พรบ รถยนต์ ความคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัย

พรบ รถยนต์ ความคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัย

พรบ รถยนต์ ความคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัย

การประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

โดยเนื้อความของพระราชบัญญัติฉบับนี้ บอกว่ากฎหมายมีข้อบังคับให้รถยนต์ทุกคัน ทุกประเภท ทำการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
โดยจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยผู้ที่ไม่ทำ พรบ. รถยนต์ ก็จะมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และ หากทำแล้วแต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถยนต์ในจุดที่เห็นได้ชัดเจน ก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ รถยนต์ นี้จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ โดยให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัยจากรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า รวมถึงทายาทของผู้ประสบภัยด้วย และหากประสบภัยจากรถแล้วได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน ก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้น

1. ทำไมกฎหมายถึงต้องบังคับให้ทำประกันรถ ตาม พ.ร.บ. รถยนต์?
การที่รัฐบาลต้องออกกฎหมายเพื่อกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีประกันภัยนั้น อย่างแรกเลย ก็คือจะต้องให้รถยนต์ทุกคันทำประกันภัยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจำรถ พ.ศ. 2535 ส่วนวัตถุประสงค์ที่บังคับนั้น ก็เพื่อให้ความคุ้มครอง และ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถกันทุกคน ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิตเมื่อประสบภัยจากรถ โดยส่วนนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือทุกๆคนให้ได้รับการรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีกรณีที่บาดเจ็บ หรือ เป็นค่าปลงศพกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต และ ยังเป็นหลักประกันให้แก่โรงพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาผู้ประสบภัยจากรถยนต์ด้วย โดยที่เรียกว่าเป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่ทางรัฐบาลมอบให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นความช่วยเหลือที่ทางรัฐบาลได้ยื่นมือเข้ามาช่วยให้กับผู้ประสบภัยทางรถ และครอบครัวของผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้นั่นเอง

2. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หากเจ้าของรถไม่ทำประกันชนิดนี้ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าได้ทำประกันไว้แล้ว แต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถให้เห็นชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ประกัน พ.ร.บ. เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลที่ประสบภัยจากรถ แต่ไม่ได้คุ้มครองในส่วนของรถยนต์ (สำหรับประกันที่คุ้มครองทั้งคนและรถคือประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ) ซึ่งผู้ทำประกัน พ.ร.บ. นี้ จะได้รับความคุ้มครองเมื่อประสบภัยจากรถ ในกรณีได้รับบาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ จะได้ค่าชดเชย 100,000 บาท

3. การต่อพรบ. รถยนต์ ทำได้ง่ายๆ
ใน การต่อพรบ. รถยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะทำควบคู่ไปกับการต่อทะเบียนรถ โดยเอกสารที่ต้องใช้ได้แก่สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน 1 ใบ โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับทำ โดยสามารถไปต่อได้ที่กรมขนส่งในแต่ละจังหวัด หรือต่อทางอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง (สำหรับรถที่มีอายุไม่เกิน 7ปี เพราะ ถ้าขึ้นปีที่ 8 ต้องใช้ใบตรวจสภาพรถ)

4. ค่าใช้จ่านในการทำประกัน พ.ร.บ.
รถยนต์ นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง)                            ประมาณ 645.21  บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)        ประมาณ 1,182.35  บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง  ไม่เกิน 20 ที่นั่ง              ประมาณ 2,203.13  บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง  ไม่เกิน 40 ที่นั่ง              ประมาณ 3,437.91  บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง                                    ประมาณ 4,017.85  บาท
รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (รถปิคอัพ)                      ประมาณ 967.28  บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง  6 ตัน                          ประมาณ 1,310.75  บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน                          ประมาณ 1,408.12  บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน                                      ประมาณ 1,826.49  บาท

5. สิ่งที่ควรทำเมื่อประสบภัยจากรถยนต์
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ควรทำตามกระบวนการต่อไปนี้

หากมีผู้บาดเจ็บ ให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
แจ้งเหตุให้ตำรวจทราบ และ ขอสำเนาบันทึกประจำวันเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานในการใช้ร้องเรียนต่อไป
แจ้งเหตุกับบริษัทประกันภัย โดยอย่าลืมแจ้งวัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ และ/หรือ คู่กรณีด้วย
ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยของรถยนต์คันที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐาน
ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือ หลักฐานอื่นๆ ที่ออกโดยราชการ หากต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย
ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือด้านการเป็นพยานให้แก่คนเกี่ยวกับเหตุการณ์เผื่อเจ้าหน้าที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติม

6. การยื่นเอกสารเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
เมื่อเกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัย หรือ ทายาทของผู้ประสบภัยต้องยื่นคำขอร้องเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายในระยะเวลา 180 วันโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น สามารถยื่นคำร้องต่อบริษัทประกันภัย หรือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดได้เลย หรือ สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยก็ได้ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้ โดยจะต้องมีหลักฐานเป็นเอกสารดังต่อไปนี้

ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลที่เข้ารับรักษาหลังเกิดเหตุ
สำเนาบัตรประชาชน หรือ หลักฐานอื่นๆที่สามารถใช้พิสูจน์ตัวตนได้ว่าผู้ที่มีชื่อในบัตรเป็นผู้ประสบภัย
สำเนากรมธรรม์ประกันภัย หรือ เครื่องหมายทีแสดงว่ารถยนต์คันที่ประสบอุบัติเหตุมีประกันภัยคุ้มครอง
สำเนาใบมรณบัตรในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต
สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
สำเนาทะเบียน รถยนต์ และ สำเนาบัตรประชาชนของทายาทในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต


ID=2875,MSG=3962


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 02:46:09am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com