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้กว่า 27% ของอันดับ 1 เป็น Https

มีหน้าข้อตกลงการใช้งาน และนโยบายความเป็นส่วนตัว
ข้อมูลใน Mete Tag ต้องไม่ซ้ำกัน
ระบบ LnwShop ใส่ให้อัตโนมัติ และจะแตกต่างตามชื่อของหน้านั้นๆ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อบทความ ชื่อหน้า
มีเมนูแบบ Breadcrumb
ระบบ LnwShop ใส่ให้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถรู้ตำแหน่งปัจจุบันได้

รองรับกับอุปกรณ์มือถือ (Mobile Site)
นอกเหนือจากการแสดงผลจะเหมาะกับหน้าจอที่เล็กกว่าแล้วยังเป็นมิตรต่อผู้เข้าชมทั้งด้านการใช้งานที่ง่ายและเร็วกว่าการโหลดแบบหน้าเว็บตั้งค่า Mobile Site
รู้หรือไม่ ? เว็บที่รองรับกับอุปกรณ์มือถือจะได้แสดงป้าย "Mobile-friendly" กำกับที่หน้า SERP ด้วย


ใช้ Youtube ในการอัพโหลดวิดีโอ
แน่นอว่า Google คือเจ้าของ Youtube ย่อมให้คะแนนผู้ที่ใช้ youtube มากกว่า
การใช้งานเว็บที่ง่าย
มีหลายปัจจัยในการคำนวน เช่น อัตราการเด้งออกมีสูง ไม่มีการเข้าถึงหน้าอื่นๆต่อ อาจแปลได้ว่าใช้งานยาก
ใช้ Google Analytic และ Google Webmaster Tools
เนื่องจากเว็บที่เป็น spam และทำผิดกฏมักไม่ใช้บริการเหล่านี้ตั้งค่า Google Analytic
มีการรีวิวจากผู้ใช้งานบนเว็บรีวิวที่มีชื่อเสียง
เช่น Yelp.com, Tripadvisor.com เป็นต้น
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถดูหน้ายอดนิยมที่มีคนเข้ามากที่สุดในเว็บได้จากสถิติของร้านค้า ดูหน้าเว็บยอดนิยม
ปัจจัยเกี่ยวกับลิงก์กลับ (Backlink) หาก Content is King, Link ก็จะเป็น Queen ซึ่ง Link ในที่นี้คือ BackLink หมายถึง ลิงก์ที่มาจากเว็บอื่นๆ ที่พูดถึงเว็บของเรา
มีลิงก์มาจากเว็บที่มีอายุนาน
จำนวนลิงก์ที่มาจากหน้าหลักของเว็บ
หมายถึง การมีลิงก์ที่มาจากหน้าหลักของเว็บนั้น ดีกว่าลิงก์ที่มาจากหน้าย่อยในเว็บนั้นนั่นเอง
มีลิงก์มาจากเว็บที่มีที่ตั้งเซิฟเวอร์และ IP ต่างกัน
จำนวนลิงก์ที่วิ่งเข้ามา
รู้หรือไม่ ? วิธีการหาเว็บที่ไว้สร้างลิงก์กลับที่ดี คือ หาลิงก์ที่วิ่งไปหาเว็บที่ได้อันดับ 1-3 ของ Google ใน keyword ที่ต้องการ โดยใช้คำสั่ง link: ตามด้วยชื่อโดเมน ในช่องค้นหาของ Google (คำสั่ง Link: จะเห็นได้เฉพาะบาง Link กลับที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่สามารถเห็น Link ทั้งหมดที่กลับมาได้)
Alt text ของรูปที่มีลิงก์กลับ
มีลิงก์มาจากเว็บที่เป็นโดเมน .edu, .gov, .go.th, .ac.th
PageRank (PR) ของเว็บที่มีลิงก์กลับ
พยายามเน้นสร้างลิงก์กลับจากเว็บที่มีคุณภาพมากกว่าการหาลิงก์ปริมาณมากๆ แต่มาจากเว็บที่มีแต่บอทเข้า ไม่มีคนเข้าชมเช็คค่า PR เว็บอื่น
Domain Authority (DR) ของเว็บที่มีลิงก์กลับเช็คค่า DA เว็บอื่น
มีลิงก์จากเว็บที่เป็นคู่แข่ง
เว็บคู่แข่ง หมายถึง เว็บที่มีผลการค้นหาใกล้เคียงกันในคำนั้นๆดูเว็บคู่แข่ง
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าเว็บที่เกี่ยวข้องข้องกับเราหรือเป็นประเภทเดียวกันมีเว็บอะไรบ้าง โดยใช้คำสั่ง related:https://www.lnwshop.com/
มีการแชร์บน Social (Post แบบมีลิงก์กลับ)
ห้ามมีลิงก์ที่มาจากเว็บต้องห้ามต่างๆ
เว็บโป๊ เว็บการพนัน เว็บผิดศีลธรรม หรือเว็บที่ทำผิดกฏของ Google
ลิงก์ที่มาจาก Guest Post ได้คะแนนน้อย
เช่น Link ที่มาจาก Comment บน Wordpress Blog เป็นต้น
มีลิงก์ไปยังหน้าหลักของโดเมนที่มีลิงก์กลับมาหา
เช่น เรามีลิงก์กลับไปยังเว็บข่าว เพื่อบ่งบอกว่าเว็บของเราถูกพูดถึงจากที่นั่น เป็นต้น
ได้ Nofollow Links ก็ยังดีกว่าไม่มีลิงก์กลับ
แม้ว่าเว็บที่ลิงก์มาจะใส่ nofollow เพื่อไม่ให้คะแนน แต่ความเป็นจริงเราจะได้คะแนนทางอ้อม
มีความหลากหลายของเว็บที่มีลิงก์กลับ
โดยปกติ หากเรามีลิงก์หลายลิงก์จากเว็บเดียวกันมากๆ อาจถูกมองว่าเป็นการสแปมได้ ดังนั้นเราควรมีลิงก์จากหลายๆ เว็บมากกว่า
ลิงก์กลับที่มีคำใกล้ๆ อย่างเช่น ผู้สนับสนุน จะได้คะแนนน้อย
ลิงก์กลับนั้นอยู่ในเนื้อหา ดีกว่าลิงก์ที่อยู่นอกเนื้อหา
ไม่ควรมีลิงก์กลับที่มาแบบหลอกที่มา
เช่น การที่ให้ผู้ค้นหาคลิกลิงก์ที่ต้องการแต่มีการเปลี่ยนแปลง URL (redirect) มายังอีกที่หนึ่ง
ข้อความในลิงก์กลับ (ที่มาจากเว็บอื่น)
Google บอกว่า ข้อความที่อยู่ในลิงก์กลับนั้นบ่งบอกถึงเว็บได้มากกว่าข้อความบนเว็บเองด้วยซ้ำ (พูดง่ายๆ คือ เชื่อคนอื่นมากกว่า)
รู้หรือไม่ ? การใส่ข้อความใน Link ที่ดีคือควรเป็นวลี หรือ ประโยค มากกว่าการครอบลิงก์ที่ keyword โดดๆ เช่น หากคุณสนใจ เปิดเว็บขายของ คุณควรเข้าใจ SEO ในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น
ข้อความในลิงก์กลับ (ที่มาจากในเว็บตนเอง)
ข้อความใน Title ของลิงก์
title คือข้อความที่จะแสดงขึ้นเมื่อนำเมาส์ไปวางที่ลิงก์


ID=2896,MSG=4026
Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

ลิงก์กลับมาจากเว็บ .th
เช่น .co.th, .in.th, .go.th, .ac.th จะทำให้ติดอันดับได้ดีในประเทศไทย
ลิงก์กลับอยู่ในส่วนเนื้อหา ไม่ควรอยู่โดดๆ
ลิงก์กลับอยู่ในส่วนต้นของหน้า
ลิงก์กลับจากโดเมนที่เกี่ยวข้องกัน (ยิ่งเฉพาะมาก ยิ่งดี)
ลิงก์กลับจากหน้าที่เกี่ยวข้องกัน (ยิ่งเกี่ยวกัน ยิ่งดี)
ข้อความรอบๆ ลิงก์กลับควรเป็นคำชม
Google จะทราบว่าข้อความที่มีลิงก์ที่เขียนถึงคุณ เป็นไปในทางชม (+) หรือ ตำหนิ (-)
มี keyword ใน Title ของลิงก์กลับ
มีจำนวนเว็บที่มีลิงก์กลับมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ควรมีจำนวนเว็บที่มีลิงก์กลับน้อยลง
เพราะปกติอย่างน้อยต้องเท่าเดิม หากน้อยลงแปลว่ามีการถอดลิงก์คุณออกจากหน้านั้นๆ
มีลิงก์จาก Hub ที่น่าเชื่อถือ
เว็บ Hub หมายถึงเว็บที่เป็นเว็บรวมลิงก์ไปยังเว็บอื่นๆ (Directory) เช่น dmoz.org, yahoo directory เป็นต้น
มีลิงก์จากเว็บที่ได้รับรองจาก Google
แม้เราจะไม่ทราบได้ว่าเว็บไหนถือเป็นเว็บ Authority Site แต่การที่เรามีเว็บจากเว็บชื่อดังอย่าง Pantip ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน
มีลิงก์จาก Wikipedia
ข้อความที่ติดกันเลยกับข้อความลิงก์กลับ
ไม่เพียงแต่ข้อความรอบๆ Link แต่ข้อความที่ติดกันเลยจะยิ่งบ่งบอกได้ว่าเว็บคุณเกี่ยวกับอะไร
อายุของลิงก์กลับ (ลิงก์ที่มีอายุเยอะจะให้คะแนนที่ดีกว่า)
มีลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริงๆ (ไม่ใช่เว็บบล็อกเพื่อ SEO)
Google จะใช้ปัจจัยด้านการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน เช่น มีคนเข้าชมไหม เข้านานไหม อ่านต่อหน้าอื่นไหม มาตัดสินว่าเว็บไหนเป็นเว็บหลอกเพื่อ SEO
ลิงก์ที่มาจากหน้า Profile
เว็บเครือข่ายสังคมต่างๆ มักจะมีหน้า Profile และมีส่วนที่ใส่ Link กลับได้
ไม่ควรแลกลิงก์กันมากเกินไป
Google ห้ามไม่ให้มีการซื้อ-ขายลิงก์ และมีการแลกลิงก์กันมากเกินไป (เกิน 20-30 เว็บ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน) อ่านเพิ่มเติมบน Google
มีลิงก์กลับที่เขียนขึ้นจากเจ้าของเว็บเอง
Google สามารถแยกแยะได้ว่า Link ใดที่เกิดจากเจ้าของเว็บสร้างขึ้นเอง หรือ มาจากผู้ใช้งานเว็บนั้นสร้างขึ้น
ลิงก์กลับมาจากการ 301 Redirect
หลายกูรู SEO บอกว่าหากมาจาก 301 redirect (การส่งผ่านลิงก์แบบถาวร) จะได้คะแนนน้อยกว่า แต่ทาง Google บอกว่าจะได้คะแนนเช่นเดียวกับ direct link (ลิงก์โดยตรงไม่มีการส่งผ่าน)
Rich Snippets หรือบทสรุปเนื้อหาเว็บ
LnwShop ได้สร้างข้อมูล rich snippets ตามรูปแบบของ Schema.org ให้เรียบร้อยแล้ว อ่านเพิ่มเติม
ตรวจสอบด้วยตนเอง
มีลิงก์กลับจาก Dmoz.org
มีลิงก์กลับเว็บที่มี TrustRank สูง
เพราะนอกจาก Page Rank แล้ว Google ยังให้อันดับความน่าเชื่อถือให้กับแต่ละเว็บด้วยเช็ค TrustRank เว็บอื่น
มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีจำนวนลิงก์ออกน้อย
ยิ่งหน้าที่มีลิงก์กลับ มีลิงก์ออกเยอะ (Outbound Links) นั่นทำให้คะแนนที่ได้จากหน้านั้นก็ต้องหารกันนั่นเอง
ลิงก์ที่มาจากเว็บบอร์ดหรือฟอรั่ม
Google จะให้คุณค่าของลิงก์ที่มาจาก Forum หรือ Webboard น้อย
มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีจำนวนคำมากๆ
แน่นอนว่าลิงก์ที่อยู่บนหน้าที่มีคำเป็น 1,000 คำ ดีกว่าลิงก์ที่อยู่บนหน้าที่มีคำเพียงไม่กี่คำ
มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ
ลิงก์กลับที่เหมือนกันทุกหน้าจะถูกนับเป็นลิงก์เดียว
เช่น ลิงก์ที่อยู่ใน Widget (ส่วนด้านข้างซ้ายของเว็บร้าน LnwShop) ซึ่งจะมีเหมือนกันทุกหน้า จะถูกนับรวมเป็นลิงก์กลับเพียงลิงก์เดียวเท่านั้น
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถดูได้ว่ามีการเข้าชมกี่ครั้งที่มาจากการคลิกลิงก์กลับ และมาจากเว็บอื่นๆ (เรียกว่า Referring Site) เว็บไหนบ้าง ดูไซต์อ้างอิง
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้เข้าชม (User-Interaction) Google ไม่ได้เพียงแต่วัดปัจจัยที่เกี่ยวกับเนื้อหาเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังใช้ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราด้วย
อัตราการคลิกจากผลการค้นหาสูง (Click Through Rate - CTR)
ยิ่งเว็บของคุณได้ถูกคลิกจากส่วน Organic (ส่วนที่ต้องทำ SEO เท่านั้น) มากเท่าไหร่ยิ่งดี นั่นหมายถึงเว็บของคุณตรงกับคำค้นหานั้นๆดูคำค้นหา
มี CTR สูงทุก keyword
Bounce Rate ต่ำ
Bounce Rate หรือ อัตราการเด้งกลับ หมายถึงการที่ผู้เข้าชมเข้ามาแล้วออกอย่างรวดเร็ว (นั่นแปลว่า เนื้อหาไม่ดีหรือไม่ตรงนั่นเอง)ดู Bounce Rate
รู้หรือไม่ ? คนบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีความอดทดน้อยขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหากไม่ต้องการให้พวกเค้าออกจากเว็บของเรา ลองทำดังต่อไปนี้
1. พยายามนำเนื้อหาไว้บนสุดของหน้า ไม่ใส่รูปใหญ่ๆ สวยๆ มาก่อนเนื้อหา โดยไม่มีประโยชน์กับผู้เช้าชม
2. พยายามอัพเดทเว็บไซต์และเขียนไว้ที่หน้าว่า "อัพเดทล่าสุด" เมื่อใด (หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "เขียนครั้งแรกเมื่อ")
3. เขียนเกริ่นให้สั้นไม่เกิน 4-9 ประโยค และใช้คำที่เชิญชวน ตื่นเต้น ควรใช้คำพูดแทนคำเขียน
Direct Traffic สูง
Direct Traffic หรือ การเข้าชมโดยตรง หมายถึงการที่ผู้เข้าชมพิมพ์ URL ร้านค้าของเราโดยตรง (ไม่ได้ผ่าน Google หรือคลิกจากเว็บอื่นนั่นเอง)ดู Direct Traffic
มีอัตราการกลับมาอีกครั้งสูง
หมายถึง เมื่อผู้เข้าชมคนนั้นได้ออกจากเว็บแล้ว อีกระยะเวลาหนึ่งได้กลับเข้ามาที่เว็บอีกครั้ง
ไม่เป็นเว็บที่โดนผู้ใช้งาน Block
แม้ว่าฟังก์ชั่น Block ได้ถูกถอดออกจากหน้า SERP แล้ว (ฟังก์ชั่นที่ให้ผู้ค้นหาสามารถนำเว็บหนึ่งๆ ออกจาก SERP ของเค้าได้) แต่ Google ก็ยังใช้ปัจจัยนี้กับเว็บที่เคยโดนอยู่
มีผู้ Bookmarks เว็บเราจำนวนมาก
Google ได้เก็บข้อมูล Bookmark ในเบราวเซอร์ Chrome ของผู้ใช้งานทุกคน ดังนั้นหากเว็บคุณได้ถูก Bookmark (กดที่รูปดาว) ยิ่งดีต่อร้านคุณ
เข้าเว็บด้วย Google Chrome
เนื่องจาก Google สามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่า หากคุณไม่ได้ใช้ Google Chrome อาจใช้ Google Toolbar ติดตั้งบนเบราวเซอร์ก็ได้เช่นกัน
มี Comments จำนวนมาก
สำหรับ LnwShop การได้รีวิว หรือมีการแสดงความคิดเห็น ถาม-ตอบ นั่นคือสิ่งที่ดีต่อเว็บของคุณ
ผู้เข้าชมเข้าเว็บเป็นเวลานาน
Google ให้ความสำคัญมากกับระยะเวลาที่ที่ผู้เข้าชมอยู่ภายในเว็บของคุณ (เรียกกันทาง SEO ว่า Long Clicks)ดูเวลาเช้าชมโดยเฉี่ย
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถเพิ่มระยะเวลาและดึงดูดผู้เช้าชมให้อยู่กับเว็บได้นานได้ง่ายๆ เพียงแค่เพิ่มคำถาม,คำเชิญชวนเหล่านี้เข้าไปในเนื้อหา/บทความ เช่น แล้วสรุปต้องทำอย่างไร ?, มาดูกันเลย !, และนี่คือผลลัพธ์, แต่ยังไม่หมดเท่านี้, เรื่องจริงๆ แล้วคือ, ส่วนที่ดีที่สุดหรอ ?, แล้วนี่มันหมายถึงอย่างไร ?, มันเกียวยังไงกัน ?, ฉันจะใช้มันได้อย่างไร ? เป็นต้น
ปัจจัยพิเศษต่างๆ (Special Rules) ยังมีปัจจัยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราอีกมากมาย
หน้าเพจที่เพิ่งเกิดใหม่จะดีกว่าเสมอ
หาก keyword กำกวม Google จะแสดงให้หลากหลายมากที่สุด
เว็บถูกเข้าจาก "ประวัติการเข้าชม"
เฉพาะผู้ที่เข้าสู่ระบบ Google Account (@gmail.com) เว็บที่เคยเข้าแล้วจะได้อันดับที่ดีกว่าในการค้นหาของเค้า
ประวัติการค้นหาก่อนหน้า
เช่น หากผู้ใช้ค้นหาคำว่า "รีวิว" แล้วมาค้นหาคำว่า "ชุดเกาหลี" Google จะแสดงผลเว็บที่มีการรีวิวชุดเกาหลีดีกว่าเว็บอื่น
Geo Targeting (ตำแหน่งที่อยู่)
หากผู้ค้นหาอยู่ในไทย เว็บที่มีเซิฟเวอร์ในไทยและมีโดเมน .th จะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่า
Safe Search (การค้นหาแบบปลอดภัย)
เว็บที่มีคำที่รุนแรงหรือคำที่เป็นเนื้อหาแบบผู้ใหญ่จะถูกกรองออก หากผู้ใช้เปิดโหมด Safe Search
Google+ (Social Network ของ Google)
Google จะดันเว็บที่มีผู้เขียนหรือชื่อเว็บไซต์อยู่ใน Circle ของ Google+สร้าง Google+
ต้องไม่มีคำร้องเรียน DMCA
DMCA คือ Digital Millennium Copyright Act คือ กฏหมายจัดการกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตของสหรัฐฯ
กฏความหลากหลายของเว็บ
Google จะแสดงผลการค้นหาให้ได้หลากหลายเว็บมากที่สุด แม้เว็บหนึ่งจะมีหน้าที่ควรติดอันดับหน้าแรกทั้งหมดก็ตาม Google จะแสดงเพียง 2-3 หน้า และให้โอกาสเว็บอื่นเสมอ
การค้นหาที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขาย
บางครั้ง Google จะพยายามแสดงเว็บที่มีสินค้าซื้อ-ขายที่มี keyword นั้นๆ มากกว่าเว็บเนื้อหาปกติ
การค้นหาตามท้องถิ่น
Google มักให้ผลลัพธ์การค้นหาที่เว็บนั้นมีการปักหมุดสถานที่บน Google+ ที่อยู่ใกล้กับสถานที่ของผู้ค้นหาตอนนั้น
Google จะแสดงผลเป็นแบบ News หากเป็นหน้าใหม่

Brand ชื่อดังจะติดอันดับได้ดีในคำกว้างๆ
Google บางครั้งจะแสดงผลเป็นรูปแบบ Shopping
โดย Google จะเอาสินค้ามาจาก Google Shopping (เสียค่าโฆษณา)
Google มักแสดงผลเป็นรูปแบบ Image
Google จะรู้จักรูปนั้นได้จากการใส่ Alt textใส่ Alt ให้ภาพ
Easter Egg (ของเล่นลับของ Google)
Google มักออกลูกเล่นหรือเกมเล็กๆให้กับ Search Engine ของพวกเค้าเสมอ ลองค้นหาด้วยคำเหล่านี้ดู (หรือคลิกที่คำเพื่อดูได้ทันที)
askew, blink html, conway's game of life, z or r twice, festivus, google in 1998, super mario bros, zerg rush, atari breakout
หนึ่งโดเมนสามารถครองได้ทั้งหน้า SERP ถ้าคำตรงกับชื่อ Brand โดยตรง
ปัจจัยเกี่ยวกับ Social ปฏิเสธไม่ได้ว่า Social นั้นมีอิทธิพลกับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ดังนั้น Google จึงนำมาเป็นปัจจัยการจัดอันดับด้วย
มีจำนวน Tweet (Twitter) ของหน้านั้นเยอะ ตกแต่งหน้าร้าเพื่อเพิ่มปุ่ม Tweet
ยิ่งคน Tweet มี Follower เยอะ ยิ่งดี
มีจำนวน Like (Facebook) ของหน้านั้นเยอะ ตกแต่งหน้าร้าเพื่อเพิ่มปุ่ม Like
มีจำนวน Share (Facebook) ของหน้านั้นเยอะ
มีผลมากกว่า จำนวน Likeตกแต่งหน้าร้านเพื่อเพิ่มปุ่ม Share
ยิ่งคนที่แชร์มี follower เยอะ / หรือแฟนเพจที่แชร์มี Like เยอะ ยิ่งดี
รู้หรือไม่ ? การเพิ่มปุ่มแชร์ที่หน้าร้าน จะทำให้ผู้เข้าชมสามารถแชร์ได้ง่ายและสะดวก และนั่นดีต่อ SEO ของร้านคุณ
มีจำนวน Pin (Pinterest) ของหน้านั้นเยอะ
Pinterest เป็น Social Media ที่นิยมอย่างมากในการเก็บภาพจากเว็บไซต์เป็น Collection แชร์ให้ผู้อื่น
มีจำนวน Vote (บนเว็บ Social Sharing) ของหน้านั้นเยอะ
ตัวอย่างเว็บ Social Sharing เช่น Reddit, Stumbleupon, Digg เป็นต้น
มีจำนวน +1 (Google+) ของหน้านั้นเยอะ
ยิ่งคนที่ +1 มี Circle ที่มีผู้ติดตามมากยิ่งดี
ข้อความของโพสท์ที่แชร์
ถ้าเว็บมีผลคะแนนที่ดีด้าน Social ทุกหน้าที่อยู่ในเว็บจะได้รับผลดีด้วย
ปัจจัยเกี่ยวกับชื่อ Brand Google ชอบเว็บที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และมักจะให้คะแนน Brand มากกว่าเว็บทั่วไปหลายเท่า
มีชื่อแบรนด์ในลิงก์
มีผู้ค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณ
เช่น หากคุณสนใจเรื่อง iphone คุณอาจค้นหาคำว่า iphone pantip ซึ่งนั่นจะเพิ่มคะแนนที่ดีให้กับเว็บไซต์ pantip.com
เว็บไซต์มี Facebook Page เป็นของตนเอง
แต่ Facebook Page ของคุณต้องมีจำนวนผู้ Like ถึงระดับหนึ่งด้วยตั้งค่า Facebook Page
เว็บไซต์มี Twitter Profile เป็นของตนเอง
แต่ Twitter Profile ของคุณต้องมีจำนวนผู้ follower ถึงระดับหนึ่งด้วยตั้งค่า Twitter Profile
เว็บไซต์มีหน้าเพจบน LinkedIn
บริษัทแบรนด์ดังมักมีข้อมูลอยู่ใน LinkedIn ที่เป็นเว็บเครือข่ายสังคมที่ให้ข้อมูลด้านการทำงานของบุคคลและบริษัทดู Linked in
พนักงานบริษัทมีข้อมูลบน LinkedIn
มีการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของบัญชีและผู้ติดตาม
แน่นอนว่าหากคุณซื้อ Like หรือ Follow ก็จะไม่สามารถเพิ่มคะแนนให้กับคุณ เพราะ Google จะดูถึงการโต้ตอบของเพจหรือจำนวน Post ของคุณ
ชื่อแบรนด์ถูกเอ่ยถึงในเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง
เช่น Sanook, Kapook, Thairath, Manager, NationTV, Mthaiม Posttoday เป็นต้น
แม้ถูกเอ่ยถึง ไม่จำเป็นต้องลิงก์ก็ได้เช่นกัน
หลายๆ คนเข้าใจว่า เราจะได้คะแนนก็ต่อเมื่อต้องมี Link มายังเว็บไซต์ของร้าน แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แค่มีการเขียนชื่อแบรนด์ลงไปก็ได้เช่นกัน
มีจำนวนผู้ติดตาม RSS
เนื่องจากขณะนี้ RSS ไม่ได้เป็นที่นิยมแล้ว ปัจจัยในการคิดส่วนนี้จึงถูกลดลงอย่างมาก
ปักหมุดสถานที่ร้านค้าบน Google Business เพิ่มสถานที่บน Google Business
เว็บไซต์ได้จ่ายภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
ในประเทศไทย Google อาจจะไม่ได้นำปัจจัยนี้มาคิด
ปัจจัยเกี่ยวกับการ Spam บนเว็บ Google จะหักคะแนนหรือนำเว็บของคุณออกจาก SERP หากคุณทำการ Spam บนเว็บไซต์คุณเอง
ไม่เป็นเว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ
ไม่มีลิงก์ไปยังเว็บคุณภาพต่ำ
ไม่มีการ Redirect หลอกไปเว็บอื่น
ไม่มี Popup หรือ Ad บังหน้าเว็บ
ไม่ควรทำ SEO มากเกินไปกับเว็บ
เช่น การใส่ Keyword ซ้ำไปซ้ำมาในหน้าเว็บ
ไม่ควรทำ SEO มากเกินไปกับหน้าหนึ่งๆ
ไม่มี Ad ที่ลอยบังหน้าเว็บตลอดเวลา
ไม่ปกปิด Affiliate Link
LnwShop ไม่อนุญาตให้ใช้ร้านค้าเพื่อการทำ Affiliate อยู่แล้ว
ไม่เป็นเว็บที่ทำเพื่อ Affiliate
ไม่ใช้โปรแกรมเขียนเนื้อหาอัตโนมัติ
ไม่ควรใช้ nofollow ทุกลิงก์ที่ออก หรือมีลิงก์ภายในมากเกินไป
IP Address ของเว็บไม่ถูกคาดโทษ
ไม่ควร Spam ใน Meta Tag
ปัจจัยเกี่ยวกับการ Spam นอกเว็บ Google จะหักคะแนนหรือนำเว็บของคุณออกจาก SERP หากคุณทำการ Spam ในการหา Link เข้าเว็บไซต์คุณ
ไม่มีลิงก์กลับที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไม่เป็นเว็บที่ถูก Penguin Algo คาดโทษ
Penguin Algorithm เป็นวิธีคิดที่ Google ออกมาเมื่อปี 2012 เพื่อจำกัดเว็บที่มีการสร้าง Link แบบผิดธรรมชาติ
ไม่มีลิงก์กลับจากหน้า Profile ที่ไม่มีคุณภาพ
ลิงก์ที่คนทำ SEO ส่วนใหญ่มักใช้กันเช่น ช่องความคิดเห็นตามเว็บ Blog, หรือ หน้า Profile ของเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่ง Google จะมองว่าเป็นลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ
ไม่มีลิงก์จากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก
ไม่ถูกเตือนเรื่องมีลิงก์ผิดธรรมชาติบน Google Webmaster Tools แล้วไม่แก้ไข ดู Webmaster Tools
ไม่มีลิงก์จาก IP Class C เดียวกันมากๆ
IP Class C เดียวกัน บ่งบอกถึงคุณกำลังสร้างเว็บไซต์เหล่านั้นเอง เพื่อลิงก์ไปยังเว็บหลักที่คุณต้องการ
ไม่มีลิงก์กลับที่มีข้อความที่ผิดกฏ Google
เช่น ข้อความเกี่ยวกับ สารเสพย์ติด เป็นต้น
ไม่ควรถูกแบนโดยทีมงาน Google เอง
Google มีพนักงานที่จะคอยตรวจสอบเว็บไซต์ที่ทำผิดกฏ
ไม่มีลิงก์ที่มาจากการซื้อ Link
ไม่ได้ถูกใส่ใน Google Sandbox
Google มักจะนำเว็บไซต์ใหม่ๆที่เพิ่งเกิดขึ้นและมีพฤติกรรมที่ไม่ปกติเข้าไปใน Sandbox เพื่อสังเกตการณ์ และลดการแสดงผลใน SERP หากไม่ได้ทำผิดจริงก็จะถูกนำออกจากกล่องทรายนี้ได้
ทดสอบด้วย Google Dance
Google Dance เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทดสอบว่าเว็บของคุณกำลังหลอกลวง Google อยู่หรือเปล่า ด้วยการแสดงผลอันดับแกว่งขึ้น-ลงตลอดเวลา
ปฏิเสธลิงก์กลับที่ถูกกลั่นแกล้ง
เนื่องจาก Link กลับเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งอาจถูกกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี ดังนั้น Google จึงเปิดโอกาสให้เราปฏิเสธ/ยกเลิก Link ที่ผิดกฏเหล่านั้นที่วิ่งมาหาเว็บของเราได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมปฏิเสธลิงก์
การร้องขอสำเร็จ
หากคุณร้องขอ Google เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่ถูกคาดโทษ แล้ว Google ยอมรับ ก็จะทำให้โทษนั้นหายไปได้
ไม่มี Link หลอกชั่วคราว
Google สามารถจับได้ว่า มีการใส่ลิงก์กลับไปเพื่อเพิ่มคะแนน และนำออกจากเว็บนั้นอย่างรวดเร็ว ทาง SEO เรียกว่า "temporary link scheme"


ID=2896,MSG=4027
Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

Re: 200 ปัจจัยการจัดอันดับของ google

SERP หรือ Search Engine Results Page คืออะไร ?
หมายถึง หน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google นั่นเอง แน่นอนว่า เราต้องการให้อันดับของเราอยู่ที่หน้าแรกและสูงที่สุด

เกร็ดความรู้เรื่องผลลัพธ์การค้นหา
ผลลัพธ์จะแบ่งออกเป็น Ad (เสียเงิน) และ SEO (ทำได้เอง)
อันดับที่แสดงขึ้นกับ "คำค้นหา" (Keywords)
จำนวนผลลัพธ์รายการแบบ SEO ในหน้าแรกอาจมี 7-10 เว็บ ขึ้นกับคำค้นหา
จำนวนผลลัพธ์รายการแบบ Ad ในหน้าแรกอาจมี 0-7 เว็บ ขึ้นกับผู้ลงโฆษณา ณ ขณะนั้น (บนสุด 4 เว็บ, ล่างสุด 3 เว็บ)
ผู้ค้นหามักจะมองผ่านส่วนการแสดงผลที่เป็น Ad
Title, Description ที่แสดงอาจไม่ตรงกับที่ตั้งไว้ (ขึ้นกับคำค้นหา)
Keywords ที่ตั้งค่าที่ร้านจะไม่ถูกแสดงใน SERP
ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีรายการ วิดีโอ/รูปภาพ/ข่าว/ข้อมูล Wiki หากเกี่ยวข้องกับคำค้นหา
1 โดเมนสามารถอยู่ได้หลายรายการ (หลาย Page URL) ในผลลัพธ์การค้นหา


ID=2896,MSG=4028


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 03:50:41pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com