อุบัติเหตุ ความหมาย

อุบัติเหตุ ความหมาย

อุบัติเหตุ หมายถึง "เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิด" ถือกันว่าเป็นความบังเอิญที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและไม่คาดฝันมาก่อน คำว่า "อุบัติเหตุ" ตรงกับคำว่า "accident"ในภาษาอังกฤษ ซึ่งทางการแพทย์หมายถึง "เหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดฝัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อ (tissue) และทางเมแทบอลิซึมของร่างกายให้ปรากฏ"

          อุบัติเหตุทำให้เกิดบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และถึงตายได้ แม้บางคนอาจเข้าใจตามความในนิยามข้างต้นว่า  อุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันนั้น เป็นคราวเคราะห์ของผู้ประสบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในทางตรงกันข้ามอุบัติเหตุย่อมป้องกันได้และหลีกเลี่ยงได้หากไม่ประมาท จึงมีความสำคัญที่เราต้องมาศึกษา เพื่อหาทางป้องกันลดหย่อนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

การศึกษาอุบัติเหตุ
          การศึกษาอุบัติเหตุควรศึกษาเช่นเดียวกับโรคทุกชนิดคืออนุโลม "อุบัติเหตุ" ขึ้นเป็นโรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางสู่การแก้ไขและหลีกเลี่ยง
          โดยทั่วไป การศึกษาโรคทุกชนิดควรมอง ๓ ด้านด้วยกัน  คือ
                    ๑. ผู้ที่เกิดโรค (host)
                    ๒. สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (agent)
                    ๓. สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การเกิดโรค (environment)
          อุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับหลัก ๓ ประการ เช่นเดียวกัน คือ
                    ๑. ผู้รับอุบัติเหตุ
                    ๒. สิ่งที่เป็นเหตุ
                    ๓. เวลาและสถานที่เกิดเหตุ
          จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมี ๓ ด้านด้วยกัน เช่น บุคคลบางประเภทดูเหมือนว่าได้รับอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป  ตัวการบางอย่างทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและบ่อย  ตลอดจนสิ่งแวดล้อมบางอย่างบางเวลาก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น

ระบาดวิทยาของอุบัติเหตุ
          ในประเทศไทย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขปีพ.ศ. ๒๔๙๐ อัตราตายของประชากรจากอุบัติเหตุ การเป็นพิษและพลวเหตุ (accidents, poisonings and violence) อยู่ในอันดับที่ ๔รองลงมาตามลำดับจากโรคไข้จับสั่น  โรคท้องร่วง  วัณโรคระบบหายใจ  และโรคปอดอักเสบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อัตราตายจากอุบัติเหตุ ยังคงเป็นอันดับที่ ๔ รองลงมาจาก โรคท้องร่วง โรคปอดอักเสบ วัณโรคระบบหายใจ  และไข้จับสั่นตามลำดับ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ อัตราตายจากอุบัติเหตุ เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับที่ ๓ รองมาจากโรคท้องร่วง และวัณโรคระบบหายใจตามลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา อัตราตายจากอุบัติเหตุ การเป็นพิษ และพลวเหตุกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ  สูงกว่าอัตราตายจากโรคอื่นๆ ทุกประเภทสาเหตุมาจากการแพทย์สาธารณสุขเจริญขึ้น ประชาชนเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจน ความก้าวหน้าทางวัตถุและการเพิ่มของประชากร ทำให้อัตราตายจากอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นและสูงสุดเป็นอันดับที่ ๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน

การแบ่งประเภทของอุบัติเหตุ
          เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ได้แก่
                    ๑. ตัวการหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ยานยนต์ อาวุธปืน สารพิษ ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม
                    ๒. ผลจากอุบัติเหตุ เช่น บาดแผลของผิวหนังศีรษะหรือสมองบาดเจ็บ กระดูกหัก แผลจากวัตถุระเบิดและกระสุนปืน แผลลวก - ไหม้
                    ๓. สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การจราจร บ้าน โรงเรียน สถานที่ประกอบการ เช่น โรงงาน สถานที่ก่อสร้าง สนามกีฬา สนามรบ
                    ๔. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน อุบัติเหตุในเด็ก คนงาน นักกีฬา คนชร


ID=2576,MSG=3027
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

อุบัติเหตุ  (Accident)

      คำว่า “อุบัติเหตุ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำนิยามไว้ว่า อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิด ความบังเอิญเป็น
    อุบัติเหตุ หมายถึง  เหตุการณ์ใด ก็ตามที่เกิดขึ้นมิได้ตั้งใจ หรือมิได้คาดคิดมาก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สินของคนเรา
    อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเหตุการณ์นั้นต้องทำให้คนอื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย
    อุบัติเหตุ (Incidence) คือ เหตุการณ์ซึ่งเกิด (อุบัติ) ขึ้น อาจจะเป็นเหตุการณ์ดี หรือเหตุการณ์ร้ายก็ได้    ส่วนอุบัติภัย (Accident) คือเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดฝันมาก่อน โดยไม่เจตนา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน เป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ และอาจทำให้สูญเสียชีวิตได้ด้วย การใช้คำ “อุบัติเหตุ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Accidents ที่แล้ว ๆ มาจึงไม่ตรงกับศัพท์ที่ถูกต้อง แต่ก็ได้ใช้กันมานาน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว 
    อุบัติเหตุ (Incidence) หมายถึง  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายหรือเหตุการณ์ดีก็ได้  แต่ถ้าเป็นอุบัติเหตุแล้วมักจะนึกถึงแต่เหตุร้ายไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องดี จึงตรงกับคำว่า Accidents ซึ่งนิยมใช้กันมาจนเป็นที่ยอมรับแล้ว ส่วน อุบัติภัย (Accident) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ไม่คาดฝันมาก่อน เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งอาจเป็นอันตราย ถึงแก่เสียชีวิตได้ทั้งกับตนเองและผู้อื่น
    อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์หรืออันตรายที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดคิดหรือตั้งใจมาก่อน ซึ่งมีผลให้บุคคลได้รับบาดเจ็บ อันตราย ตาย หรือสูญเสียทรัพย์สิน ส่วนคำว่า “อุบัติภัย” ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างกว้างขว้างนั้น มีความหมายว่า “อันตรายหรือภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคล” คำว่า “อุบัติเหตุ” หรือ “อุบัติภัย” จึงมีความหมายคล้ายกัน 
      สรุปได้ว่า  อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง  เหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน  บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต


ID=2576,MSG=3028
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

1. ทฤษฎีโดมิโนของการเกิดอุบัติเหตุ
    ผู้คิดทฤษฎีนี้ คือ H.W. Heinrich  ตามทฤษฎีกล่าวว่า การบาดเจ็บ และความเสียหายต่างๆ เป็นผลสืบเนื่องมาจาอุบัติเหตุ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยเปรียบได้กับตัวโดมิโนที่เรียงกันอยู่ 5 ตัว ใกล้กัน เมื่อตัวที่หนึ่งล้ม ตัวโดมิโนที่อยู่ถัดไปก็จะล้มตามไปด้วย ตัวโดมิโนทั้งห้าตัว มีดังนี้
  1. ภูมิหลังหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคล (Social Environment or Background)
  2. ความบกพร่องของบุคคล (Defects of Person)
  3. การกระทำและ/หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts/Unsafe Conditions)
  4. อุบัติเหตุ (Accident)
  5. การบาดเจ็บหรือความสูญเสีย (Injury/Damages)
    ตัวโดมิโนทั้งห้าตัว แสดงให้เห็นว่า ภูมิหลังหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคล เช่น สภาพครอบครัว  ฐานะความเป็นอยู่ การศึกษา มีผลต่อความบกพร่องผิดปกติของบุคคลนั้น หรือมีทัศนคติ ต่อความปลอดภัยไม่ถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระทำและ/หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และผลที่ตามมาก็คือ การบาดเจ็บหรือความสูญเสีย
    การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโน หรือทฤษฎี “ลูกโซ่ของอุบัติเหตุ” (Accident Chain) นั้นก็คือ การตัดลูกโซ่อุบัติเหตุซึ่งเป็นการไม่ให้ลูกโซ่อุบัติเหลุล้มลง (โดมิโนตัวที่ 4) โดยกำจัดการกระทำและ/ หรือสภาพการณ์ที่ไม่เหมาะสมออกไป (โดยมิโนตัวที่ 3) การบาดเจ็บหรือความสูญเสียก็จะไม่เกิดขึ้น สำหรับภูมิหลังหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคล (โดยมิโนตัวที่ 1) และความบกพร่องของบุคคล (โดยมิโนตัวที่ 2) เป็นเรื่องที่แก้ไขและปรับปรุงได้ยากกว่า


ID=2576,MSG=3029
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

2. ทฤษฎีการขาดดุลยภาพ (Imbalance Cause Theory)
    เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึง การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการขาดดุลยภาพชั่วขณะหนึ่ง ระหว่างพฤติกรรมของคน กับระบบการทำงานที่บุคคลนั้นกระทำอยู่
    การป้องกันไม่ให้เกิดการขาดดุลยภาพได้โดยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมของคน และระบบการทำงานควบคู่กันไป
    สำหรับเรื่องการเกิดอุบัติเหตุหนี้ ปรากฏว่าได้มีผู้ทำการศึกษาเพื่อสนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นด้วย กล่าวคือ ได้ศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการอุตสาหกรรม พบว่า อุบัติเหตุเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยประมาณร้อยละ 88 และเกิดจากสภาวะไม่ปลอดภัยประมาณ  ร้อยละ 10 ส่วนอีกร้อยละ 2 เกิดจากสาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับสาเหตุที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมี 3 ประการคือ ความบกพร่องในการดูแลปฏิบัติงาน สภาวะจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน สภาวะจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน และสภาวะทางร่างกายของบุคคล


ID=2576,MSG=3030
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

3. ทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อน (Multiple Causation Theory)
    เอมอัชฌา  วัฒนบุรานนท์ กล่าวว่า แดน ปีเตอร์สัน (Dan Peterson) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้มาใช้โดยกล่าวว่า “อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการอยู่เบื้องต้น และสาเหตุเหล่านี้รวมตัวกันแบบไม่แน่นอน (Random) ก่อให้เกิดอุบัติเหติขึ้น” ทฤษฎีนี้ต่างจากทฤษฎีโดมิโน กล่าวคือ ทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อน ระบุว่า เหตุการณ์เกิดอุบัติเหตุ สืบเนื่องมาจากความบกพร่องของระบบบริหารการจัดการ เช่น การวางแผน การฝึกอบรม การตรวจสอบ การแต่ตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย การควบคุมและการกำหนดงาน ความรับผิดชอบ เป็นต้น ทฤษฏีนี้เน้นในแง่ระบบการจัดการ ซึ่งพิจารณาถึงการมีคณะกรรมการความปลอดภัย มีองค์กรและการบริหารจัดการ ทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อนจึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาก


ID=2576,MSG=3031
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

4. ทฤษฎีความเอนเอียงในการเกิดอุบัติเหตุ (Accident-Proneness Theory)
    ทฤษฎีความเอนเอียงในการเกิดอุบัติเหตุ (Accident-Proneness) หมายถึง ลักษณะบุคลิกภาพ ซึ่งมีแนวโน้มให้บุคคลได้รับอุบัติเหตุ แนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 โดยนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ได้ศึกษาลักษณะธรรมชาติของคนเราที่มีส่วนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งแยกประเภทบุคคลไว้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

บุคคลประเภทเอ็กซ (Type X)มีความเอนเอียงที่จะไม่เกิดอุบัติเหตุ(Non-Accident-Prone)
1. ผู้ที่มีระเบียบแบบแผน
    2. ผู้ที่มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต
    3. ผู้ที่พอใจในชีวิตประจำวัน
    4. ผู้ที่เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
    5. ผู้ที่ไม่เผด็จการ
    6.ผู้ที่ไม่ชอบโต้เถียงหรือทะเลาะวิวาท
    7. ผู้ที่นึกถึงผู้อื่น

บุคคลประเภทวาย (Type Y)มีความเอนเอียงที่จะเกิดอุบัติเหตุ(Accident-Prone)
1. ผู้ที่ไม่มีระเบียบแบบแผน
    2. ผู้ที่ไม่มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต
    3. ผู้ที่ไม่พอใจในชีวิตประจำวัน
    4. ผู้ที่ไม่สนใจในสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
    5. ผู้ที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์
    6. ผู้ที่ระงับอารมณ์ ความรู้สึกเกลียดชังยาก
    7. ผู้ที่นึกถึงแต่ตัวเอง

ส่วน Shaw and Sichel ได้รวบรวมลักษณะบุคลิกภาพของคนเราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุไว้ โดยพิจารณาลักษณะบุคคลที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุดังนี้

ลักษณะของผู้เสี่ยงอุบัติเหตุมาก

ผู้ที่บกพร่องทางจิตใจ เป็นโรคจิต โรคประสาท
ผู้ที่ไม่ฉลาด ขาดสมาธิ ไม่รู้จักสังเกต
ผู้ที่ขาดระเบียบวินัย
ผู้ที่ปรับตัวไม่ดี หรือปรับตัวไม่ได้
ผู้ที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง ขาดการควบคุมอารมณ์ อารมณ์ฉุนเฉียว
ผู้ที่ชอบริษยา ไม่มีความพึงพอใจ
ผู้ที่ขาดความอดทน ถูกครอบงำและข่มขู่ง่าย
ผู้ที่เห็นแก่ตัว คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน
ผู้ที่มีความเชื่อโบราณ ไม่มีเหตุผล
ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย ขาดวุฒิภาวะ
ผู้ที่ไม่รู้จักช่วยตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ
ผู้ที่มีความเชื่อมั่นตัวเองสูงเกินไป
ผู้ที่ชอบการแข่งขันมาก
ผู้ที่มีทัศนคติต่อต้านสังคม หรือมีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรม
ลักษณะของผู้ที่เสี่ยงอุบัติเหตุน้อย

ผู้ที่ควบคุมตัวเองได้ดี มีวุฒิภาวะ และมีสุขภาพดี
ผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสังคมได้และมีความรับผิดชอบ
ผู้ที่ควบคุมอารมณ์ได้ ไม่ก้าวร้าวมากเกินไป
ผู้ที่สามารถประเมินสถานการณ์และตัดสินใจได้
ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็ว โดยเฉพาะจากประสบการณ์และการทำผิดพลาด
ผู้ที่เป็นมิตร ร่าเริง และรู้จักการยอมรับ


ID=2576,MSG=3032
Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

Re: อุบัติเหตุ ความหมาย

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในแต่ละช่วงชีวิต ย่อมมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุได้เสมอ ดังนั้นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติเหตุ ก็มิใช่ว่าจะเป็นบุคคลที่ได้รับอุบัติเหตุเสมอ หรืออุบัติเหตุซ้ำซาก (Accident-repetitiveness) และผู้ที่มีความละเอนเอียงที่จำไม่เกิดอุบัติเหตุก็มิใช่จะรับประกันได้ว่า เป็นบุคคลที่มีภูมิต้านทานการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดไป ทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้เสมอ
      ในเรื่องพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุนั้น ได้ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ของคนงานซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตและการเกิดอุบัติเหตุของคนงาน โดย Alkorได้ตั้งหน่วยวัดขึ้นเรียกว่า “หน่วยการเปลี่ยนแปลงในชีวิต” (Life Change Units) และให้มูลค่าสำหรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เรียงตามลำดับความสำคัญไว้ แล้วสรุปเป็นตัวเลขว่าในช่วงเวลาสั้นหากบุคคลใดได้รับหรือพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จนมีค่าเกินระดับหนึ่งแล้ว จะได้รับผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน

http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/C2-4-1.html
http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/C2-4-2.html


ID=2576,MSG=3033


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 07:24:19am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com