การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia
สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำ... ก็คือ
1. สิ่งที่ต้องเตรียม ก่อนจะจองตั๋วก็คือ
-- ชื่อ-นามสกุล ของผู้โดยสาร สะกดเป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตรงกับพาสปอร์ต
-- วัน-เดือน-ปี เกิดของผู้โดยสาร
-- เลขที่บัตรประชาชน หรือ เลขที่พาสปอร์ต
-- วันหมดอายุของพาสปอร์ต
-- บัตรเครดิต ที่มีวงเงินพร้อมเรียบร้อย (ย้ำว่าเป็นบัตรเครดิตนะครับ บัตรเดบิตใช้ไม่ได้ – ยกเว้นบัตร Be First บางรุ่นที่ออกบัตรจากสำนักงานใหญ่ อาจจะใช้ได้ครับ) ถ้าไม่มีบัตรใช้บริการออนไลน์ของ SCB Easy ก็ได้

### คำถาม : ใช้บัตรเครดิตของคนอื่นจองได้ไหม ?? ###
คำตอบ : สำหรับแอร์เอเชีย จะใช้บัตรเครดิตของใครจองตั๋วก็ได้ครับ จะของพ่อแม่ เพื่อนฝูงก็ได้ (เพียงให้รู้แค่หมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก, ชื่อ-นามสกุลผู้ถือบัตร, เดือน-ปีหมดอายุของบัตร, เลข CCV 3 หลักท้ายบัตร และที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารบัตรเครดิต) ก็สามารถรูดซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียได้แล้ว

ในวันเดินทาง ก็พกบัตรประชาชนใบเดียว (ถ้าบินระหว่างประเทศก็พกพาสปอร์ต) ก็สามารถใช้เช็คอินได้ โดยเจ้าหน้าที่จะไม่ถามถึงบัตรเครดิตเลยครับ .... ไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะตอนสมัยเรียนผมก็ใช้บัตรเครดิตของพ่อรูดตลอด แห่ะๆๆๆ

แต่ว่า ถ้าการจองตั๋วแบบระยะกระชั้นชิด ไม่เกิน 24 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทาง ผู้โดยสารจะต้องแสดงบัตรเครดิตที่ใช้ในการจองตั๋ว พร้อมกับบัตรประชาชน ขณะทำการเช็คอินด้วยนะครับ

### คำถาม : ถ้าหากว่ากรอกผิดจะทำอะไรได้บ้าง ? ###
คำตอบ : ถ้าหากว่า กรอกข้อมูลวันเดือนปีเกิด, เลขที่บัตรประชาชน และ วันหมดอายุของพาสปอร์ตผิด สามารถโทรไปแก้ได้กับทางคอลล์เซนเตอร์ได้เลยครับ สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศขอแนะนำว่า ควรจะต้องแก้ให้ถูกต้องนะครับ มิเช่นนั้นอาจจะมีปัญหาได้

### คำถาม : ถ้าหากว่าสะกดชื่อมาผิดหล่ะ จะทำอย่างไร? ###
ตอบ : ตามปกติแล้ว ถ้าหากว่าการสะกดชื่อผิด แล้วทำให้ชื่อไม่ผิดไปจากคนเดิม เจ้าหน้าที่ก็จะแก้ไขชื่อให้สะกดถูกต้องได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ (สายการบินจะซีเรียสกับการเปลี่ยนแปลงชื่อมากๆ)

เช่น ถ้าหากว่าชื่อ Somporn แล้วสะกดผิดเป็น Sompor หรือ Sompon อันนี้เจ้าหน้าทีแก้ไขชื่อให้ได้เลยครับ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น Somchai หรือ Somphop อันนี้ก็อาจจะไม่ได้นะ

2. ก่อนจะมีโปรโมชั่น ถ้าหากใครมีโอกาส ลอง “ซ้อมจอง” ให้คล่องมือดูก่อนซักหน่อยนะครับ ... (เหมือนเวลาเตรียมตัวสอบหน่ะครับ จะได้ไม่ลนลานเวลาเจอของจริง)

ลองทำรายการจองดู (ยังไม่ต้องให้ถึงขั้นตอนตัดบัตรเครดิตก็ได้) ทำเอาให้คล่องเลยนะครับ แล้วถ้าหากมีข้อสงสัย ก็จะได้หาทางแก้ เวลาโปรโมชั่นออกมาจริงจะไม่ได้ลนลานครับ

เพราะมีตัวอย่างให้เห็นกันหลายรายแล้ว ไม่เคยจองหางแดงมาก่อน แล้วพอเจอโปร 0 บาทเข้าให้นี่ลนลานๆๆ  จองผิดจองถูก ขนาดผมเองมีโอกาสจองบ่อย ตอนโปรออกเวลา 23.00 น. เว็บดันติดๆ ล่มๆ ผมยังรู้สึกเครียดและลนลานเลย
(เว็บไซต์แอร์เอเชีย อิงเวลาตามประเทศมาเลเซีย GMT +8 นะครับ ถ้าโปรบอกว่าจะออกวันที่ 10 แสดงว่า คนไทยจะต้องเปิดจองตั๋ว 23.00 น. คืนวันที่ 9 ตามเวลาประเทศไทยครับ)

### คำถาม : แล้วทำไม ค้นหาเที่ยวบินใน  http://www.airasiaplus.com แล้ว ถึงค้นเจอราคา 0 บาท
แต่พอเวลาไปจองจริง ไม่พบราคา 0 บาทในเที่ยวบินนั้นๆ หล่ะ ?? ###
ตอบ : เนื่องจากเว็บแอร์เอเชียพลัส เค้าดึงข้อมูลจากเว็บแอร์เอเชีย โดยคิดฐานจากผู้โดยสาร 1 คนเท่านั้น
ดังนั้นเวลาเราเรียกดูค้นหาราคาโปรโมชั่น ระบบจะดึงข้อมูล แสดงเที่ยวบินที่มีโปร 0 บาททั้งหมดมาให้ดู ซึ่งในบางเที่ยวบินอาจจะมีที่นั่งว่างเหลือเพียง 1 ที่นั่งก็ได้ (แต่ปกติ สายการบินจะขายโปร 0 บาทในแต่ละเที่ยวบินมากกว่า 1 ที่นั่งอยู่แล้วครับ)
เมื่อเรามาค้นราคาในเว็บแอร์เอเชีย แล้วเลือกจำนวนผู้โดยสารไป 2 คน บางทีอาจจะไม่พบว่ามีโปร 0 บาทเหลืออยู่ก็เป็นได้

จึงขอแนะนำว่า ถ้าหากว่าใส่ผู้โดยสารไป 2 คนแล้วไม่เจอราคาโปรโมชั่น ให้ลองเลือกจองทีละ 1 คน
ก็จะได้ ผู้โดยสาร 1 คนได้ราคาโปรโมชั่น และ อีก 1 คนไม่ได้ราคาโปรโมชั่น (เพราะราคาคิดเป็นระดับขั้นบันไดครับ)

### คำถาม : ถ้าจองขาไปอีกเส้นทาง ขากลับอีกเส้นทาง อาทิเช่น ขาไป กรุงเทพ-มาเก๊า ขากลับ ฮ่องกง-กรุงเทพ จะทำอย่างไร? ###
คำตอบ : ต้องแยกจอง 2 รอบ เป็น 2 booking ครับ ส่วนตัวผมแนะนำให้จอง ฮ่องกง-กรุงเทพ ก่อน เพราะน่าจะมีคนเล็งกันเยอะกว่า แล้วค่อยจอง กรุงเทพ-มาเก๊าครับ โดยสกุลเงินที่คิดเส้นทาง ฮ่องกง-กรุงเทพ จะคิดเป็น HKD สกุลเงินอิงตามต้นทางนะครับ เวลาตัดเงินสกุลแปลกๆ (ที่ไม่ใช่ THB หรือ IDR) เงินจะตัดที่มาเลเซีย ใครใช้บัตร Mastercard รูดจะได้คะแนนสะสมเป็น 2 เท่าด้วยนะครับ (โปร 0 บาทงวดนี้ ผมได้คะแนนสะสม KTC ROP มาเพียบเลยหล่ะครับ)

### คำถามยอดฮิตเช่นกัน : ถ้าเวลาจองๆ โปร 0 บาทแล้วเจอเว็บล่ม ให้ทำไงดี ?? ###
คำตอบ : สำหรับตัวผม แนะนำให้กด refresh หรือกด F5 ไปเรื่อยๆ ครับ  อย่าเพิ่งปิดหน้าต่างไปนะครับ ไม่งั้นราคาที่เราจองอาจจะหายไป แต่ว่าถ้าหากว่า หน้าจอไปค้างถึงช่วงกำลังตัดเงินจากบัตรเครดิต อย่าไปกด refresh นะครับ เพราะอาจทำให้ตัดเงินซ้ำซ้อนได้

สำหรับโปร 0 บาทรอบนี้ ผมแนะนำว่า ให้ลอง กด back ไปหน้าจอตอนคีย์ข้อมูลบัตร แล้วกดจองให้ตัดบัตรอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งปกติแล้ว ถ้าหากว่า booking มีการซ้ำซ้อนกัน สายการบินจะคืนเงินส่วนที่ซ้ำกันให้นะครับ (หมายถึงชื่อผู้โดยสารคนเดียวกัน บินไฟล์ทเดียวกัน แต่โดนตัดเงินซ้ำ 2 ครั้งหน่ะครับ)

ถ้าเป็นกังวลว่า บัตรเครดิตถูกตัดไปหรือยัง แนะนำให้ลองโทรถามที่คอลล์เซนเตอร์ของบัตรเครดิตที่ใช้งานอยู่นะครับ
สำหรับบัตรเครดิต KTC คอลล์เซนเตอร์ เปิด 24 ชั่วโมง แต่อาจจะมีการปรับปรุงระบบช่วง 0.00 – 0.30 น.ของทุกวันนะครับ

ส่วนใครที่ไม่อยากเป็นกังวลว่าจะเจอเว็บล่ม แนะนำให้จองช่วงหลังตี 1-2 เป็นต้นไปครับ เราจะจองได้แบบฉลุยๆ เลยทีเดียว เพียงแต่ว่าเส้นทางดีๆ บางเส้นทางฮิตอย่าง ฮ่องกง อาจจะเจอคนสอยเอากันไปเยอะพอสมควรแล้ว

หรือถ้าใครไม่คิดอะไรมาก จะจองผ่าน http://mobile.airasia.com ก็ได้ครับ เห็นว่ามีค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 20 บาท เห็นใครหลายๆ คนจองก็บอกว่ารวดเร็วทันใจดีนะครับ ...

### คำถามยอดฮิต : แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตั๋ว confirmed แล้ว?? ###
คำตอบ : ถ้าหากการตัดบัตรผ่าน จะขึ้นหน้าจอสรุปการจอง ตรงสถานะจะเขียนว่า Confirmed ครับ
แต่ถ้าหากว่าบัตรตัดไม่ผ่าน อาจจะขึ้นว่า Pending หรือ Needs Payment ก็ให้คลิ๊ก Add Payment ด้านข้างขวาได้เลยเพื่อจ่ายเงินอ่ะนะครับ ถ้าหากไม่รีบชำระ booking นี้ก็จะถูกยกเลิกไป
ส่วนอีเมล์ที่จะส่ง Itinerary มาทาง E-mail ในช่วงโปรโมชั่นอาจจะดีเลย์ได้ถึง 2-3 วันเลยนะครับ ใจเย็นๆๆ

### คำถามยอดฮิต : โปร 0 บาท เลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ไหม ??? ###
คำตอบที่ตอบบ่อย : โปร 0 บาท (หรือโปรโมชั่นอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่ม Economy Promotional Fare อาทิเช่นพวกโปร 499, 550, 750, 799, 990 บลาๆๆ) เป็นกลุ่มราคาประหยัด สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินและวันเดินทาง โดยมีค่าธรรมเนียม 535 บาทสำหรับภายในประเทศ และ 850 บาทสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และต้องชำระส่วนต่างราคาด้วย เบ็ดเสร็จแล้วค่าเลื่อนก็เป็นพันกว่าบาทหล่ะครับ จึงทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะไม่เปลี่ยนตั๋ว แต่เลือกที่จะ "ทิ้งตั๋ว" แทน
แต่ตั๋วประเภท 0 บาทนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อผู้โดยสารได้ครับ !!!
เพื่อป้องกันพ่อค้าหัวใส เอาตั๋วโปรถูกๆ ไปขายต่อหน่ะครับ ....

### คำถามยอดฮิต : แล้วถ้าจองโปร 0 บาทไว้แต่บินไม่ได้ ไม่ได้เลื่อน แล้วก็ต้อง "ทิ้งตั๋ว" จะได้เงินอะไรคืนบ้าง?? ###
คำตอบ : เราสามารถขอเงินค่าภาษีสนามบินคืนได้ครับ โดยติดต่อสายการบิน หลังจากวันเดินทางที่เราจองไปแล้วนะครับ
อย่างเช่นถ้าจองไปบาหลี เราจ่ายไป-กลับ 1,170 บาท สิ่งที่เราเรียกคืนได้คือ ภาษีสนามบินสุวรรณภูมิ 700 บาทครับ (ส่วนภาษีสนามบินงูราไร บาหลี สายการบินยังไม่ได้รียกเก็บ เค้าให้ผู้โดยสารไปจ่ายในวันเดินทางเองครับ)

แต่ในเงื่อนไขของสายการบินอาจจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมขอคืนเงิน 100 บาทนะครับ

แต่จากประสบการณ์ของสมาชิกหลายๆ ท่านที่เห็นมา
จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน อาทิเช่นเที่ยวบินระหว่างประเทศ ออกจากสุวรรณภูมิ ก็จะได้ภาษีสนามบินคืน 700 บาท ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศก็จะได้ภาษีสนามบินคืน 107 บาท (100 บาท + vat 7%) ครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
### คำถามยอดฮิต : หลังจากที่เราจองตั๋วไปแล้ว หากสายการบินมีการยกเลิกเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เราจะทราบได้อย่างไร ?? ###
ตอบ : ตามปกติแล้วสายการบินจะมีการส่ง sms มาบอกแจ้งการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เพียงแต่ว่า อาจจะส่งค่อนข้างกระชั้นชิด เราอาจจะวางแผนอะไรใหม่ได้ไม่ทันการ !!! ดังนั้น ที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ ให้เข้าไปในเว็บไซต์ของแอร์เอเชีย แล้วทำรายการจอง เหมือนกับที่เราจองตั๋วตอนแรก เพื่อดูว่าเที่ยวบินที่เราจอง ยังคงมีให้บริการ ตามเวลานั้นอยู่หรือไม่

ซึ่งถ้าหากว่า เวลาเราเปิดเข้าไปดูในระบบการจองแล้ว ไม่พบเที่ยวบินนั้น
สามารถตีความได้ 2 อย่างครับ
1. เที่ยวบินนั้น "เต็มไปแล้ว" --> ให้ดูจากเที่ยวบินอื่นๆ ที่เวลาใกล้เคียงกัน ถ้าหากว่าระดับราคาค่าโดยสารขึ้นสูงไปแล้ว แสดงว่าเที่ยวบินนี้น่าจะเต็ม ระบบจึงไม่แสดงขึ้นมาว่าจองได้ ....
2. เที่ยวบินนั้นถูกยกเลิก หรือถูกควบรวมเที่ยวบิน ให้ติดต่อคอลล์เซนเตอร์ เพื่อถามว่ามีการเปลี่ยนแปลงเวลาไปบินกี่โมง หรืออย่างไรครับ ....

### คำถามยอดฮิต : ความรับผิดชอบของสายการบิน ในกรณีที่สายการบินเป็นคนบอกยกเลิกเที่ยวบิน หรือเปลี่ยนแปลวเวลาออกเดินทาง มีอะไรบ้าง ???
ตอบ : แบ่งเป็นกรณีนะครับ

กรณีที่เที่ยวบินมีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกเดินทางใหม่
หรือมีการควบรวมเที่ยวบิน ให้ผู้โดยสารไปเดินทางในเที่ยวบินเวลาใกล้เคียงกัน
ถ้าหากว่า มีการเปลี่ยนแปลงเวลาไปจากเดิม ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
-- ปกติสายการบินจะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เลื่อนอะไรไม่ได้ครับ
(แต่จริงๆ กรณีนี้ สามารถคุยกันได้กับคอลล์เซนเตอร์ ถ้าหากมีธุระจำเป็นจริงๆ แล้วสายการบินดีเลย์ออกไป อาจจะขอเจรจาให้บินไฟล์ทก่อนหน้านั้นก็ได้)

ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกเดินทางใหม่
เปลี่ยนไปจากเดิมมากกว่า 2 ชั่วโมง จนกระทั่งถึง 3 ชั่วโมง
-- ผู้โดยสารสามารถขอเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน ไปเป็นเที่ยวบินก่อนหน้านั้น หรือเที่ยวบินหลังจากนั้นได้
-- ผู้โดยสารสามารถขอเลือกคืนเงินเป็น "Credit Shell" ได้

และ ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกเดินทางใหม่
เปลี่ยนไปจากเดิมมากกว่า 3 ชั่วโมง หรือ มีการยกเลิกเที่ยวบินจากทางสายการบิน
-- ผู้โดยสารสามารถขอเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เลื่อนไปได้ภายใน 7 วันนับจากวันที่เลือกเดินทาง (อาทิเช่นจองเดินทางวันที่ 14 สามารถเลื่อนไปเดินทางได้ภายในวันที่ 7 - 21 จะเลื่อนไปมากกว่านี้ไม่ได้)
-- ผู้โดยสาร สามารถขอคืนเงินเป็น "Credit Shell" ได้
-- ผู้โดยสาร สามารถขอเงินคืนเต็มจำนวน โดยสายกายบินจะคืนเงินเข้าในบัญชีบัตรเครดิตที่ใช้จองตั๋ว หรือบัญชีเงินฝากภายใน 45 วันนับจากวันแจ้งเรื่องครับ ...
-- สายการบินแอร์เอเชีย ไม่มีนโยบาย Transfer ผู้โดยสารส่งให้ไปบินกับสายการบินอื่นนะครับ ดังนั้น เงื่อนไขที่เค้าเสนอให้ก็มีเพียงเท่านี้หล่ะครับ ...

### คำถามที่น่าสงสัย : แล้วกรณีที่เราจองเที่ยวบินแบบต่อเครื่องแล้ว แล้วสายการบินมีการเปลี่ยนแปลงตารางบินใหม่ จนกระทบต่อการต่อเครื่องบินของเรา สายการบินจะรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ??? ###
ตอบ : ตัวอย่างเช่น มีผู้โดยสารคนหนึ่ง จองตั๋วข้ามภาคกับแอร์เอเชีย บินแบบ เชียงใหม่-สุวรรณภูมิ-อุบลราชธานี ตอนที่จองตั๋วไฟล์ทอุบลฯ บินตอนบ่าย ต่อมาสายการบินเปลี่ยนให้มาบินตอนเช้าแทน ... จึงทำให้ต่อเครื่องจากเชียงใหมไม่ได้

สายการบินได้แสดงความรับผิดชอบดังนี้ครับ
-- เส้นทาง กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ ผู้โดยสารสามารถ ขอเงินคืนได้เต็มจำนวน หรือขอคืนเป็น Credit Shell ก็ได้ครับ แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน ก็ต้องเลื่อนไปบินอีกวันหนึ่ง เพราะสายการบินบินเส้นทาง อุบลราชธานี เพียงวันละ 1 เที่ยวบินเท่านั้น
-- เส้นทาง เชียงใหม่-กรุงเทพ-เชียงใหม่ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ผู้โดยสารจองต่อเนื่องกันเอง ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเวลาบิน และไม่ใช่ความผิดของสายการบิน สายการบินจึงรับผิดชอบได้แค่การ ขอคืนเงินเป็น "Credit Shell" เท่านั้นครับ !! จะขอเงินคืนเต็มจำนวนไม่ได้

### คำถามยอดฮิต : Credit Shell คืออะไร ???? ###
ตอบ : Credit Shell ก็คือวงเงินของเรา ที่สายการบินได้เก็บไว้ (ให้นึกถึงว่าสายการบินเป็นธนาคารแอร์เอเชียนะครับ)
ในกรณีที่สายการบินยกเลิกเที่ยวบิน หรือมีการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน
ผู้โดยสารสามารถเลือกเอาเงินนี้เก็บไว้ในระบบเพื่อใช้จองตั๋วในคราวต่อไปได้ โดยปกติวงเงินนี้จะมีอายุจำกัด จะต้องใช้ภายในระยะเวลาที่สายการบินกำหดครับ

ขออนุญาตก๊อปปี้คำตอบของลุงหนุ่มเมืองกรุงมานะครับ ... จากกระทู้ของป้าแพ๊ท
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E7557245/E7557245.html
แกอธิบายเรื่อง หอยเงินเชื่อ = Credit Shell (patj, 2552) เอาไว้ละเอียดทีเดียวเชียวครับ ...


ID=2455,MSG=2771
Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia



อธิบายเรื่องหอยนิดนึงนะครับ
Credit Shell มี 2 แบบครับ คือ Credit Shell ขั้นเทพ และ Credit Shell ฮวยเซ็ง

Credit Shell ขั้นเทพ
- Booking นั้นต้องจองโดยสมาชิกแอร์เอเชียที่ Login ในขณะจอง
- มีความผิดที่เกิดจากสายการบิน เช่น เลื่อนเวลาบิน ยกเลิกเที่ยวบิน
- สายการบินยินดีทำเครดิตเชลนี้ให้ เมื่อผู้โดยสารที่เป็นสมาชิกร้องขอ
- Credit Shell ขั้นเทพ ไม่มีการตั้งรหัสใหม่ รหัสที่ใช้ก็คือรหัสเวลา Login ของสมาชิกอยู่แล้ว
- Credit Shell ขั้นเทพ ใช้ซื้อตั๋วออนไลน์ได้ทุกโปร แม้แต่โปร 0 บาท !!! ว้าว

Credit Shell ฮวยเซ็ง (เป็นภาษาฮกเกี้ยนมั้งครับ แปลว่าอะไรก็ลองผวนดู หุหุ)
- Booking นั้นจองโดยคนทั่วไปๆ หรือจองโดยสมาชิกในขณะที่ไม่ได้ Login
- มีความผิดที่เกิดจากสายการบิน เช่น เลื่อนเวลาบิน ยกเลิกเที่ยวบิน
- สายการบินยินดีทำเครดิตเชลนี้ให้ แม้ว่าผู้โดยสารจะขอ refund (ขยั้นขะยอเป็นพิเศษ)
- Credit Shell ฮวยเซ็ง ต้องการตั้งรหัสใหม่ เพื่อใช้ในโอกาสข้างหน้า
- Credit Shell ฮวยเซ็ง ใช้ซื้อตั๋วได้เฉพาะราคาแพงๆ ไม่มีโปรใดๆทั้งสิ้น
- Credit Shell ฮวยเซ็ง ห้ามใช้หน้าเวป ต้องใช้ผ่านเจ้าหน้าที่ซึ่งคิดค่าบริการอีก...เฮง เอ๊ย ฮวยเซ็งมั้ยล่ะครับ

ดังนั้น เวลาจองตั๋วแอร์เอเชียครั้งต่อไป สมัครสมาชิกแล้ว Login ซะนะครับ เผื่อจับผลัดจับผลูต้องมีหอยพวกนี้ไว้ในมือเข้า มันจะได้เป็นหอยเทพไม่ใช่หอยเซ็งๆอ่ะครับ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
### คำถาม : แล้วแบบไหนหล่ะจึงจะเรียกว่าโปร 0 บาท ? ###
คำตอบ : โปร 0 บาท เวลาค้นหาเที่ยวบินมา ตรงที่เป็นราคาค่าโดยสาร จะต้องขึ้นมาว่า 0 THB ครับ
เห็นหลายๆ คนคิดว่า เค้าเปิดขาย 0 บาท เที่ยวบินอะไรก็ 0 บาท รีบจนลืมดูไปว่า ตรงช่องราคาค่าโดยสารจะต้องขึ้นว่า 0 THB แบบในภาพนี้ด้วย บางคนก็เลยเสียรู้หางแดง จองตั๋วไปซะอย่างแพงกว่าปกติเลยทีเดียวเชียว เวลาจองต้องดูดีๆ นะครับว่าค่าโดยสารต้องขึ้นเป็น 0 THB แล้วรวมภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ อีกเล็กน้อย (อาทิเช่นบินไปฮ่องกง โปร 0 บาท ไป-กลับ ต้องจ่าย 2,068 บาท ดังภาพนี้เท่านั้นครับ)

ระหว่างขั้นตอนการจองตั๋ว...
ปกติแอร์เอเชียจะเสนอบริการต่างๆ มาขายมากมาย ในขั้นตอนการจองตั๋วครับ อาทิเช่น

1. บริการโหลดกระเป๋า Supersize Baggage
ตอบ : เราสามารถจะเลือกโหลดกระเป๋าตอนนี้เลยก็ได้ หรือจะไปเลือกชำระเงินทางคอลล์เซนเตอร์ หรือเคาน์เตอร์ที่สนามบินในภายหลังก็ได้ครับ แต่จะต้องดำเนินการก่อนเวลาออกเดินทางอย่างน้อย 4 ชั่วโมงครับ มิฉะนั้นจะต้องจ่ายในอัตราปกติ (อันแสนแพง ภายในประเทศเริ่มต้นที่ 100 บาท) หรือจะแจ้งความประสงค์ตอนทำ เว็บเช็คอิน (ปัจจุบันเช็คอินได้ทุกเส้นทางทั้งในและระหว่างประเทศครับ) ก็ได้ ตอนทำรายการเค้าก้จะให้รูดบัตรเครดิตชำระค่าโหลดกระเป๋าตอนนั้นเลย

2. บริการจำหน่ายอาหาร
ตอบ : ถ้าหากใครต้องการได้อาหารในราคาที่ประหยัดลงประมาณ 20% เค้าบังคับต้องเลือกเลยครับ
เพราะเราไม่สามารถกลับมาย้อนว่าจะเลือกกินอาหารนี้ ในภายหลังได้อ่ะครับ อาทิเช่นเมนูอาหารร้อน 90 บาท
ถ้าเลือกตอนที่กำลังจองตั๋วจะเหลือ 70 บาท เท่านั้น ก็ลองพิจารณาดูนะครับว่าจะคุ้มกันไหม ...
แต่ว่าอย่างโปร 0 บาท ใครจะไปรู้ว่าอีก 11 เดือนข้างหน้าเราอยากจะกินอะไรบนเครื่องจริงไหมครับ ???

3. บริการเลือกที่นั่ง Pick A Seat
ตอบ : เราสามารถจะเลือกที่นั่งตอนนี้เลยก็ได้ หรือ จะเก็บไว้เลือกทีหลังก็ได้ครับ โดยมีหลายช่องทาง
-- ผ่านทางเว็บไซต์ ล๊อกอินเข้าไปดูตรงส่วน Manage My booking แล้วก็เข้าไปดูใน Booking ของเรา เลือกที่นั่งได้ตามอัธยาศัย แล้วก็คลิ๊ก Add Payment เพื่อชำระตัดเงินค่าเลือกที่นั่งผ่านบัตรเครดิตครับ แต่ว่า ข้อเสียของการเลือกที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ก็คือ สมมุติว่า ใน Booking เดียวกันมีผู้โดยสารทั้งหมด 4 คน ระบบจะบังคับให้เลือกที่นั่งให้กับผู้โดยสารทั้ง 4 คนนะครับ จะแยกเลือกเฉพาะผู้โดยสารบางคนไม่ได้ ....
-- เลือกที่นั่งผ่านทางคอลล์เซนเตอร์ หรือ ทางเคาน์เตอร์ที่สนามบิน อันนี้สามารถเลือกที่นั่งให้กับผู้โดยสารเป็นรายคน และเฉพาะคนก็ได้ครับ แล้วชำระเงินค่าเลือกที่นั่งตรงนั้นเลย

4. บริการขายประกันภัย Go Insure
ตอบ : ถ้าใครต้องการซื้อประกันเค้า บังคับต้องซื้อตอนนี้เลยครับ จะไปซื้อย้อนหลังไม่ได้อีกแล้ว เพราะเค้าไม่ขายครับ .... ถ้าเราตัดสินใจไม่เอาประกันก็คลิ๊กเลือก No, thank you แล้วถ้าขึ้น pop up มาก็คลิ๊ก Cancel เท่านั้นครับ ....

-----------------------------------------------------------------------------
### คำถามยอดฮิต : บินหางแดงเราจำเป็นต้องซื้อประกันภัย Go Insure ไหม ?? ถ้าเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะตายฟรีหรือเปล่า ???? ###
ตอบ : ตามปกติแล้ว สายการบินได้ทำประกันภัยไว้สำหรับผู้โดยสารอยู่แล้วหล่ะครับ สมมุติว่าเที่ยวบินเกิดอุบัติเหตุ แล้วมีผู้โดยสารเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทประกันภัยที่สายการบินได้ทำประกันไว้ ... จะชดใช้ตามวงเงินที่กำหนดครับ อย่างน้อยก็หลักล้านบาท (เห็นว่าตอนเครื่องการบินไทยตกที่สุราษฎร์ธานีก็ได้ คนละ 6-7 ล้านบาทนะครับ)

แต่สำหรับผู้โดยสารที่ซื้อประกันภัย Go Insure แล้วเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ จนผู้โดยสารเสียชีวิต นอกจากจะได้รับเงินประกันหลักล้านบาทตามปกติจากสายการบินแล้ว ยังจะได้รับเงินประกันเพิ่มเติมจากบริการ Go Insure ที่ซื้อไว้อีก 2-3 ล้านบาท แล้วแต่เงื่อนไขของประกันภัยครับ (In flight หรือ Comprehensive)

ส่วนผู้โดยสารที่ใช้ บัตรเครดิต Platinum หรือ Titanium ของตนเอง
รูดซื้อตั๋วเครื่องบินให้ตนเองบินเอง ไม่ว่าจะสายการบินอะไรก็ตาม
ปกติบัตรเครดิตจะมีวงเงินประกันอุบัติเหตุไว้ ถ้าหากว่าเครื่องบิน (หรือการเดินทางสาธารณะอื่น เช่นเราเอาบัตรเครดิตรูดซื้อตั๋วรถทัวร์ หรือรถไฟไว้) เกิดอุบัติเหตุจนทำให้ผู้โดยสาร "ซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิต" เสียชีวิต ทางบัตรเครดิตจะชดใช้สินไหมทดแทน สำหรับบัตร Platinum 20 ล้านบาท และบัตร Titanium 4 ล้านบาท

ย้ำว่าผู้ถือบัตรจะต้องเป็นผู้เสียชีวิตนะครับ ประกันถึงจะจ่าย
ถ้าหากว่าเอาบัตร Platinum ของคนอื่น หรือของบุพการี หรือคู่สมรสไปรูดแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทำให้ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วเสียชีวิต ทางบัตรเครดิตเค้าไม่ได้รับประกันนะครับ เพราะว่าเค้าถือว่า ผู้ถือบัตรเครดิตยังคงมีชีวิตอยู่ ....

ตัวอย่างเช่น ... กรณีเที่ยวบินของวันทูโกที่ภูเก็ต ที่เป็นข่าวโด่งดังเรื่องประกันภัย 20 ล้านบาทจากบัตรเครดิต Platinum ปรากฎว่าทางบัตรเครดิตไม่จ่าย เพราะว่าผู้โดยสารที่เสียชีวิต ใช้บัตรเครดิต Platinum คนอื่นรูดซื้อตั๋วให้ตนเองเดินทาง (ผู้ถือบัตรยังคงมีชีวิตอยู่)

การใช้บัตรเครดิตซื้อตั๋วให้ตนเอง, คู่สมรส และบุตร (อายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์) เดินทางไปด้วยกันเค้าก็คุ้มครองอุบัติเหตุให้ด้วยนะครับ เพียงแต่สินไหมทดแทนสำหรับคู่สมรส และ บุตรจะลดลงจากปกติ 50%

ตัวอย่างเช่น ... กรณีที่บินกันยกครอบครัว อาทิเช่น พ่อ-แม่-ลูก (ลูกอายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์) บินกันไป 3 คน โดยใช้บัตรเครดิต Platinium ของคุณพ่อรูด ... แล้วปรากฎว่า เที่ยวบินเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ เสียชีวิตยกครัว ทั้งพ่อแม่ลูก
ผู้แทนโดยธรรม (อาจจะคุณปู่-คุณย่า -- บุพการีของคุณพ่อผู้ถือบัตรเครดิต)
จะได้รับสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงิน 20 + 10 + 10 = 40 ล้านบาทครับ ....

ถึงแม้ว่าตัวเลขนี้จะดูเยอะ แต่คงไม่มีใครอยากได้หรอกกระมังครับ .....

-----------------------------------------------------------------------------
เอ้าอีกคำถามนึง ที่ชอบถามกันบ่อยๆ
เลยเอาคลิ๊ปโฆษณามาแปะซักกะหน่อยนะครับ แห่ะๆๆ

เรื่องความเป็นไทย ของ ไทยแอร์เอเชีย ??
บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติไทยครับ
มีบริษัท AirAsia Berhad ประเทศมาเลเซีย ถือหุ้นอยู่ 49%
ส่วนที่เหลือ 51% เดิมทีในช่วงก่อตั้งสายการบินในปี 2546-2549
เป็นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
หลังจากนั้นเป็นของกลุ่มผู้บริหารคนไทยทั้งหมด (ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาครับ)

ถึงแม้ว่า สายการบินนี้ จะมีแอร์เอเชีย มาเลเซีย ถือหุ้นถึง 49%
แต่พนักงานที่ให้บริการเกือบทั้งหมดเป็นคนไทยนะครับ ...
นักบินที่ขับเครื่องก็เป็นคนไทย ลูกเรือก็เป็นคนไทย (มีลูกเรือจีนปนๆ มาบ้าง)
พนักงานภาคพื้นก็คนไทยด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อขั้นตอนการจองตั๋วเสร็จสิ้น...

ขึ้นหน้าจอ Confirmation แล้ว Booking ขึ้น Status = Confirmed เรียบร้อยก็เหลือเวลารอไปบินได้เลยครับ
ตามปกติจะมีอีเมล์ส่ง Itinerary เป็นไฟล์ pdf มาให้ทันที แต่ถ้าช่วงโปรโมชั่น อีเมล์อาจจะดีเลย์ได้ประมาณ 2-3 วันนะครับ

สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ผมแนะนำว่าควรจะ print ใบ Itinerary ไว้ด้วยให้พนักงานดูตอนเช็คอิน เป็นการแสดงว่ามีเที่ยวบินขากลับประเทศแน่นอน และเผื่อทาง ตม. ที่นู้นเค้าจะตรวจดูด้วยอ่ะนะครับ

ส่วนถ้าบินภายในประเทศ พกแค่บัตรประชาชนใบเดียวก็เอาอยู่แล้วหล่ะครับ .... ไม่จำเป็นต้อง print ใบอะไรอีกก็ได้
แต่ห้ามลืมบัตรประชาชนเชียวนะครับ ถ้าลืมบัตรประชาชนอาจจะอดขึ้นเครื่องได้ทีเดียวเชียวครับ ...

เคาน์เตอร์เช็คอินของแอร์เอเชีย... เปิดก่อนเวลาออกเดินทาง 2 ชั่วโมง และปิดก่อนเวลาออกเดินทาง 45 นาทีครับ
ที่สุวรรณภูมิ อยู่ Row E ครับ เคาน์เตอร์เช็คอินระหว่างประเทศคือ E1-E12 และภายในประเทศคือตั้งแต่ E14 เป็นต้นไปครับ แนะนำให้เผื่อเวลาเยอะๆ นะครับ เพราะคิวจะยาวมากๆๆ คนที่ตกเครื่องหางแดงเพราะรอคิวยาวและไม่เผื่อเวลาก็มีเยอะครับ ....

ส่วนคนที่เช็คอินแล้ว ก็อย่ามัวไปเอ้อละเหยนะครับ เส้นทางระหว่างประเทศ ถ้าเป็นไปได้ให้รีบไปเข้า ตม. เลยครับเพราะบางทีคิว ตม. จะยาวมากๆ กว่าจะผ่านไปได้วิ่งไปที่ Gate บางทีเครื่องอาจจะถอยออกไปแล้วก็เป็นไปได้ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศ ควรจะไปถึงหน้า Gate ก่อนเวลาเครื่องออกอย่างน้อย 20 นาทีนะครับ เพราะบางทีเที่ยวบินอาจจะออกก่อนกำหนดเวลาก็ได้ และเค้าอาจจะไม่รอเรานะครับ ....

เรื่องบริการเสริมมากมาย ที่หลายๆ คนสงสัยกัน ....

เรื่มจากเรื่องแรกสุด ประเด็นร้อนแรงเรื่อง Pick A Seat
(ต่อไปนี้จะไม่มีคำว่าเก้าอี้ดนตรีอีกแล้ว เหลือแต่การ random ที่นั่ง)
ซึ่งเป็นบริการใหม่ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมาครับ

ย้ำนะครับว่า หางแดง ไม่มี เก้าอี้ดนตรี อีกแล้วนะครับ !!
ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 บนบอร์ดดิ้งพาสของผู้โดยสารทุกคนจะมีหมายเลขที่นั่งระบุไว้อยู่ครับ ....

หลายๆ คนอาจจะทราบเรื่องบริการเลือกทีนั่ง (จ่ายตังค์) ของหางแดงกันบ้างแล้ว
แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า “แล้วทำเราไม่เลือกที่นั่งล่วงหน้า เราไม่จ่าย 50 บาทหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง ??”

ทีนี้ ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าระบบนี้ ผมเองก็รู้สึกหงุดหงิดเหมือนกัน
เพราะเป็นการจงใจบังคับให้ผู้โดยสารที่เดินทางด้วยกันจะต้องเสียเงินเลือกที่นั่งไว้ก่อน มิฉะนั้นอาจจะไม่ได้นั่งด้วยกัน !!

เพราะสายการบินจะทำการ random สุ่มที่นั่ง ผู้โดยสารที่ไม่ได้เลือกที่นั่ง กระจายแบบมั่วๆไปทั่วทั้งลำ
แบบไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ ครับ แม้ว่าจะจองมา Booking เดียวกันก็อาจจะถูกจับนั่งกระจายทั้งหมดเลยก็เป็นได้ ....

เห็นว่า 2 วันที่ผ่านมา ผู้โดยสารที่เดินทางกันเป็นกลุ่มโดนจับแยกกันก็เยอะครับ
บางคนเดินทางกัน 6 คนได้นั่งกระจายทั่วกันทั้งลำเลย แทนที่จะได้เล่นเก้าอี้ดนตรีแล้วอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม ....

กลายเป็นว่า ต่อไปนี้ ... เราจะต้องเสียเงิน 50 บาทเพื่อเลือกที่นั่งกันนะครับ
ถ้าไม่เลือก ก็ต้องยินดี ที่จะโดนจับไปนั่งตรงไหนก็ได้ แต่เวลาเครื่องไต่ระดับไปแล้วก็ย้ายได้ตามอัธยาศัยครับ ....


ID=2455,MSG=2772
Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

คือ สิ่งที่ผมอยากจะติติง ... คุณหางแดงก็คือ

คุณหางแดง ไม่เคยบอกเลยว่า ...
ถ้าคนที่ไม่ได้เลือกที่นั่ง (จ่ายเงิน 50 บาท) แล้วจะเป็นอย่างไร ??
ปล่อยให้คิด ปล่อยให้คาดเดากันไปต่างๆ นานา
ทั้งที่ ควรจะใช้สื่อทางหน้าเว็บไซต์ เป็นตัวบอกรายละเอียดการให้บริการ
เน้นถึงความสำคัญเรื่องการจองที่นั่งก่อน ถ้าไม่จองก็ต้องโดนไปนั่งตรงไหนไม่รู้นะ เหอๆๆ

สรุปก็คือ ... ถ้าใครไม่เลือกไว้ก่อน ก็โดนจับ random ที่นั่งนะครับ

ปกติ บนเครื่องแอร์บัส A320 ที่นั่งที่น่านั่งก็ ...
1. ที่นั่งช่วงแถว 1-19 เพราะช่วง Seat Pitch จะค่อนข้างกว้างกว่าแถวท้ายๆ
2. ที่นั่งเลขคึ่ช่วงท้ายเครื่อง อาทิเช่นแถว 25 หน้าต่างจะตรงกับแถวพอดี เวลาดูวิวก็ดูสบายดีครับ (ผมชอบแถว 25 มาก)
3. แถวที่ไม่แนะนำคือแถวสุดท้ายแถว 31 ครับ เพราะนอกจากจะปรับเอนนอนไม่ได้แล้ว ... ใครกดชักโครกทีก็ได้ยินแบบเต็มๆ เสียงดูดสุญญากาศนั้นดังจริงๆ ครับ เหอๆๆๆ

แต่ถ้าใครไม่คิดอะไร นั่งไหนก็ได้ เดี๋ยวเดียวก็ถึง
ไม่จำเป็นต้องเลือกที่นั่งก็ได้นะครับ ประหยัดดี
และ ถ้าลองเช็คดูว่าเที่ยวบินนี้ผู้โดยสารเยอะ-น้อย ก่อนก็จะประเมินได้ครับ ว่า ควรจะจองที่นั่งไว้ก่อนไหม ?? ถ้าคนเต็มๆ แน่นๆ หรือไฟล์ทยอดนิยมบินไกลๆ อย่าง บาหลี, ฮ่องกง, มาเก๊า จองที่นั่งไว้ก่อนก็ดีนะครับ ..

แต่ถ้าปกติไฟล์ทที่ผู้โดยสารน้อย เวลาใกล้ปิดเคาน์เตอร์เช็คอินก็ลองถามพนักงานดูก็ได้นะครับว่ามีที่ไหนว่างบ้าง ... เผื่อจะได้ย้ายไปนั่งตรงนั้นได้อย่างสบายใจ หรือจะรอย้ายตอนที่เครื่องไต่ระดับก็ได้ครับ

จากประสบการณ์ของผมเท่าที่เคยๆ เห็นๆ มา
ระบบการสุ่มที่นั่ง จะเริ่ม random ที่นั่งล่วงหน้าอย่างน้อย 12-24 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
(ถ้าเข้าไปเช็คที่ my booking จะพบว่ามีหมายเลขที่นั่งระบุไว้อยู่ไว้แล้ว)
ถ้าหากว่าจะเลือกที่นั่งก็ยังเลือกได้ (จ่าย 50 บาทสำหรับ Standard Seat และ 250 บาทสำหรับ Hot Seat) บางรายอาจจะเจอ random ที่ 40 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทางก็ได้ เป็นอะไรที่ไม่ตายตัวครับเป๊ะๆ

เมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่ง 4 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทาง
ผู้โดยสารจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงที่นั่ง ตามที่ระบบ random มาให้ได้ครับ ถ้าหากจะเปลี่ยน ผู้โดยสารรายนั้นจะต้องซื้อที่นั่ง Hot Seat ราคา 250 บาท เพื่อเปลี่ยนแปลงที่นั่งครับ ....

ส่วนผู้โดยสารที่ทำเว็บเช็คอินมา
ในช่วงเวลาก่อนระบบจะทำการ random ที่นั่ง
(ประมาณ 24-48 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทาง)
ผู้โดยสารที่เช็คอินเป็นคนแรกสุด (Sequence no. 1)
จะได้รับหมายเลขที่นั่ง 11A คนที่เช็คอินเป็นคนที่ 2 ก็จะได้ 11B และคนที่ 3 ก็จะได้ 11C ไปตามลำดับครับ

ซึงข้อเสียของที่นั่งแถวที่ 11 จะเป็นแถวที่นั่งแถวก่อนแถวทางออกฉุกเฉิน
จึงทำให้ที่นั่งแถว 11 นี้ไม่สามารถปรับเอนเบาะได้ครับ จะต้องนั่งหลังแข็งๆ

เท่าที่สังเกต แถว Hot Seat มักจะไม่ค่อยมีใครนั่งกัน
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนแปลงย้ายที่นั่งได้ตามอัธยาศัย
ตอนที่เครื่องบินไต่ระดับเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ (บางทีอาจจะเจอแอร์ดุได้)

ปกติแล้ว บริการเลือกที่นั่งล่วงหน้า Pick A Seat นี้ ...

ผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อบริการ เลือกจองที่นั่งล่วงหน้าได้ ตั้งแต่ตอนจองตั๋ว จนกระทั่ง 4 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทางครับ
วิธีการเลือกที่นั่งก็ทำได้ไม่ยากเลยครับ ตามนี้นะครับ ....

เริ่มจาก เข้าเว็บไซต์แอร์เอเชีย ล๊อกอินเข้าไปในระบบ
พอเข้าไปได้แล้วก็เลือกตรง Manage My Booking นี่หล่ะครับ ...

เข้าไปแล้วก็จะเห็นเที่ยวบินที่เราจองเอาไว้ (ยาวเหยียด แห่ะๆๆ)
คลิ๊กตรง view (ไอคอนด้านขวา) เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดใน booking ครับ

เมื่อเข้าไปแล้ว ก็จะมีรายละเอียด Booking ของเราอยู่

ตรงแถบด้านขวาจะมีข้อความว่า
"Change Seats"

เข้าหน้าจอนี้ ก็จะมีแผนผังที่นั่งครับ .....

อย่างในภาพเป็นเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737-300 (มีทั้งหมด 25 แถว แถวสุดท้ายคือแถวที่ 26 -- ไม่มีแถว 13) ส่วนเครื่องแอร์บัส A320 จะมีทั้งหมด 30 แถว (แถวสุดท้ายคือแถวที่ 31 ไม่มีแถว 13 เช่นกัน)

เลือกที่นั่งได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ถ้า Standard Seat ก็ 50 บาท (nett) และ Hot Seat สีแดงก็ 250 บาทครับ

จากภาพด้านล่างนี้จะเห็นว่า ที่นั่ง 6C, 10E และ 10F มีคนจ่าย 50 บาทเลือกที่นั่งไปแล้วครับ ....

### คำถามที่ถามบ่อย : ถ้าเราเลือกที่นั่งไปแล้ว เกิดเปลี่ยนใจอยากเลื่อนที่นั่งได้หรือเปล่า ??? ###
คำตอบ : ผู้โดยสารที่จ่ายเงินเลือกที่นั่ง 50 บาท (หรือ 250 บาทสำหรับ Hot Seat) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงย้ายที่นั่งใหม่ ย้ายไปที่นั่งที่ยังว่างอยู่ แบบออนไลน์ได้ฟรี เปลี่ยนกี่ครั้งก็ได้ (เข้าไปทำรายการตามปกติแบบนี้หล่ะครับ) จนกระทั่งก่อนเวลาออกเดินทาง 4 ชั่วโมง

หลังจากนั้นระบบจะ Fix ที่นั่งไว้แล้ว ไม่สามารถปรับแก้หรือย้ายที่นั่งใหม่ได้
ถ้าจากจะย้ายจริงๆ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็น Hot Seat 250 บาทจึงจะย้ายที่นั่งได้ หรือจะย้ายที่นั่งแบบไม่จ่ายเงินเพิ่ม ก็ต้องย้ายตอนที่เครื่องบินไต่ระดับได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ .....

### คำถาม : ที่นั่งไหนเป็นที่นั่งต้องห้ามบ้าง ??? ###
ตอบ : สำหรับเครื่องโบอิ้ง 737-300 ช่วงระยะ Seat Pitch จะเท่าๆ กับทุกที่นั่งอยู่แล้ว ยกเว้นแถวหน้าสุด กับตรง Emergency Exit ที่กว้างกว่าเพื่อน ส่วนแถวที่จะไม่มีหน้าต่างคือ แถวที่ 8 นะครับ แนะนำว่า ถ้าอยากนั่งริมหน้าต่างบนเครื่อง 737 ไม่ควรนั่งที่นั่ง 8A และ 8F ครับ...

ส่วนเครื่องแอร์บัส A320 ทุกที่นั่งมีหน้าต่างหมดครับ จะนั่งตรงไหนก็ได้ ช่วง Seat Pitch ตั้งแต่แถว 1-19 จะค่อนข้างกว้างกว่าทีนั่งตั้งแต่แถว 20-31 ครับ ช่วงท้ายเครื่องจะแคบๆ หน่อย ส่วนแถวที่ไม่แนะนำอย่างแรงคือ แถวที่ 31 ครับ เพราะว่านอกจากจะเอนเบาะไม่ได้แล้ว ยังอยู่ติดกับห้องน้ำ ใครเข้าห้องน้ำทีเสียงดูดชักโครกก็ดังสุดๆ หน่ะครับ ...

### คำถามยอดฮิต : เที่ยวบินนี้ เราควรจะนั่งฝั่งซ้าย หรือฝั่งขวาดี จะได้ไม่โดนแดดส่อง ?? ###
ตอบ : ให้ยึดแนวเหนือ-ใต้ เป็นหลักนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบินใดก็ตาม
ให้ยึดหลักนี้ ถ้าหากว่าบินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อาทิเช่นไปมาเก๊า, ฮานอย) ก็ให้ยึดแนวเหนือ-ใต้ นะครับ

ให้มองเครื่องบิน กำลังบินไปในทิศทางไหน แล้วด้านไหนที่จะโดนแดดส่อง
อาทิเช่น เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ (บินขึ้นเหนือ) ไฟล์ทเช้า แดดจะส่องทางด้านขวา (ทิศตะวันออก) ดังนั้นควรจะจะเลือกนั่งฝั่งซ้ายของเครื่องบิน (แถว A-B-C) ในขณะที่ถ้าบินไฟล์ทบ่าย แดดจะส่องทางด้านซ้าย (ทิศตะวันตก) ดังนั้นบินไฟล์ทบ่ายก็ควรจะนั่งทางขวา จะได้ไม่โดนแดด

เช่นเดียวกันกับไฟล์ทสายใต้ ลงไปภูเก็ต-กระบี่-หาดใหญ่ ลงไปถึงกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ ถ้าบินไฟล์ทเช้า แนะนำนั่งฝั่งขวา (D-E-F) เพื่อจะได้เห็นวิวทิวทัศน์อ่าวไทยที่สวยงาม แต่ถ้าบินไฟล์ทบ่าย ก็ควรนั่งฝั่งซ้าย (A-B-C) จะได้ไม่โดนแดดส่องครับ

ส่วนใหญ่ผมก็ยึดหลักตามนี้หล่ะครับ ดูตามทิศ และดูตามดวงอาทิตย์เป็นหลัก ครับว่าจะนั่งฝั่งซ้าย หรือ ฝั่งขวาดี ถึงแม้บางทีฝั่งหนึ่งวิวอาจจะดีกว่าอีกฝั่งหนึ่ง แต่ด้าหากเจอแดดส่อง ถึงถ่ายรูปไปก็ไม่สวย หรือจะเพ่งจะดูวิว ก็ย้อนแสงแสบตาเปล่าๆ ครับ

### คำถาม : ที่นั่งแถวไหนที่หน้าต่างตรงกับแถวที่นั่งพอดี ??? ###
ตอบ : สำหรับเครื่อง A320 นั้นไม่แน่ไม่นอนครับ สำหรับประสบการณ์ของผม แถว 25 กับแถว 28 หน้าต่างจะตรงกับแถวพอดีครับ
ส่วนเครื่องโบอิ้ง 737 ถ้าเป็นแถวเลขคู่ ปกติหน้าต่างจะตรงกับแถวที่นั่งนะครับ นะครับ ...  (แต่ถ้าเป็นแถวเลขคี่ หน้าต่างจะตรงกับพนักพิงพอดี มองออกไปนอกหน้าต่างได้ โดยไม่ต้องเอี้ยวตัว -- แต่สำหรับผมที่ชอบถ่ายภาพบนเครื่อง จะชอบแถวที่ หน้าต่างอยู่ตรงกลางระหว่างแถวพอดีอ่ะครับ ถ่ายภาพก็สะดวก)

เมื่อเลือกที่นั่ง คลิ๊กคอนเฟิร์มมาแล้ว ก็จะถึงหน้าจอสรุปการเลือกที่นั่งครับ
ก็คอนเฟิร์มต่อไป ....

หลังจากคลิ๊กคอนเฟิร์ม ก็จะกลับมาหน้า booking หน้าแรก

เห็นไหมครับว่า ตรง Booking Status ที่เดิมทีขึ้นว่า Confirmed
กลายเป็น In Process ไปแล้ว
ก็แปลว่า เราจะต้องจ่ายตังค์ก่อนครับ การเลือกที่นั่งจึงจะสำเร็จ

ตรงแถบด้านขวา จะมีข้อความขึ้นมาให้เลือกว่า
"Add Payments" คลิ๊กเข้าไปจ่ายเงินตรงนี้เลยครับ ...

ก็ถึงหน้าจอจ่ายเงินตามปกติที่เราคุ้นเคยกันแล้วหล่ะครับ ...

จะเห็นว่า เรามียอดคงค้างชำระอีก 50 บาท ก็รูดจ่ายเงินไปซะเลย
ใช้บัตรอีกใบหนึ่งก็ได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นบัตรเดิมตอนที่รูดซื้อตั๋วครั้งแรกครับ ....

รอเพียงแป๊บเดียว Booking เราก็กลับมา Confirmed อีกครั้ง
พร้อมกับหมายเลขที่นั่งที่ระบุมาเรียบร้อยแล้วครับ ....

ปล. ไฟล์ทนี้ นี่ผมจองก่อนหางแดงเลิกคิดค่าน้ำมันหน่ะครับ ...
แทบจุกอกเลย นอกจากไม่คิดค่าน้ำมันแล้ว ยังเจอโปร 0 บาท (โปรไม่เป็นไรไทยแลนด์) ในไฟล์ทนี้ด้วย สรุปก็คือโดนดัดหลังไปหลายร้อยครับ ทริปนี้ เหอๆๆๆ

ทีนี้ เราจะทำเว็บเช็คอิน หรือ คิออสเช็คอิน หรือ ไปเช็คอินด้วยตนเอง
ก็สบายๆ แล้วหล่ะครับ มีที่นั่งระบุชัดเจน ไม่ต้องกลัว Random ไปนั่งกับคนแปลกหน้า หรือโดนจับนั่งเป็นแซนวิชแล้วหล่ะครับ .....

ส่วนบริการโหลดกระเป๋า Baggage Supersize

ถ้าใครที่ไม่ได้เลือกไว้ตอนที่จองตั๋ว ค่อยมาเลือกตอนทำรายการเว็บเช็คอินก็ได้ครับ
จะมีขนาดไซส์ให้เลือกตอนทำรายการเลย แล้วก็จ่ายเงินรูดบัตรเครดิตตอนนั้น ง่ายสบายๆ ครับ

บริการโหลดกระเป๋าระบบใหม่นี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 ที่ผ่านมาครับ
จากแต่เดิมที่คิดค่าโหลดเป็นจำนวนชิ้นสัมภาระ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นเหมาจ่ายน้ำหนักแทน !!
จะโหลดกระเป๋า กี่ใบก็ได้ แต่น้ำหนักจะต้องไม่เกินตามที่ได้ซื้อน้ำหนักไว้
กรณีบินภายในและระหว่างประเทศ เลือกโหลดกระเป๋า 50 บาท โหลดกระเป๋าได้ 15 กิโลกรัม ไม่จำกัดจำนวนชิ้น
กรณีที่สัมภาระชิ้นใหญ่มาก ก็มีไซส์ใหญ่ให้เลือกคือ โหลดไม่เกิน 20 กิโลกรัม และ 25 กิโลกรัมตามลำดับครับ


ID=2455,MSG=2773
Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia



### คำถาม : แล้วผู้ร่วมเดินทาง Booking เดียวกันสามารถแชร์น้ำหนักกระเป๋ากันได้ไหม ??? ###
ตอบ : แชร์น้ำหนักร่วมกันได้นะครับ แต่ย้ำว่าต้อง Booking เดียวกันเท่านั้นนะครับ
ถึงแม้ว่าจะเดินทางเป็นครอบครัวนามสกุลเดียวกัน แต่คนละ Booking กันก็ไม่สามารถแชร์น้ำหนักกันได้
ปกติ 1 คนจะมีโควตาให้โหลดกระเป๋าได้ 15 กิโลกรัม
กรณีที่โหลดกระเป๋าน้ำหนักรวมกันไม่ถึง 15 กิโลกรัมอยู่แล้ว ก็คลิ๊กเลือกโหลดกระเป๋าแค่คนเดียวก็ได้ อีกคนหนึ่งไม่ต้องจ่ายค่าโหลดกระเป๋า แต่ถ้าโหลดกระเป๋าหลายใบ น้ำหนักรวมกันมากกว่า 15 กิโลกรัม ก็คลิ๊กเลือกโหลดกระเป๋า 2 คน จะได้โหลดกระเป๋าได้ 15 + 15 = 30 กิโลกรัม (แชร์กันได้ใน Booking เดียวกันครับ)

ทีนี้ ถ้าเราคลิ๊กโหลดกระเป๋า 2 คนเดินทางด้วยกัน Booking เดียวกันแล้ว
สัมภาระจะหนักเท่าไหร่ก็ได้ แต่น้ำหนักรวมต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม จะมี 2 ชิ้น ใบแรกหนัก 20 กิโลกรัม อีกใบหนัก 10 กิโลกรัมก็ได้หรือจะมีกระเป๋า 4 ใบ หนักใบละ 7 กิโลกรัม ก็ได้เช่นกันครับ ....

### คำถาม : แล้วถ้าทำเว็บเช็คอิน จะโหลดกระเป๋าอย่างไร?? ###
ตอบ : ปกติการทำเว็บเช็คอิน ในระบบจะมีให้เลือกว่าโหลดกระเป๋าอยู่แล้ว
ดังนั้น ในวันเดินทาง เราก็ไปสนามบินพร้อมกับบอร์ดดิ้งพาส กระดาษ A4 ที่ print ไปจากบ้าน ถ้าบินออกจากสุวรรณภูมิ ก็ตรงไปติดต่อที่ เคาน์เตอร์ D19 เพื่อส่งกระเป๋าโหลดลงใต้ท้องเครื่องบิน แล้วตัวเราก็ตรงไปที่ Gate ได้เลยครับ

แต่ถ้าไม่ได้ทำเว็บเช็คอินมา ก็ต้องไปเข้าคิวรอเช็คอินพร้อมโหลดกระเป๋า คิวยาวเหยียดตรง Row E (ดังภาพ คห. บนๆ ครับ)

### คำถาม : แล้วถ้าเราไม่จ่ายเงินค่าโหลดกระเป๋ามาก่อน แต่วันเดินทางเรามีสัมภาระจะโหลด จะต้องทำอย่างไรบ้าง ??? ###
ตอบ : ถ้าเราไม่ได้เลือกอะไรไว้เลย แล้วตรงไปเคาน์เตอร์เช็คอิน พร้อมกระเป๋าใบใหญ่ สายการบินจะคิดอัตราค่าโหลดตามปกติคือ 100 บาท ต่อ 15 กิโลกรัมแรก และส่วนที่เกินเค้าก็ชาร์จซะโหดครับ คือภายในประเทศ กิโลกรัมละ 86 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และไฟล์ทระหว่างประเทศประมาณ กิโลกรัมละ 160 บาท

เมื่อเราแจ้งความประสงค์ว่าจะโหลดกระเป๋าตรงเคาน์เตอร์เช็คอิน
เราจะต้องเดินไปชำระเงินตรงเคาน์เตอร์ขายตั๋ว (ได้ออกกำลังกาย)
แล้วเมื่อจ่ายเงินเสร็จ ถึงจะเอาใบเสร็จมารับบอร์ดดิ้งพาส แล้วตรงไปที่ Gate ครับ
แลดูวุ่นวายดีไหมครับ นอกจากจ่ายแพงแล้วยังเหนื่อยเดินอีกด้วย
จึงแนะนำว่า ถ้าจะโหลดกระเป๋าก็ให้คลิ๊กเลือกโหลดกระเป๋าไปก่อน สบายใจกว่าครับ

อ้อ ไหนๆ แล้วขอพูดถึงบริการใหม่
"คิออสเช็คอิน" ซักหน่อยนะครับ (Kiosk Check-in)

หลายๆ คนถ้าหากไปที่สนามบิน เชียงใหม่, ภูเก็ต หรือที่ LCCT กัวลาลัมเปอร์ (ตอนนี้ที่สุวรรณภูมิอาจจะยังไม่มี) อาจจะได้เห็นเครื่องสีแดงๆ ตั้งตระหง่านอยู่อ่ะนะครับ ...

วิธีการเช็คอินกับเครื่องนี้ก็ง่ายมากๆ ครับ
จะคีย์ Booking no. 6 หลักก็ได้ หรือเลขที่บัตรประชาชนของผู้โดยสารก็ได้
หรือถ้าใคร print ใบ Itinerary มาก็ใช้วิธียิงบาร์โค๊ดเอา ทำรายการแป๊บเดียวก็ได้บอร์ดดิ้งพาสมาแล้วหล่ะครับ

-----------------------------------------------------------------------------------
สารพัดคำถามเกี่ยวกับ "เว็บเช็คอิน" (การเช็คอินล่วงหน้าทางอินเตอร์เน็ต)

### คำถาม : เว็บเช็คอินคืออะไร ต่างจากเช็คอินปกติอย่างไร ??? ###
เว็บเช็คอิน คือการเช็คอินล่วงหน้าทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้โดยสารสามารถเข้าไปทำรายการเช็คอินด้วยตนเอง แล้วก็ print บอร์ดดิ้งพาสกระดาษ A4 ได้ที่บ้าน ล่วงหน้าก่อนเวลาออกเดินทาง 48 ชั่วโมง จนถึงก่อนเวลาออกเดินทาง 2 ชั่วโมงครับ

เวลา print บอร์ดดิ้งพาสกระดาษ A4 มาแล้วก็ถือบอร์ดดิ้งพาสใบโตๆ นี้ตรงไปผ่านด่านตรวจผู้โดยสารขาออก (Security Check) แล้วตรงไปที่ Gate ได้เลย โดยไม่ต้องแวะเคาน์เตอร์เช็คอินอีกครับ ...
เพียงแต่ว่า บนบอร์ดดิ้งพาสที่เรา print มานี้จะ "ยังไม่ระบุประตูขึ้นเครื่อง (Gate)" ผู้โดยสารที่เช็คอินมาด้วยระบบนี้ จะต้องสังเกตตามหน้าจอในสนามบินเอาเองว่า เที่ยวบินหางแดงนี้ เรียกขึ้นเครื่องที่ประตูอะไร แล้วก็ควรจะไปรอตรงหน้า Gate ก่อนเวลาออกเดินทางอย่างน้อย 20-30 นาทีครับ

### คำถาม ข้อดีและข้อเสียของการทำเว็บเช็คอิน มีอะไรบ้าง ??? ###
ตอบ : ข้อดีของการทำเว็บเช็คอิน ก็คือ ไม่ต้องไปเข้าคิวรอเช็คอินยาวๆ ที่สนามบินอีกแล้ว ไม่ต้องมีกำหนดเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องไปถึงเคาน์เตอร์เช็คอินก่อนเวลาออกเดินทางอย่างช้าที่สุด 45 นาที จะไปช้ากว่านั้นก็ได้ แต่ว่าเอาเป็นว่า ให้พาตัวเองไปถึงหน้า Gate ก่อนที่ Gate จะปิดก็แล้วกัน .... ถ้าผู้โดยสารขึ้นเครื่องครบแล้ว แต่เรายังไม่ไปแสดงตนหน้า Gate หางแดงเค้าก็ไม่รอเราเหมือนกันนะครับ ปล่อยทิ้งเหมือนกัน ....

ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ .... การทำเว็บเช็คอินทำให้การต่อเครื่องเป็นไปได้ง่ายมากๆ ครับ .... เราสามารถวางแผนบินภายในประเทศข้ามภาค อาทิเช่น เชียงใหม่-สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต หรือจุดหมายอื่นๆ  โดยใช้เวลาแวะต่อเครื่องที่สุวรรณภูมิเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

เพราะว่าเราได้ทำการเช็คอินล่วงหน้ามาแล้ว มีบอร์ดดิ้งพาสมาแล้ว พอเครื่องบินมาถึงสุวรรณภูมิ เราก็สามารถเดินตรงไปยัง Gate เที่ยวบินต่อไปได้เลย (ถ้ากรณีไม่โหลดสัมภาระก็เดินตัวปลิวได้ แต่ถ้าโหลดสัมภาระ ต้องแวะรับกระเป๋าที่สายพาน แล้วไปส่งกระเป๋าที่เคาน์เตอร์ D19 ตรงขาออกชั้น 4 ด้วยตนเอง -- ค่อนข้างวุ่นวายครับ จึงแนะนำว่า ถ้าจะต่อเครื่องก็ไม่ควรจะโหลดกระเป๋า)

ส่วน ข้อเสียของการทำเว็บเช็คอิน ก็คือ ถ้าหากมีสัมภาระ ยังไงก็ต้องไปแวะที่เคาน์เตอร์เช็คอินเพื่อโหลดสัมภาระอยู่ดี (สำหรับสนามบินอื่นๆ) ส่วนการเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ เราก็ตรงไปที่ เคาน์เตอร์ D19 เพื่อโหลดกระเป๋าได้เลยครับ ไม่ต้องไปรอเข้าคิวตรงเคาน์เตอร์ฝั่ง Row E แล้ว และจะต้องเอาสัมภาระไปโหลดก่อนเวลาออกเดินทางอย่างน้อย 60 นาทีนะครับ ....

แต่ว่า การ random ที่นั่งก็ยังคงมีผลในทุกรูปแบบการเช็คอินนะครับ
ย้ำว่า ถ้าหากว่าอยากได้ที่นั่งที่ตนปรารถนา หรือ เดินทางด้วยกันก็อยากนั่งด้วยกัน
ต้องจ่ายค่าเลือกที่นั่ง 50 บาท เลือกที่นั่งล่วงหน้าไปก่อนครับ ...

### คำถาม : ถ้าเราทำเว็บเช็คอินแล้ว print บอร์ดดิ้งพาสไม่ออก จะทำไงดี ???###
ตอบ : ไม่ต้องซีเรียสเลยครับ ... ทางแก้ไขง่ายๆ ก็คือ แนะนำให้ไปถึงสนามบินเร็วขึ้นเผื่อเวลาไปแวะที่เคาน์เตอร์เช็คอินซักกะหน่อย .... เพื่อ print บอร์ดดิ้งพาสใหม่ที่สนามบินก็เท่านั้นเอง ....

ถ้าบินออกจากกรุงเทพ แวะไปติดต่อ เคาน์เตอร์ D19 (ที่ส่งกระเป๋าโหลด สำหรับผู้โดยสารที่ทำเว็บเช็คอินมาแล้ว) ได้เลยครับ แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า print บอร์ดดิ้งพาสไม่ออก แล้วแสดงบัตรประชาชนกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่เค้าก็จะ print บอร์ดดิ้งพาสใบใหม่ออกมาให้เลยครับ

ส่วนการบินออกจากสนามบินอื่นๆ ในภูมิภาค ก็ติดต่อที่เคาน์เตอร์เช็คอินปกติ เจ้าหน้าที่เค้าก็จะ print บอร์ดดิ้งพาสให้ได้ ไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ ....

และระบบเว็บเช็คอินของแอร์เอเชียนี้ เราสามารถทำเว็บเช็คอินทีละหลายๆ คนในครั้งเดียวกันได้ ... (สูงสุดถึง 9 คน)
เวลาทำเว็บเช็คอิน เราสามารถคลิ๊กเลือกเช็คอินผู้โดยสารทั้งหมดใน booking ได้เลยครับ แล้วเวลา print ก็ print บอร์ดดิ้งพาสออกมาทีละแผ่น พอแผ่นแรกเสร็จแล้ว บนหัวมุมบนขวาของบอร์ดดิ้งพาสบนหน้าจอ จะมีปุ่มไอคอนแดงๆ เขียนว่า "Continue" ก็คลิ๊กเข้าไป ก็จะเห็นบอร์ดดิ้งพาสของผู้โดยสารคนที่ 2 และระบบก็จะขึ้น pop-up มาให้ print โดยอัตโนมัติ เราก็สั่ง print เรียบร้อย ...พอเรา print บอร์ดดิ้งพาสของคนที่ 2 เสร็จแล้ว ก็คลิ๊กที่ปุ่ม "Continue" เพื่อ print บอร์ดดิ้งพาสให้กับคนที่ 3 ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ครับ ...

ง่ายๆ สบายมากๆ ครับสำหรับบริการเว็บเช็คอิน ....

-----------------------------------------------------------------------------
อีกคำถามที่ถามกันเยอะ ... เจอถามทางหลังบ้านมาอยู่บ่อยๆ ครับ ...
เรื่อง เครื่องบินของไทยแอร์เอเชีย

ไฟล์ทไหนได้บินลำเก่า หรือลำใหม่ ???
โดยส่วนมาก ถ้าเช็คให้ชัวร์ ลองเข้าไปในระบบเลือกที่นั่งนะครับ ....  ถ้าหากเจอที่นั่งแถวสุดท้ายคือแถวที่ 26 ก็แปลว่าเป็นเครื่อง 737 แต่ถ้าแถวสุดท้ายเจอแถว 31 แปลว่าเป็นเครื่องแอร์บัส A320 ครับ

ตารางบินนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 29 มีนาคม - 30 เมษายน 2552 นะครับ
(ไทยแอร์เอเชียมีเครื่องแอร์บัส A320 จำนวน 9 ลำ)

เส้นทางบินที่ใช้เครื่องแอร์บัส A320 ทุกเที่ยวบิน  ได้แก่ ...
-- กรุงเทพ - ฮ่องกง (FD3693/3694)
-- กรุงเทพ - เซินเจิ้น (FD3622/3623)
-- กรุงเทพ - กวางโจว (FD3648/3649)
-- กรุงเทพ - บาหลี (FD3677/3678 )
-- กรุงเทพ - โฮจิมินห์ซิตี้ (FD3724/3725)
-- กรุงเทพ - จาร์กาต้า (QZ7716/7717 -- Indonesia AirAsia)
-- กรุงเทพ - ยะโฮร์บารู (AK681/680)
-- ภูเก็ต - สิงคโผร์ (FD3524/3525)
-- ภูเก็ต - กัวลาลัมเปอร์ (AK)
-- เชียงใหม่ - กัวลาลัมเปอร์ (AK)
-- กระบี่ - กัวลาลัมเปอร์ (AK)
-- กรุงเทพ - อุบลราชธานี (FD3320/3321)
-- กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี (FD3183/3182)
-- กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช (FD3204/3205) !!!

เส้นทางบินที่ใช้เครื่องบินแอร์บัส A320 บางเที่ยวบิน ได้แก่ ...
-- กรุงเทพ - เชียงใหม่ : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3232/3233/3234/3235/3240/3241
-- กรุงเทพ - เชียงราย : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3254/3255 !!!
-- กรุงเทพ - กระบี่ (เฉพาะ FD3167/3166)
-- กรุงเทพ - ภูเก็ต : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3021/3020/3025/3024
-- กรุงเทพ - หาดใหญ่ : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3141/3140
-- กรุงเทพ - มาเก๊า : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3604/3605
-- กรุงเทพ - ปีนัง (เฉพาะ FD3543/3542)
-- กรุงเทพ - กัวลาลัมเปอร์ : ให้บริการทุกเที่ยวบิน ยกเว้น FD3573/3574
-- กรุงเทพ - สิงคโปร์ (เฉพาะ FD3503/3504/3505/3506)

เส้นทางบินที่ใช้เครื่องโบอิ้ง 737-300 ทุกเที่ยวบิน ได้แก่ ...
-- กรุงเทพ - อุดรธานี (FD3360/3361/3364/3365)
-- กรุงเทพ - ระนอง (FD3175/3174 -- บินถึงวันที่ 19 เมษายน 2552 เท่านั้น !!)
-- กรุงเทพ - นราธิวาส (FD3151/3150)
-- กรุงเทพ - ย่างกุ้ง (FD3770/3771)
-- กรุงเทพ - ฮานอย (FD3700/3701/3704/3705)
-- กรุงเทพ - พนมเปญ (FD3616/3617)

ขอแสดงความยินดีกับชาวนครศรีธรรมราช และ ชาวเชียงราย ที่ได้ A320 ไปบินแล้วนะครับ

ผมก็หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นประโยชน์ และตอบคำถามของใครหลายๆ คนได้นะครับ ยังไงถ้าเห็นว่ากระทู้นี้เป็นประโยชน์ รบกวนช่วยโหวตกระทู้ และ โหวตเข้าคลังกระทู้เก่าด้วยนะครับ จะได้เป็นข้อมูลสำหรับใครหลายๆ คน ที่จะมีคิวบินกับหางแดง ในอนาคตอันใกล้นี้ ...

http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2009/02/E7541683/E7541683.html


ID=2455,MSG=2774
Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

Re: การซื้อตั๋วเครื่องบิน airasia

การจองซื้อตั๋วผ่านทางเว็บไซต์ Air asia
1.มีขั้นตอนยังไงบ้าง?
2.การชำระเงินถ้าไม่มีบัตรเครดิต หักจากบัญชีออมทรัพย์ธนาคารทั่วไปได้หรือไม่ ?
3.ถ้าซื้อตั๋วผ่านช่องทางอื่นๆของ Air Asia ราคาจะเหมือนกันกับทางเว็บไซต์หรือไม่ ?
4.จองตั๋วสามารถติดต่อโดยตรงกับ  Call Center Air Asia ได้ไหม? และราคาจะเหมือนหน้าเว็บหรือไม่ ?

1.เลือกเมืองต้นทาง-ปลายทาง  วันที่ต้องการเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร
เลือกไฟล์ท ที่แสดงเวลาและราคาค่าบิน ใส่ข้อมูลส่วนตัว
- ชื่อ-สกุล
- วันเกิด
- เลข Passport + วันหมดอายุพาสปอร์ท
- บัตรประชาชน + วันหมดอายุ
- ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์  เลือกที่นั่ง อาหาร น้ำหนักสัมภาระ ประกันการเดินทาง
2.บัตรเครดิตของ SCB ฟรีค่าธรรมเนียม หรือ ดึงเงินสดจาก บัญชี SCB กรณีสมัคร scb easynet
3.ไม่เท่ากัน ทางเว็บมีราคาโปรโมชั่น ทาง call center ไม่มี (เป็นราคาปกติ)
4.จองตั๋วทั่วไปจะจองทางCallcenter (บอกเลขที่บัตรเครดิต) หรือเคาน์เตอร์ตามห้าง Lotus ก็ได้

ราคาหน้าเวป กับ call center ไม่เท่ากัน
ถ้ามีบัตร ATM ของไทยพาณิชย์ สามารถให้แทน Credit card ได้ แต่ว่าต้องไปสมัครทาง หน้าเวปของ SCBBank ก่อน scb easy


ID=2455,MSG=2775


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 03:18:10am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com