การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา(To kill mold spores)

ความชื้นสูงและอากาศไม่ถ่ายเท เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้  ซึ่งบางคนอาจมีความไวต่อการเชื้อราดังกล่าว เมื่อหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้ โดยเชื้อราอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ต่างๆได้ เช่น เกิดอาการคัดจมูก หอบหืด ไอ หายใจไม่ออก เป็นต้น

บางคนได้รับสปอร์ของเชื้อราเข้าไปนานๆและปริมาณมาก ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อปอดผิดปกติได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากที่สุด  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ภูมิต้านทานแต่ละคน ปริมาณของเชื้อราที่ได้รับสู่ร่างกาย ระยะเวลาที่สัมผัสกับเชื้อรา ชนิด/สายพันธุ์ของเชื้อรา สภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพของแหล่งสะสะสมเชื้อรา เป็นต้น

เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจุลินทรีย์ จัดเป็นเซลล์ยูคาริโอต อยู่ในอาณาจักรรา  เชื้อรามีระบบสืบพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ ในรูปแบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ  ซึ่งมีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดโรค และชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดโรค    เชื้อราที่พบในบ้านหลังน้ำท่วมส่วนใหญ่มักจะพบบนวัสดุที่เปียกชื้นและมีปัจจัยสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต    เช่นเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกน้ำท่วมมีองค์ประกอบของไม้และน้ำตาลเชิงไม่ซับซ้อนอาจเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพและสร้างความเสียหายต่อ เฟอร์นิเจอร์ ยิ่งไปกว่าน้ำถ้าเป็นราที่ก่อให้เกิดโรคนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้

บ้านและเครื่องเรือนที่ถูกน้ำท่วมอาจสามารถมองเห็นโคโลนีของเชื้อราบนพื้นผิวของวัสดุได้ด้วยตาเปล่า  โคโลนีของเชื้อรามักมีรอยจุด และมีสีต่างๆ  เช่นสีดำ (เป็นสีที่พบมากที่สุด) สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว เป็นดวงและมีกลิ่นอับ ๆ นั่นคือสัญญาณบอกเหตุให้รู้ว่าเชื้อราได้เข้าโจมตีบ้านและวัสดุที่เปียกในบ้านหลังน้ำท่วมเข้าให้แล้ว

http://www.vcharkarn.com/uploads/246/246375.jpg

สีโคโลนีของเชื้อราดังกล่าวคือกลุ่มสปอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับสกุลและสายพันธุ์เชื้อรา  มีการรายงานการปนเปื้อนของเชื้อราบางสกุลหรือ จีนัสมักพบกับ วัสดุ เช่น หนังสือ เฟอร์นิเจอร์ที่เปียกชื้น เช่นจีนัส Aspergillus  จีนัส Cladosporium จีนัส Chaetomium จีนัส Trichoderma จีนัส Stachybotrys และเชื้อราในสกุล Epicoccum เชื้อราดังกล่าวมักถูกพบอยู่บ่อยครั้ง

ขั้นตอนง่ายๆทำลายเชื้อรา 6 ขั้นตอน  ดัดแปลงจากคู่มือ “A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home”

www.epa.gov/mold/pdfs/moldguide.pdf

1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย
โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อสปอร์เชื้อรา ควรสวมหน้ากากป้องกัน หรือ  เครื่องช่วยหายใจที่รับการจัดอันดับ  (N - 95 หรือสูงกว่า) หน้ากากป้องกันบางชนิดอาจมีวาล์วเพื่อให้ง่ายต่อการหายใจ  ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง หมวกคลุมผม เสื้อคลุม และสวมใส่แว่นป้องกันตา เพื่อป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ในระหว่างการทำความสะอาด
ข้อควรระวังการซื้อหน้ากากป้องกัน  ต้องเป็นหน้ากากอนามัยชนิด N-95 เท่านั้น เพราะ หน้ากากฟองน้ำ และ หน้ากากแบบผ้าทั่วไปไม่สามารถป้องกันสปอร์ของเชื้อราได้

2. แยกพื้นที่ทำงานและระบายอากาศ
โคโลนีของเชื้อราในระหว่างการทำความสะอาดสามารถปล่อยสปอร์จำนวนมากไปในอากาศได้ ควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน ให้อากาศถ่ายเทในห้อง ให้มีแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ระบบระบายอากาศภายในบ้าน หรือเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา  หลีกเลี่ยงการใช้น้ำด้วยระบบแรงดันสูงฉีดในการทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจายได้เช่นกัน

3. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่พบเชื้อรา
โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุนซึ่งไม่สามารถชำระล้างและทำให้แห้งได้    รวมทั้ง พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์  ฝ้าผนัง  แผ่นยิปซั่ม ผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นฝ้า ไม้เนื้ออ่อน ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและเครื่องเรือนที่เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน    เพื่อลดการแพร่กระจายของสปอร์ราและทำลายแหล่งเพาะเชื้อรา  อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆเหล่านี้ ควรทิ้งใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดี กันแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ     

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนหรือจะเก็บเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์ไว้ ให้พิจารณาว่าสิ่งของใดก็ตาม ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดหลังจากทำความสะอาด และไม่มั่นใจที่สามารถทำให้สิ่งของดังกล่าวแห้งได้  ไม่ควรเก็บไว้  อย่าเสียดาย  ให้ทิ้งไปให้หมด โดยเฉพาะวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน

4. ทำความสะอาดและการทำลายเชื้อรา
ทำความสะอาดโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้  ภายใน  24  ถึง 48 ชั่วโมง หรือ ภายใน หนึ่ง  ถึง สองวัน หลังน้ำท่วมลดลง          เครื่องใช้บางประเภทที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะเป็นรูพรุน    เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เมลามีน พลาสติก คอนกรีต กระจก กระเบื้องเซรามิก โลหะ และไม้เนื้อแข็ง (เชื้อราส่วนมากไม่สามารถเจาะไม้เนื้อแข็งได้)  ท่านสามารถทำความสะอาดและทำให้แห้งได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งของใช้ดังกล่าว            ในระหว่างทำความสะอาด อย่าลืมเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้อ 2  และสวมถุงมือยางทุกครั้ง  ถ้ามีพื้นที่ด้านนอก ให้ขยับอุปกรณ์ต่างๆหรือเครื่องใช้ ออกมาพึ่งอากาศที่โปร่งโล่ง กลางแจ้ง หรือที่มีแดดส่องถึง ประมาณ สอง ถึงสามวัน ก็ยิ่งดี

การทำลายเชื้อรา
เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน
ตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์  (NaOCl)  หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่

หมายเหตุ:การซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาวมาใช้  ต้องอ่านข้างฉลากและต้องแน่ใจว่าเป็นยี่ห้อที่มี โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5-6%

ข้อควรระวังการใช้น้ำยาซักผ้าขาว ควรใส่ถุงมือยางทุกครั้งก่อนใช้ และต้องใช้ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทในห้องและห้ามสูดดมโดยตรงเป็นอันขาด 
และที่สำคัญที่สุด ห้ามผสมน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ กับสารอื่นๆเด็ดขาด  เช่นห้ามนำน้ำยาซักผ้กขาวผสมกับแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบเด็ดขาด หรือ ห้ามนำน้ำยาซักผ้าขาวผสมกับน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ล้างอื่นๆที่มีสภาพเป็นกรด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างโถส้วม เเละน้ำยาเช็ดกระจก  เป็นต้น เพราะจะเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้   
 
สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในการกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีหลายยี่ห้อในการช่วยฆ่าเชื้อรา  แต่ต้องแน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะนำมาใช้ฆ่าเชื้อรา ต้องมี "โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่"  ซึ่งสามารถดูข้างฉลากว่ามีสารเคมีดังกล่าว หรือสารเคมีอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ สามารถหาซี้อได้ตามท้องตลาด และ ซุปเปอร์มาเกตทั่วไป

@ ถ้าเป็นการการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง ถ้าไม่สามารถหาซื้อได้ให้ อาจผสมน้ำยาใช้เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านและตามท้องตลาดผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน คือ ปริมาณ 1 ถ้วยตวงของผงฟอกขาว ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3. 8 ลิตร)

@หากพบเชื้อราขึ้นเป็นจุด ๆดวงๆ บน วอลเปเปอร์ และ ผนัง อาจใช้ เช็ดแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซนต์ เช็ดทำความสะอาด หรือหากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะกำจัดไหว ก็ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และ ผนังเสียใหม่ดีกว่า

@หากพบเชื้อราขึ้นบน หนังสือ และ เครื่องเรือนประเภทไม้ อย่าใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ด เพราะ น้ำ ทำให้เกิดการสะสมความชื้นอีก และทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น      ในการทำความสะอาดผลิตเครื่องเรือนประเภทไม้ อาจใช้ผ้าชุป แอลกอฮอล์ 70 ปอร์เซนต์ หรือ ฟอร์มาลีนเจือจางเช็ด และแล้วปล่อยให้แห้งเอง หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินการกำจัด ก็ควรเปลี่ยนไม้ดีกว่าและทิ้งไปเลย ถึงแม้ว่าได้ทาแลกเกอร์เคลือบผิวก็ตาม

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือน(เฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา,ชุดรับแขก ฯลฯ)และอุปกรณ์ประเภทเครื่องหนังให้ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อราได้ หลังจากแห้งแล้วเราสามารถเช็ดทำความสะอาดโดยวิธีอื่นๆเพิ่ม เช่น ใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง บางกรณีอาจใช้ครีมเช็ดรองเท้ามาเช็ดถูปิดท้าย

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทที่ทำจาก ผ้า เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน ม่านและเครื่อนนอนต่างๆ ให้ต้มน้ำร้อนเดือดฆ่าเชื้อรา ทั้งนี้สามารถใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยเช่น ใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์แช่ไว้ก่อน  หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินกำจัด ก็ควรเปลี่ยนและทิ้งไปเลย

@นอกจากนี้หากพบเชื้อราฝังตัวอย่างแน่นหนาตามเครื่องเรือนประเภทไม้ ผนัง วอลเปเปอร์ ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยการขัดล้าง ทำความสะอาด    โดยเฉพาะการฝังซ่อนตัวภายในชั้นวัสดุแทรกภายใน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่  ไม่ควรทาสีกลบทับเพราะไม่สามารถทำลายสปอร์ที่เหลือได้และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราขึ้นได้ภายหลัง

5. การทำให้แห้ง
หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ยิ่งไปกว่านั้นควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตู เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไปนอกตัวบ้านหรืออาคารให้มากที่สุด  โดยใช้เวลา พึ่งลมประมาณ 1 ชัวโมง หรือ มั่นใจว่า บ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแห้งสนิทแล้ว หากบ้านไหนมีเครื่องลดความชื้นก็อาจใช้ร่วมด่วย บางกรณีอาจเลือกการทำให้แห้งของอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดเล็กสามารถใช้เครื่องเปล่าผมไฟฟ้าซึ่งเป็นความร้อนแห้ง ช่วยทำให้แห้งไวขึ้น

6. ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง
ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 ถึง 3 วัน แล้ว ให้ มองหาสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราอาจถูกพบและเจริญเติบโตซ้ำได้ ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ ซึ่งมีความชื้นอยู่  ถ้ายังพบเชื้อราอีกให้ทำความสะอาดซ้ำโดยวิธีที่กล่าวด้านบน ข้อ 1-ข้อ 5    โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อาจมีความบกพร่องของเครื่องปรับอากาศ ในการดึงความชื้นออกจากอากาศภายในห้องได้ไม่ดีเท่าที่ควรอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการกลับมาของเชื้อราดังกล่าว ควรเรียกช่างแอร์ทำการแก้ไขโดยด่วน กรณีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆโดยละเอียด ถ้ายังพบเชื้อราอีกอาจจะต้องตรวจสอบระบบการระบายอากาศ  ระบบแอร์ทั้งหมด ระดับความชื้นภายในอาคารด้วย ระดับอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทื่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจต้องมีการนำเครื่องมือเฉพาะทางมาตรวจสอบเชื้อรา  หลังจากการเข้าไปพักอยู่อาศัยแล้ว หากมีสมาชิกในบ้านคนใดก็ตาม มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หมายเหตุ  การเก็บตัวอย่างเชื้อรามาตรวจสอบอย่างละเอียดในกรณีที่ต้องการระบุว่าเชื้อราดังกล่าวเป็นตัวทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือไม่เช่น เชื้อราชื่อว่า แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus) เป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถส่งบริการทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งในประเทศไทยการระบุชนิดของเชื้อราและการตรวจเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ โดยดูรูปลักษณะสัณฐานวิทยาและใช้เทคนิคเชิงโมเลกุลมาช่วยจำแนก สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านราวิทยาโดยตรง เช่น การบริการการจำแนกเชื้อรา ในมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง หรือ สถาบันวิจัยของภาครัฐบางแห่ง หรือ หน่วยงานในกำกับของกระทรวงของภาครัฐบางแห่ง เป็นต้น

http://www.etoyotaclub.net/applications/knowledge/images/1008_30/knowing/tip_&_tech_2_03.jpg

เชื้อรานั้นมักจะเกิดกับบริเวณความชื้นแฉะ, บริเวณที่ถูกแสงน้อย  หรือไม่ได้รับแสงเลย  อย่างตู้แอร์, ท่อทางเดินระบบปรับอากาศ  หรือกระทั่งพรมพื้นที่เปียกแฉะจากการปิดกระจกไม่สนิทในขณะที่ฝนตก  ก็อาจจะโดนหางเลขได้ด้วยเช่นกัน และนั่นก็เป็นอีกที่มาของกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ในห้องโดยสารด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ เชื้อราก็อาจจะทำลายผ้าและสุขภาพของเรา แค่ขจัดยังไม่พอ หากแต่ควรป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราในภายภาคหน้าด้วยก็จะเป็นการดี

สิ่งที่ต้องใช้
ผ้าที่ปิดจมูก (และปาก) เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเรา เข้าสู่ร่างกาย
แล้วค่อยรื้อเอาผ้า, พรมชิ้นหรือชิ้นส่วนที่มีเชื้อราเกาะออกมาซัก (ถ้าซักได้) ด้วยน้ำอุ่นผสมด้วยยาฆ่าเชื้อโรค ตามด้วยเครื่องดูดฝุ่นเพื่อใช้กำจัดเชื้อราบริเวณดังกล่าว (ที่ตัวรถ) ให้หลงเหลือน้อยที่สุด  ซึ่งหากยังมีร่องรอยของความชื้นแฉะหลงเหลืออยู่  ก็จะต้องพึ่งตัวช่วยอย่างไดร์เป่าผมด้วย ในกรณีที่ลุกลามไปถึงพรมผืนใหญ่ ก็จะต้องรื้อออกมาทำความสะอาด  ด้วยน้ำยาซักผ้าขาวปริมาณ ½ ถ้วย ผสมกับน้ำสะอาด 1 แกลอน (3.785 ลิตร) แล้วก็ใช้แปรงขัดถูให้ทั่ว จากนั้นก็นำไปตากแดดจนแห้งสนิท

และยังสามารถนำมาใช้ได้กับพื้นรถ, ใต้เบาะ  หรือชิ้นส่วนคอนโซลที่มีคราบเชื้อราเกาะได้อีกด้วย (แต่ให้แปรงด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ แทน)  จากนั้นก็เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดแล้วเป่าให้แห้งสนิทด้วยพัดลมอีกที หรือว่าถ้ายังไม่อุ่นใจก็เอารถไปจอดตากแดดเลย รอจนกระทั่งชิ้นส่วนที่เราถอดไปทำความสะอาดแห้งสนิท ค่อยประกอบกลับเข้าอย่างเดิม

สารที่ฆ่าเชื้อราได้
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์
น้ำส้มสายชู
แอลกอฮอล์ (เเต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ของเชื้อราได้)

กำจัดกลิ่น
เบคกิ้งโซดา


ID=2430,MSG=2733
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีข้อแนะนำในการกำจัดเชื้อราสำหรับประชาชนที่จะเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.การป้องกันตนเอง ควรสวมรองเท้าบูตยาง สวมถุงมือยาง เพื่อป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา และใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกป้องกันการหายใจเอาสปอร์เชื้อราและไอระเหยสารเคมี เข้าสู่ร่างกาย

2.การระบายอากาศ ในระหว่างทำความสะอาดควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้มีแสงแดดส่องถึงที่สำคัญไม่ควรเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดเพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายได้

3.การทำความสะอาด ให้ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ให้เร็วที่สุดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด โดยให้ล้างด้วยน้ำและสบู่เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน หลังจากนั้น ให้ล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือผงปูนคลอรีน 0.5 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนน้ำยาซักผ้าขาว 3-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3.8 ลิตร)

สำหรับเชื้อราที่ขึ้นเป็นจุดๆ บนวอลเปเปอร์และผนัง ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล 70 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับกรดซาลิไซลิกในอัตราส่วน 5 ต่อ 1

หากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และผนังใหม่ ส่วนเชื้อราบนเครื่องหนังให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดถูหลายๆ ครั้ง
เมื่อเครื่องหนังแห้งแล้วให้เช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดอีกครั้งและใช้ครีมเช็ดรองเท้าเช็ดถูปิดท้าย
หลังจากการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ดหรือพ่นบริเวณที่มีเชื้อราเจริญต่อเนื่องทุกวันจน เชื้อราหายไป

จากนั้นเว้นระยะเช็ดหรือพ่นเป็นสัปดาห์ละครั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ เชื้อราเจริญเติบโตอีก

สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราและทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ

4.การทำให้แห้ง หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทเอาสปอร์ของเชื้อราออกจากตัวบ้านจนมั่นใจว่าบ้านและ อุปกรณ์ต่างๆ แห้งสนิท

5.ตรวจสอบเชื้อรา หลังจากทำความสะอาดไปแล้ว 2-3 วัน ให้สังเกตว่ามีเชื้อราเจริญเติบโตอีกหรือไม่
ถ้ายังพบว่ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดซ้ำ หากมีเชื้อราเกิดขึ้นอีกให้ประชาชนตรวจสอบระบบระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด และระดับความชื้นภายในบ้านด้วย


ID=2430,MSG=2734
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การกำจัดเชื้อรา หลังน้ำท่วม
การสํารวจว่ามี เชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่ อาจทําได้ 2 ทางคือ

            1. ดูด้วยตา เช่น พบเห็นผนังมี รอยเปื้อน หรือมี ลักษณะเชื้อราขึ้น
            2. ดมกลิ่น กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบ หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน (earthy smell)

หากสงสัยว่ามีเชื้อรา ให้ปฏิบัติ ดังนี้

                1) ให้ใช้หลักว่าสิ่งของใดที่ไม่สามารถกําจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้งไป เลยโดยเฉพาะวัสดุที่มี รูพรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างและทําให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา อยู่ต่อไปนอกจากนี้เชื้อราที่ตายแล้ว ก็ยังอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้ ถ้าเป็น สิ่งของที่ทําด้วยผ้าหากต้มได้ต้องฆ่าเชื้อด้วยการต้มด้วยน้ำร้อนก่อนจึงจะนํามาใช้อีก

                2) รีบทําควาะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังน้ำลดระหว่างทําความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ    และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้ แห้งโดยเร็วเริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วตาม  ด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา 0.5 % sodium hypochlorite    ถ้าเป็นการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่ หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็งถ้าไม่ใช้น้ำยา 0.5% sodium hypochlorite อาจผสมน้ำยาใช้ เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านปริมาณ 1 ถ้วยตวงผสมกับ น้ำ 1 แกลลอนก็ได้ ส่วน  ผู้ทําความสะอาดต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายได้แก่

1. รองเท้าบู๊ทยาง

2. ถุงมือยางสําหรับทํางานบ้าน

3. แว่นป้องกันตา

4. หน้ากากอนามัย

5. เมื่อขัดล้างเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หรืออาจใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่องเพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น  นอกจากนี้หากพบว่ามีเชื้อราฝังแน่นตามผนัง ไม่สามารถขัดล้างออกได้ ควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีทับ และหากเป็นห้อง ที่มีเครื่องปรับอากาศควรล้างทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศไปพร้อมกันด้วย

รู้ระวัง = ระวังเชื้อราหลังน้ำท่วม

          ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามี เชื้อราลอยอยู่ในอากาศทั่วไปเราจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับสปอร์ของ เชื้อราได้ 100%    เชื้อรามี ทั้งชนิดก่อให้เกิดโรคและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เชื้อราบางชนิดฉวยโอกาสให้เกิดโรคได้ เมื่อร่างกายอ่อนแอ แต่ระบบร่างกายของเรามี ภูมิคุ้มกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจเมื่อหายใจเข้าไปต้องผ่านขนจมูกจึงช่วยลดเชื้อต่างๆได้ แต่คนที่มี อาการภูมิ แพ้ อาจจะมี อาการแย่ลงได้ เช่น น้ำมูกไหลหายใจไม่ออก น้ำตาไหล หอบหืด มีผื่นผิวหนังอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายที่มี อาการแพ้มากๆควรรีบพบหมอทันที และหลีกเลี่ยงการสูดดม สปอร์ของเชื้อรา โดยการใช้ผ้าปิดปากหรือจมูก

            สปอร์ของราเหล่านี้จะเล็กมาก (ประมาณ 3 ไมครอน) และแพร่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่งในอากาศที่เราหายใจเข้าไป ฉะนั้น ไม่มีใครหนี เชื้อราเหล่านี้ไปได้ แต่ไม่เป็นอันตรายเพราะร่างกายเรามี ระบบต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม    ดังนั้นในคนที่มีภูมิต้านทานปกติ จึงไม่ต้องเป็นห่วงกังวลยกเว้นคนที่มี ภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นเป็นเอดส์ ก็อาจติดเชื้ออย่างรุนแรงจนเสีย ชีวิตได้

            ส่วนมากแล้ว เชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นโรคภูมิ แพ้ ทั้งทางระบบหายใจหรือผิวหนัง ซึ่งจะเกิดเฉพาะ คนที่แพ้เท่านั้น ไม่เกิดกับคนทั่วไป ฉะนั้นอย่ากังวลเกินกว่าเหตุ การสูดดมหรือกินอาหารที่มีสปอร์ของเชื้อราเป็น ระยะเวลานานและปริมาณมากจะทําให้ร่างกายมี อาการดังนี้ เหนื่อยล้าปวดศีรษะเป็นไข้ ตาอักเสบ จมูกอักเสบ คออักเสบ มีผื่นคัน ไอเรื้อรัง  ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกในปอดและจมูก

ข้อแนะนําการกําจัดเชื้อราหลังน้ำลด
            หลังน้ำลดแล้วมักพบปัญหาเชื้อราในวัสดุต่างๆภายในบ้านหากไม่กําจัดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพต่อไปนี้
            - ปฏิกิริยาภูมิพ้ Allergic Reactions ทําให้มีไข้ จาม น้ำมูกไหล
            - ปอดอักเสบจากภูมิ แพ้
            - คนที่มี ปัญหาเป็นโรคหอบหืดจะเป็นรุนแรงมากขึ้น
            - ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตาจมูกหลอดลมทําให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
            - ก่อให้เกิดสารพิษแพ้เป็นผื่นลมพิษ

การป้องกันตัวเองระหว่างการกําจัดเชื้อรา
            - สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เพื่อป้องกันการหายใจเอาเชื้อราเข้าไปหน้ากากผ้าหรือฟองน้ำไม่ เพียงพอต่อการป้องกัน
            - ใส่ถุงมือยาง รองเท้ายาง เพื่อป้องกันเชื้อมาสัมผัสโดยเฉพาะคนที่มีบาดแผลที่มือและเท้า ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา ควรเป็นแว่นชนิดครอบตาที่ไม่มีรูระบายอากาศ

บริเวณที่จะพบเชื้อราได้บ่อย
            ความจริงเชื้อรามี อยู่ในอากาศโดยทั่วไป สภาวะที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตคือมี ความชื้นสูงอากาศ ไม่ค่อยถ่ายเทมี อุณหภูมิสูง มีอินทรีย์สารที่เชื้อราใช้เป็นอาหารในภาวะหลังน้ำท่วม จึงมักพบพื้นผิววัสดุต่างๆที่ ถูกน้ำท่วมเกิดราขึ้นเสมอ กระนั้นก็ตามวัสดุบางอย่างแม้ไม่ถูก น้ำท่วมถึงก็อาจขึ้นราได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของวัสดุในบ้านที่มักพบเชื้อรา เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน พื้นไม้ ใต้พรม วอลล์เปเปอร์ ผนังด้านในของท่อแอร์ โครงผนัง เครื่องปรับอากาศ ตู้ เสื้อผ้า เสื้อผ้า หนังสือ ฟูก เตียง หมอน เครื่องหนัง ในห้องน้ำ ห้องครัว ร่องยาแนวกระเบื้อง ม่านพลาสติก กระจกเงา ซิ ลิโคนยาแนวต่างๆปลอกไฟเบอร์ เสื่อน้ำมันกระเบื้องยางผ้าม่านเป็นต้น


ID=2430,MSG=2735
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การทําความสะอาดบ้าน อย่างปลอดภัย

หลักการและวิธีทําความสะอาด
            แยกพื้นที่ที่จะทําความสะอาดให้อยู่ในวงจํากัดในมุมหนึ่งของบ้านและควรทํานอกอาคารถ้าเป็นไปได้  ในกรณี ที่วัสดุนั้นๆยากแก่การทําความสะอาดหรือ มีรูพรุนมากมี เชื้อรามากให้คัดแยกวัสดุนั้นทิ้งไป ตัวอย่างเช่น  กระดาษฉนวน พรมรองพื้น ฝ้าเพดาน ยิบซัมฝ้าผนัง ผลิตภัณฑ์ไม้ที่บดอัดขึ้นรูป เป็นต้น ในการ ทิ้งต้องห่อด้วยพลาสติกกันการฟุ้งกระจายของสปอร์ราด้วย

            พึงตระหนักว่าการเช็ดล้างเป็นการทําความสะอาดพื้นผิว แต่อาจจะยังไม่สามารถทําให้เชื้อราตายได้ จึงควรใช้สารฆ่าเชื้อราเพื่อให้มั่นใจในการหยุดยั้งการทําอันตรายต่อสุขภาพ เชื้อราที่ตายไปแล้วยังคงสามารถ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นกันซึ่งเป็นผลจากการผลิตสารพิษของเชื้อรา

            เฝ้าระวังการเกิดราใหม่เสมอทํา ถ้าหากผลยังไม่เป็นที่พอใจและต้องลดกิจกรรมใดๆที่จะทําให้มี ความชื้นอยู่ใน อากาศนานๆเช่น การตากผ้าในบ้าน การต้มน้ำ ทํากับข้าวภายในบ้านการปิดเครื่องปรับอากาศแล้วเปิดหน้าต่างทันที เป็นต้น

          กรณี พื้นผิววัสดุที่ขึ้นรามี สภาพแห้งและรามี ลักษณะฟู เห็นเส้นใยโผล่ออกมาต้องระวังห้ามใช้ผ้าแห้ง เช็ดเพราะสปอร์ของราจะฟุ้งกระจายได้ และไม่ควรเปิดพัดลมเพราะแรงลมจะยิ่งทําให้สปอร์ของราฟุ้งกระจายได้ ง่ายขึ้น ให้ใช้กระดาษทิชชูเนื้อเหนียวแผ่นหนาและขนาดใหญ่ๆจะดีมากพรมน้ำให้เปียกเล็กน้อย(หรือใช้กระดาษ หนังสือพิมพ์ก็ได้) ชุบน้ำพอหมาดๆเช็ดพื้นผิวโดยให้เช็ดจากล่างขึ้นบนหรือจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ แต่ต้องเช็ดไปทางเดียวเท่านั้น  ห้ามเช็ดย้อนไปมา  เช็ดแล้วทิ้งเลย  ไม่เช็ดถูไปถูมา  ไม่ต้องประหยัดเพราะจะทํา ให้มันหลุดออกไม่หมด  (หลุดไปแล้วกลับมาติดใหม่  ) กระดาษที่เช็ดนี้ควรรวบรวมใส่ถุงขยะขนาดใหญ่ และ ระมัดระวังในการขยับปากถุงอย่างแผ่วเบาเพื่อไม่ให้สปอร์ของราฟุ้งกระจายง่ายจากลมกระพือขณะเปิดปิดปากถุง

            ผสมน้ำกับสบู่ แล้วเช็ดซ้ำแบบเดิมอีก ไม่แนะนําให้ใช้ผงซักฟอกเพราะหลังการซักล้างจะสร้างปัญหา น้ำเสียตามมาเนื่องจากส่วนผสมในผงซักฟอกจะมีแป้งและซัลเฟตที่เป็นอาหารของเชื้อรา

การเช็ดครั้งที่ 3 นี้ให้ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ด จะเช็ดซ้ำไปมาก็ได้ น้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้มีหลายชนิดควรใช้ ให้ถูกชนิดกับวัสดุ ตัวอย่างของน้ำยาที่มี ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราแบบอ่อนได้แก่

1. น้ำส้มสายชู สูตรกลั่นหรือหมักก็ได้ (ควรมี ความเข้มข้นอย่างน้อย 7 %) ควรใช้กับกระดาษดี กว่าผ้า เพราะจะได้ไม่ต้องซัก หรือใส่ขวดสเปรย์ก็ได้ สเปรย์ตั้งทิ้งไว้สัก  5-10 นาที แล้วก็ เช็ดเลย กําจัดได้ในระดับน่าพอใจ (80%) แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ได้

2. Tea tree oil ใช้ 2 ช้อนชาใน น้ำ 2 ถ้วยใส่ขวดสเปรย์เบาๆบนบริเวณที่ต้องการแล้วเช็ดเหลือเก็บใส่ขวดเก็บไว้ใช้ได้นานมี กลิ่นฉุนฆ่าราได้หลายชนิดแต่มี ราคาแพง

3. Grapefruit seed extract ใช้ 20 หยดใส่ใน น้ำ 2 ถ้วยใส่ขวดสเปรย์เบาๆ บนบริ เวณที่ต้องการแล้วเช็ดออกได้เลยมี ราคาแพงแต่ไม่มี กลิ่น

ตัวอย่างของน้ำยาที่มี ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราแบบเข้มข้น

1.  แอลกอฮอล์ (ethanol, isopropanol) ใช้ที่ความเข้มข้น 60 - 90% ควรให้ระยะสัมผัสอย่างน้อย 5-10 นาที (ระมัดระวังเนื่องจากเป็นสารไวไฟ)
2. Clorox bleach หรื อ sodium hypochlorite ใช้ที่อัตราส่วน 1:10 สารนี้ส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกัน เป็นสารประกอบคลอรีน มีฤทธิ์ในการทําลายเชื้ออย่างกว้างขวาง มี ราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว

สารละลาย  Hypochlorite เสื่อมสภาพได้เร็ว ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสอินทรีย์สาร จึงควรเตรียมใหม่ทุกครั้งที่จะใช้  การเก็บรักษาให้เก็บในภาชนะที่ป้องกันแสงถ้าเป็นแก้วก็มักใช้แก้วสีชา
3. ไฮโดรเจนเพอรอกไซด์ (hydrogen peroxide) ใช้ที่ความเข้มข้น 3-6 % แต่การใช้สารนี้ระยะเวลาสัมผัสผิวที่จะฆ่าเชื้อต้องใช้เวลานานหน่อยคือควรที่จะแช่เอาไว้

4. ไอโอโดฟอร์ (Iodophore) ใช้ฆ่าสปอร์ได้ที่ความเข้มข้น 75  ppm (ส่วนในล้านส่วน) ระยะเวลา สัมผัสผิวที่จะฆ่าเชื้อต้องใช้เวลานาน เช่นกัน

สารฆ่าเชื้อราหาซื้อได้ที่ไหน
            หาซื้อตามร้านยาร้านเคมี ภัณฑ์ ร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับเกษตรร้านขายเคมี ภัณฑ์ทําความสะอาดสระ หาซื้อตามร้านยาร้านเคมีภัณฑ์ ร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับเกษตรร้านขายเคมี ภัณฑ์ทําความสะอาดสระว่ายน้ำ ร้านขายเคมีภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการห้างสรรพสินค้าเป็นต้น


ID=2430,MSG=2736
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

-  เชื้อราส่วนใหญ่มีชีวิตได้ตั้งแต่ 0 องศา จนถึง 35? C แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญ (optimum temperature) คือ 20 -30? C และเจริญได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็นกรด (Ph)ประมาณ 6
- แสงสว่าง ไม่เป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของเชื้อรา  แต่ในบางชนิด แสงสว่าง เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสปอร์  และจะหันเหก้านซูสปอร์ไปทางทิศที่มีแสงสว่าง

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของราแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ราบางชนิดเจริญได้ในอุณหภูมิ 40 -50? C  และบางชนิดสามารถเจริญที่อุณหภูมิต่ำขนาดอุณหภูมิของตู้เย็นได้แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นจากอุณหภูมิที่เหมาะสมการเจริญของราจะลดน้อยลงดังนี้
          - ที่อุณหภูมิ 50? C เชื้อราจะเจริญน้อยลง
          - ที่อุณหภูมิ 60? C ราทุกชนิดถูกฆ่าตายหมด (ใช้วิธีนี้ในการหยุดการ fermentation ของเชื้อรา)
          - ที่อุณหภูมิ 100 ? C สปอร์ต่าง ๆ และสเคอโรเดียมถูกฆ่าตายหมด

การทำลายเชื้อราโดยทั่วไปในห้องปฏิบัติการจะมีการทดสอบโดยการใช้แผ่นยาและเชื้อราในจานเพาะเชื้อทดสอบกัน  ซึ่งถ้าตรงจุดยาชนิดใดไม่มีเชื้อราขึ้นจึงจะสรุปว่าตัวยาชนิดใด  ที่รักษาได้ผลมากน้อยขนาดไหน    ซึ่งการทดสอบนี้จะต้องให้เจ้าหน้าที่จุลชีววิทยาเป็นผู้ทดสอบ และส่งผลรายงานให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้ตัวยาชนิดใดแก่ผู้ป่วย

การฆ่าเชื้อราในห้องปฏิบัติการ (ห้องจุลชีววิทยา)
    1. การใช้ความร้อนฆ่าเชื้อรา
    2. การใช้รังสี UV ฆ่าเชื้อรา
    3. การใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อรา
http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlns132/page06.html

การทำให้ปราศจากเชื้อ (sterilization) และการทำลายเชื้อ (disinfection)

กระบวนการทำลายจุลชีพโดยใช้สารเคมี ซึ่งอาจออกฤทธิ์ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพและทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมการซึมผ่านเข้า-ออกของสารต่างๆ เสียไป หรือสารเคมีอาจจับกับเอนไซม์ หรือทำให้โปรตีนต่างๆภายในเซลล์เกิดการแข็งตัว และสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานมีผลทำให้ขบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ หยุดชะงัก และทำให้เซลล์ตายในที่สุด

น้ำยาทำลายเชื้อ และน้ำยาฆ่าเชื้อ สามารถแบ่งตามประสิทธิภาพได้ 3 ระดับคือ
·        High level หมายถึงสารเคมีที่สามารถทำลายจุลชีพได้ทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย เช่น 2% Glutaraldehyde
·        Intermediate level หมายถึงสารเคมีที่ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อวัณโรค และไวรัสได้ แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย เช่น 70% Alcohol
·        Low level หมายถึงสารเคมีทำลาย Vegetative form ของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสได้ระดับปานกลาง เช่น 3% Hydrogen peroxide

สารเคมีที่นิยมใช้ทำลายเชื้อ
· แอลกอฮอล์ (Alcohol) ออกฤทธิ์ทำให้โปรตีนของจุลชีพที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ Ethyl alcohol และ Isopropyl alcohol สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้งเชื้อวัณโรค แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย ที่ความเข้มข้น 70% Ethyl alcohol สามารถทำลายแบคทีเรียได้ภายใน 1 นาที และทำลายวัณโรคในเวลา 10 นาที

· ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่ความเข้มข้น 3-8% สามารถใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อ (Disinfectant) ขณะที่ความเข้มข้น 37% หรือที่เรียกว่า ฟอร์มาลิน (Formalin) สามารถอบให้ปราศจากเชื้อได้ภายใน 6-12 ชั่วโมง ถ้าเป็นสปอร์ของแบคทีเรียต้องใช้เวลานาน 2-4 วัน แต่ถ้าใช้อบร่วมกับไอน้ำ (Sub-atmospheric steam) จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูงขึ้น และใช้เวลาสั้นลงเป็น 3-5 ชั่วโมง เนื่องจากไอน้ำจะช่วยให้ฟอร์มาลีนสามารถซึมผ่านเข้าไปทำลายสปอร์ได้ดียิ่งขึ้น

· Glutaraldehyde ออกฤทธิ์ได้ดีกว่า formaldehyde สามารถฆ่าได้ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ที่ความเข้มข้น 2% ของ alkaline glutaraldehyde สามารถใช้แช่เพื่อฆ่า Vegetative form ของแบคทีเรียภายในเวลา 5 นาที ฆ่าไวรัสและเชื้อวัณโรคใน 10 นาที แต่ในทางปฏิบัติมักใช้เวลา 3 ชั่วโมง เนื่องจากสามารถฆ่าสปอร์ของแบคทีเรียได้

· อนุพันธ์ของฟีนอล (Phenol derivatives) ออกฤทธิ์โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของจุลชีพเสียสภาพ และทำให้โปรตีนเกิดการแข็งตัว สารฟีนอลนั้นไม่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลชีพเนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง และกัดกร่อน (Corrosive) แต่อนุพันธ์ของฟีนอลนั้นจะมีหมู่ chloro, bromo, alkyl, benzyl, phenyl และ amyl ที่ aromatic ring ของฟีนอลทำให้ความเป็นพิษ และฤทธิ์ในการกัดกร่อนลดลงที่ความเข้มข้น 0.5% อนุพันธ์ของฟีนอล สามารถใช้แช่ทำลายแบคทีเรียทั่ไปในเวลา 30 นาที และใช้เวลา 24 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อวัณโรค

· Quaternary ammonium compounds เป็น Cationic detergent ทำให้โปรตีนเสียสภาพ หรือทำให้เมมเบรนของแบคทีเรียแตก ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแกรมลบ สามารถทำลาย vegetative form ของแบคทีเรียใน 30 นาที แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรค และสปอร์ของแบคทีเรีย

· Halogens คือ ธาตุในหมู่ที่ 7 ของตารางธาตุ ที่นิยมใช้เพื่อทำลายจุลชีพได้แก่ ไอโอดีน (Iodine) และคลอรีน (Chlorine)

เมื่อคลอรีนทำปฏิกริยากับน้ำ จะเกิดกรดไฮโปรคลอรัส (Hypochlorous acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลชีพ แก๊สคลอรีนมักใช้ฆ่าเชื้อในน้ำประปา สระว่ายน้ำ นอกจากแก๊สคลอรีนแล้วสารประกอบซึ่งมีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ เช่น Chlorinated lime และโซเดียมไอโปรคลอไรท์ (NaOCL) มักใช้ในการฆ่าเชื้อในอุจจาระ ปัสสาวะ หนอง และใช้ทำความสะอาดสุขภัณฑ์ต่างๆ

ไอโอดีนมักใช้ฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง โดยออกฤทธิ์ทำให้โปรตีนในเซลล์ของจุลชีพเสียสภาพ ใช้ในการทำลายทั้งแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา ไวรัส อะมีบา รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย ทิงเจอร์ไอโอดีน (2% Iodine ใน 70% alcohol) สามารถใส่แผลสดได้เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อบาดทะยักได้ในเวลา 10 นาที แต่ปัจจุบันนิยมใช้ Iodophores เช่น Polyvinylpyroiodine (Povidone-iodine, Betadine), polyethoxyethanol-iodine (Wescodyne) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ของไอโอดีน เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน

· Peroxygen compounds ออกฤทธิ์โดยการ oxidize เอนไซม์ของจุลชีพ สามารถทำลายได้ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย สารที่นิยมใช้คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide; H2O2) ที่ความเข้มข้น 2% สามารถใช้ระงับเชื้อที่บริเวณผิวหนังได้ มักใช้ล้างแผลเน่าเปื่อย เนื่องจากเมื่อ peroxide ทำปฏิกริยากับเอนไซม์ catalase จะเกิดแก๊สออกซิเจน ทำให้เกิดฟองชะล้างเนื้อตาย และสิ่งสกปรกออกมา

· Ethylene oxide (CH2 CH2O2) เป็นแก๊สซึ่งสามารถทำลายเชื้อจุลชีพได้ดี ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของแบคทีเรีย สามารถซึมผ่านวัสดุ เช่น พลาสติกได้ แต่อย่างไรก็ตามแก๊ส Ethylene oxide นั้นเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดระเบิดได้ ดังนั้นจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง
· Chlorhexidine ให้ผลดีต่อแบคทีเรียทั้งแกรมบวก และแกรมลบ แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้
· ปัจจัยเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อด้วยวิธีทางเคมี
· ความเข้มข้นของสารเคมี ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลชีพและสิ่งที่ต้องการทำให้ปลอดเชื้อ โดยทั่วไปที่ความเข้มข้นสูงจะสามารถทำลายเชื้อได้ดีกว่าที่ความเข้มข้นต่ำ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงความเป็นพิษด้วย
· เวลา ยิ่งใช้เวลานานยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำลายจุลชีพ
· อุณหภูมิ โดยทั่วไปอุณหภูมิสูงจะช่วยเร่งปฏิกิริยาในการทำลายเชื้อของสารเคมี
· ภาวะแวดล้อมที่เชื้ออาศัยอยู่ สารอินทรีย์ต่างๆในเลือด หนอง ปัสสาวะ อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของสารเคมีบางชนิดลดลง เนื่องจากสารอินทรีย์เหล่านั้นอาจห่อหุ้มตัวจุลชีพไว้ ทำให้สารเคมีออกฤทธิ์ได้น้อยลง
http://www.euroscan.co.th/th/main/content.php?page=products&category=37&id=150


ID=2430,MSG=2737
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การสำรวจว่ามีเชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่  อาจทำได้  2  ทาง
1.  ดูด้วยตา เช่น พบเห็นผนังมีรอยเปื้อน  หรือมีลักษณะเชื้อราขึ้น
2.  ดมกลิ่น  กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบ  หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน ( earthy  smell )

วิธีที่1
หากสงสัยว่ามีเชื้อรา ให้ปฏิบัติดังนี้
1.  When  in  doubt , take  it  out  ให้ใช้หลักว่าสิ่งของใดที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้งไปเลย  โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างและทำให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอยู่ต่อไป  นอกจากนี้เชื้อราที่ตายแล้ว ( dead mold )  ก็ยังอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้
ถ้าเป็นสิ่งของที่ทำด้วยผ้า  หากต้มได้ต้องฆ่าเชื้อด้วยการต้มด้วยน้ำร้อนก่อนจึงจะนำมาใช้อีก

2.  รีบทำความสะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุด  ภายใน  24 – 48 ชั่วโมงหลังน้ำลด  ระหว่างทำความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ  และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้แห้งโดยเร็วเริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน  แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา  0.5 % sodium  hypochlorite (หลายๆ คน อาจจะคิดแล้วจะไปหาจากไหน ถ้าไม่มีนะครับ )
ถ้าเป็นการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง  ถ้าไม่ใช้น้ำยา  0.5 % sodium  hypochlorite
ถ้าชื่อโซเดียมไฮเปอร์คลอไรท์ ไม่คุ้น เอาใช้ น้ำยาซักผ้าขาว พวกไฮเตอร์ ที่มีกลิ่นคลอรีนฉุนๆ นั่นแหละ ซึ่งก็จะมีสารตัวนี้อยู่ จะใช้ยี่ห้อไหนก็ได้ ส่วนตัวผมใช้แบบที่ไม่ผสมน้ำหอม ทนกลิ่นคลอรีนเอาหน่อย แต่จะได้รู้ว่ามันยังมีคลอรีนอยู่ เพราะหากคลอรีนระเหยไปหมดจนกลิ่นอ่อนแล้ว เราก็จะได้รู้ว่าหมดสมรรถภาพในการฆ่าเชื้อแล้ว

http://www.housecleaning.in.th/images/stories/ra02.jpg

ผสมน้ำยาใช้เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้าน  ปริมาณ  1  ถ้วย  ตวงผสมกับน้ำ  1  แกลลอนก็ได้  ส่วนผู้ทำความสะอาดต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายได้แก่

1.  รองเท้าบู๊ทยาง
http://www.housecleaning.in.th/images/stories/spd_20080316175412_b.jpg
2.  ถุงมือยางสำหรับทำงานบ้าน
http://www.housecleaning.in.th/images/stories/ra04.png
3. แว่นป้องกันตา
http://www.housecleaning.in.th/images/stories/cb6279b9cdd5ee92a507813dc2cdfdcc.jpg
4. หน้ากาก N95  เป็นหน้ากากกันสารพิษนะ แต่ไม่มี ก็ เอาพอใช้เป็นไอ้ที่เราใส่ตอนเป็นหวัดน่าจะพอได้นะครับ เฉพาะกิจ
เมื่อขัดล้างเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง  หรืออาจใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่องเพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น ถ้าไม่มีก็ เอาขนไปตากแดด ไว้ซักวันสองวันครับ นอกจากนี้หากพบว่ามีเชื้อราฝังแน่นตามผนัง  ไม่สามารถขัดล้างออกได้ควรเปลี่ยนใหม่  ไม่ควรทาสีทับ  และหากเป็นห้องที่มีเครื่องปรับอากาศควรล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศไปพร้อมกันด้วย
http://www.duvalspharmacy.com/product_images/f/608/n95_mask__85817_zoom.jpghttp://www.envirosafetyproducts.com/public/productimages/MOL2500/49470.jpghttp://www.envirosafetyproducts.com/public/productimages/3MM9010/78300.jpg

หาซื้อทางเน็ตก็ได้ http://www.envirosafetyproducts.com/particulate-respirators.html

วิธีที่สอง จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์

ปฏิบัติการกำจัด-จำกัด ราในบ้าน เราจะเริ่มที่ขั้นทำความสะอาดก่อน

    แรกสุดที่ต้องคิดถึง คือกำหนด “รา cleaning day” (ทำงานให้เป็นสุข สนุกกับการทำงาน)  ดูว่าราขึ้นมากไหม (บริเวณกว้างไหม) และมันเพิ่งขึ้น หรือมันนานพอควรแล้ว  รู้ได้ยังไง …ก็ดูว่าฟูมากไหม เป็นขยุ้ม หรือเป็นจุดเล็กๆ อันนี้จำเป็น แล้วแต่ละสภาพแวดล้อมที่ทำ ถ้าเป็นในห้องน้ำมักจะเป็นพวกไม่ฟู ถ้าเป็น อาหาร  ไม้ โดยเฉพาะ particle board ที่เป็นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ จะฟู (ถ้าขึ้นมาเกิน 1 สัปดาห์แล้ว)
    สำรวจความพร้อมของคณะทำงานและผู้ช่วยก่อน ถ้ามีรามาก และฟู และคุณมีสภาพร่างกายที่มีความเสี่ยงแบบที่กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ ก็ควรใส่ที่ป้องกัน สวมหน้ากากกันหวัดนั่นล่ะ ถุงมือพลาสติกที่มีขายตามสรรพสินค้าทั่วไปหรือเป็นถุงมือแพทย์ก็ได้ ถ้าฉุกเฉินจริงๆหาไม่ทัน เอาของที่มีทุกบ้านมาใช้แทน คิดออกไหมเอ่ย!!!  ถุงกอบแกบขนาดเล็กเอามือใส่เข้าไป แล้วเอาห่วงยางรัดก็จะได้ถุงมือแบบไม่มีนิ้ว เก๋ไปอีกแบบ  เสื้อผ้าที่สวมใส่เอาที่รัดกุมหน่อย อย่ากรุยกรายมากนักเดี๋ยวยังไม่ทันทำความสะอาด แขนเสื้อ ชายเสื้อ จะไปกวาดแทนหมด
    ดูพื้นที่ๆเราจะจัดการก่อนว่าราขึ้นที่ไหน สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเป็นอย่างไร เช่นแห้ง ชื้น เปียก
    สำรวจบริเวณที่จะทำความสะอาด ว่ามีของเกะกะ หรือของใช้อื่นๆอยู่ใกล้หรือไม่ เช่นเฟอร์นิเจอร์ โซฟา หมอนหนุน อยู่ในบริเวณเดียวกัน หากมันขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งที่เป็นจุดร่วม ต้องค่อยๆหยิบออกมาวางทีละชิ้นแล้ว clear เพราะจะถือว่าทุกส่วนกระทบหมดคือ อาจมีรา เพราะรามีลักษณะเป็นเส้นใยมันสามารถชอนไช แผ่ขยายเหมือนตาข่าย เพราะฉะนั้นถ้าจะทำความสะอาดที่จุดใดต้องจัดการบริเวณไกล้เคียงด้วย บริเวณอื่นก็ใช้หลักการเดียวกัน ไม่งั้นมันจะเหลือพรรคพวกเตรียมซุ่มรอก่อการร้ายได้อีก เมื่อสภาพแวดล้อมรู้เห็นเป็นใจ
    สังเกตพื้นผิวที่จะกำจัดก่อนว่าพื้นเรียบหรือขรุขระหรือมีรูพรุน (วัสดุมีรูพรุนหรือน้ำซึมได้ดี เช่น ฝ้า แผ่นฉนวน พรม เสื้อผ้า กระดาษ หนังสือ ) หรือไม่ซึมน้ำ เช่น แก้ว โลหะ พลาสติกแข็ง หรือซึมได้เล็กน้อย เช่น ไม้ คอนครีต
    กำหนดบริเวณที่ทำความสะอาด แล้วหากระดาษหนังสือพิมพ์มาปูรอบๆ (ติด) พื้นบริเวณนั้น ๆ (กรณีในบ้าน) แล้วสเปรย์น้ำหมาดๆลงบนกระดาษ (ก่อนจัดการรา)  ถ้าเป็นห้องนอนต้องหาผ้ามาคลุมเตียง
    เอาถุงกอบแกบ ใบใหญ่หน่อยชนิดที่เอาของทุกอย่างทิ้งในถุงนั้นได้หมด โดยไม่ต้องคอยขยับถุง (กระเทือน) มาวางใกล้
    อย่าเปิดพัดลม เพราะอาจเป็นตัวกระจายสปอร์ให้ฟุ้งไปทั่วอีก

พร้อมแล้วนะครับ ลงมือลุย

    จากข้อ3  ถ้าพื้นที่ที่ราขึ้นแห้ง ห้ามเช็ดแบบแห้งเป็นอันขาดเพราะถ้ามีสปอร์มันจะฟุ้งล่องลอย ไปเที่ยวรอบห้อง หรือไม่ก็เข้าจมูก ปาก ตาของเรา อันตรายอีก ดังนั้น ต้องทำให้มันชื้นเล็กน้อย โดยใช้กระดาษ tissue มากๆหลายๆชั้น ชุบน้ำ หมาดมากๆ (ไม่เปียกแฉะ) ปกติควรใช้ tissue ขนาดแผ่นใหญ่ที่เป็นม้วน มันจะหนาดีมาก

    แล้วเช็ดจากล่างขึ้นบน  (ซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ไม่ ได้) นี่กรณีราฟู นะคะ ถ้าไม่ฟูก็ตามใจถนัด
    เช็ดทีเดียวทิ้งทุกครั้ง ไม่มีการซ้ำ อย่าประหยัด
    เตรียมน้ำสบู่เหลว เอาแบบที่บอกว่าฆ่าเชื้อหรือธรรมดาก็ได้ (ไม่ได้ค่าโฆษณาเลยไม่บอกชื่อ).. (ยิ้ม) ผสมน้ำเล็กน้อย  เช็ดซ้ำอีก
    เสร็จก็ใช้น้ำเช็ดซ้ำ คราวนี้เช็ดยังไงก็ได้ ตามใจชอบ

ทำความสะอาดเสร็จ นั่งพักก่อนได้ ถ้าเหนื่อย เพราะขั้นตอนต่อไปจะเป็นการฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีหลายวิธีให้เลือก

    น้ำส้มสายชู เทน้ำส้มสายชูออกจากขวดใส่กระดาษทิชชู หมาดๆ (ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าเพราะใช้แล้วต้องซัก ไม่ดีแน่ เอาแบบใช้แล้วทิ้งปลอดภัยกว่า)  หรือใส่ขวดสเปรย์ก็ได้ สเปรย์ตั้งทิ้งไว้สัก 5-10 นาทีแล้วก็เช็ดเลย กำจัดได้ในระดับน่าพอใจ (80%) แต่ไม่ฆ่าสปอร์
    Tea tree oil ใช้ 2 ช้อนชาในน้ำ 2 ถ้วย ใส่ขวดสเปรย์เบาๆ บนบริเวณที่ต้องการแล้วเช็ด เหลือเก็บใส่ขวดเก็บไว้ใช้ได้นาน
    Grapefruit seed extract ใช้ 20 หยด ใส่ในน้ำ 2 ถ้วย ใส่ขวดสเปรย์เบาๆ บนบริเวณที่ต้องการแล้วเช็ด

ส่วนสารฆ่าเชื้อราที่เข้มข้นกว่า ประกอบด้วย…
    แอลกอฮอล์ (ethanol, isopropanol) ใช้ที่ความเข้มข้น 60 – 90%. ควรให้ระยะสัมผัส อย่างน้อย 5-10 นาที
    Chlorox  bleach หรือ sodium hypochlorites สารนี้ส่วนใหญ่จะรู้จักกัน เป็นสารประกอบคลอรีน มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวาง มีราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว สารละลาย hypochlorite เสื่อมสภาพได้เร็ว ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสอินทรียสาร จึงควรเตรียมใหม่เมื่อใช้และเก็บในภาชนะที่ป้องกันแสง ใช้อัตราส่วน 1:10
    ไฮโดรเจนเพอรอกไซด์ (hydrogen peroxide)ใช้ที่ความเข้มข้น 3-6 % แต่ตัวนี้ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานหน่อย (แช่ไว้)
    ไอโอโดฟอร์ (Iodophore)ใช้ฆ่าสปอร์ได้ที่ความเข้มข้น  75 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานเช่นกัน

ทางเลือกที่3
ใช้เงินแลกความสะดวก
ใช้ "เป็ด ราคิลเลอร์"  แบบขวดสเปรย์ฉีดออกมาเป็นโฟม ฆ่าเชื้อราได้ชงัดนักแล แต่จะได้กลิ่นคลอรีนแทนนะ
http://www.housecleaning.in.th/images/stories/8850175043072x.jpg

ถ้าเป็นที่เสื้อผ้า  ก็ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ "Persue" ของแอมเวย์ วิธีใช้ถามคนขาย ผสมน้ำแช่เลยก็ได้ หอมสดชื่นเลย แถมเชื้อราไม่กลับมาอีกนานเลย
http://www.housecleaning.in.th/images/stories/aum29.jpg


ID=2430,MSG=2738
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

เชื้อราในบ้าน ปัญหาใหญ่หลังน้ำลด

เมื่อน้ำที่ท่วมขังอยู่นานลดลงไป ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เชื้อรา ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับบ้าน แต่ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพของคนในบ้าน โดยเฉพาะคนที่เป็นหอบหืด ภูมิแพ้ หรือโรคในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอาจแพ้และไวต่อการติดเชื้อรา ดังนั้น เพื่อป้องกันและกำจัดปัญหาเชื้อรา ควรรีบทำความสะอาดบ้านภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด

การแก้ไขปัญหาเชื้อราในบ้าน
        ไม่ควรให้คนในบ้านที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคในระบบทางเดินหายใจ เด็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ กลับเข้าบ้านจนกว่าจะทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อย
        แต่งกายให้รัดกุมโดยการสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมถุงมือยาง รองเท้ายาง เอี๊ยมกันน้ำ หมวกคลุมผม แว่นตา และหน้ากาก
        สำหรับแว่นตาควรเลือกแบบที่แนบสนิทกับใบหน้าและไม่มีรูระบายอากาศ ในบริเวณที่พบเชื้อราควรใช้หน้ากากชนิด N-95 ที่มีขนาดเหมาะสมกับใบหน้า เพื่อป้องกันการสูดดมเอาเชื้อโรคและเชื้อราเข้าไป (สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและเวชภัณฑ์) ทั้งนี้หน้ากากกันฝุ่นและผ้าเช็ดหน้าไม่สามารถกันเชื้อราได้ เนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีขนาดเล็กมาก
        เปิดหน้าต่าง ประตูเพื่อระบายอากาศและความชื้นให้ออกไปจากตัวบ้านอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเข้าไปในตัวบ้าน และควรเปิดหน้าต่าง ประตูบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวกระหว่างทำความสะอาดบ้าน

เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด
ได้แก่ แปรงขัด น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ อาจซื้อแบบสำเร็จรูป หรือสามารถทำได้เองง่ายๆ
        น้ำยาฆ่าเชื้อราที่สามารถทำได้เอง ได้แก่

น้ำส้มสายชู เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อราอย่างอ่อน สามารถฆ่าเชื้อราได้ประมาณ 80% แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ได้ จะเลือกใช้ชนิดหมักหรือกลั่นก็ได้ ควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 7% อาจฉีดพ่นทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วเช็ดออก
            ผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่มีส่วนผสมของสารประกอบคลอรีน 6% sodium hypochlorite เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อราชนิดเข้มข้น สามารถหาซื้อได้ง่าย โดยต้องนำมาเจือจางกับน้ำก่อนใช้ (ผสมใหม่ทุกครั้งก่อนใช้งานเท่านั้น เนื่องจากสารละลายเสื่อมสภาพได้เร็ว) และมีข้อควรระวังคือ ห้ามผสมสารละลายคลอรีนกับแอมโมเนีย หรือผสมสารละลายคลอรีนกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดก๊าซพิษได้หลายชนิด เช่น คลอรามีน ก๊าซคลอรีน ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุตา หลอดอาหาร หลอดลมและอาจทำให้เสียชีวิตได้

สำรวจบ้าน
        สังเกตบริเวณที่น้ำท่วมว่ามีเชื้อราเกิดขึ้นที่บริเวณใดบ้าง โดยเฉพาะในห้องใต้ดิน ห้องครัว และห้องน้ำ รวมถึงเพดาน กำแพง พื้น ขอบหน้าต่าง ท่อน้ำที่มีการรั่วซึม ใต้พรม ใต้-หลังเฟอร์นิเจอร์ หรือใต้วอลเปเปอร์
        การสังเกตเชื้อราอาจใช้การดูด้วยตาเปล่า มักเห็นเป็นเหมือนรอยเปื้อนที่ผนัง หรืออาจเห็นเป็นวงกลมอยู่รวมเป็นกลุ่ม พบได้หลายสีขึ้นกับชนิดของเชื้อรา เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว หรือใช้การดมกลิ่น ซึ่งจะได้กลิ่นเหม็นอับทึบหรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน

ทิ้งสิ่งของที่พบเชื้อราและไม่สามารถทำความสะอาดได้
        หากมีของใช้และของแต่งบ้านที่เปียกน้ำเกิน 48 ชั่วโมง โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุนและสิ่งของซึ่งยากต่อการทำความสะอาดหรือทำให้แห้ง ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมด เช่น พรม ที่นอน เบาะผ้า วอลเปเปอร์ ผลิตภัณฑ์หนัง กระดาษ ไม้ หมอน ตุ๊กตายัดไส้ ควรทิ้งไปโดยใส่ถุงพลาสติกและมัดให้แน่นเพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อรา
        สำหรับวอลเปเปอร์และผนังที่ขึ้นราควรลอกออกให้หมด และทำความสะอาดด้วยแปรงแข็งและน้ำยาฆ่าเชื้อ ไม่ควรติดวอลเปเปอร์หรือทาสีทับลงไป เพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและมีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้

    ทำความสะอาดและกำจัดเชื้อรา
        ทำความสะอาดพื้น ผนัง เพดาน และสิ่งของที่ปนเปื้อนด้วยน้ำและสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ขัดให้คราบสกปรกหลุดออกให้หมด โดยบริเวณที่ต้องทำความสะอาดมากเป็นพิเศษ คือ ครัว ชั้นวางอาหาร และบริเวณที่สำหรับเด็กอยู่อาศัย
        กำจัดเชื้อราที่อยู่ตามพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นห้อง เตา อ่างล้างจาน ของเล่นเด็ก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จาน พื้นโต๊ะ และอุปกรณ์อื่นๆ โดยทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ถ้วย (240 มล.) เจือจางกับน้ำสะอาด 1 แกลลอน (3.8 ลิตร) ถ้าพื้นผิวมีความหยาบให้ใช้แปรงแข็งๆ ขัดทำความสะอาด แล้วจึงล้างพื้นผิวนั้นด้วยน้ำสะอาด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัดส่วนการผสมผลิตภัณฑ์ฟอกขาวกับน้ำและขั้นตอนในการทำความสะอาดบ้านและอุปกรณ์เครื่องใช้)
        ถ้าพื้นผิวที่ต้องการทำความสะอาดแห้งและเห็นเป็นราขึ้นฟู ควรเช็ดด้วยกระดาษชำระเนื้อเหนียว พรมน้ำให้เปียกเล็กน้อย หากใช้ผ้าแห้งหรือกระดาษแห้งๆ เช็ดอาจทำให้สปอร์ของราฟุ้งกระจายมากขึ้น วิธีเช็ดควรเช็ดไปในทิศทางเดียว เช่น บนลงล่าง หรือซ้ายไปขวา แล้วทิ้งกระดาษไป ห้ามเช็ดย้อนไปมา เพราะจะทำให้บริเวณที่เช็ดราออกไปแล้วปนเปื้อนราได้อีก จากนั้นเช็ดด้วยน้ำสบู่
        สำหรับเสื้อผ้าหรือสิ่งของที่ทำด้วยผ้าที่ปนเปื้อน เช่น ผ้าม่าน ผ้าห่ม ควรแยกซักออกจากผ้าปกติ เมื่อซักทำความสะอาดแล้วให้นำมาต้มฆ่าเชื้อ และตากแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้
        ระหว่างทำความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อช่วยระบายอากาศ ห้ามเปิดแอร์หรือพัดลมเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา

ทำให้แห้งและควบคุมความชื้น
        หลังจากทำความสะอาดและกำจัดเชื้อราแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แห้งสนิท
        หากมีการรั่วซึมของน้ำภายในบ้าน เช่น หลังคา ผนัง ต้องรีบแก้ไข เพราะความชื้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเจริญเติบโตของเชื้อรา
        เฝ้าระวังไม่ให้ภายในบ้านอับชื้น โดยความชื้นที่มักไม่เกิดเชื้อราคือที่ระดับความชื้น 40-60% คอยตรวจสอบบริเวณที่เคยพบเชื้อราและบริเวณที่อับชื้นไม่ให้เกิดเชื้อราขึ้นอีก

ข้อควรระวังในการกำจัดเชื้อรา
    แต่งกายรัดกุม สวมชุดทำความสะอาดที่เตรียมไว้
    เปิดหน้าต่างและประตูบ้านให้มีลมและแดดถ่ายเทได้สะดวก
    แยกซักเสื้อผ้าที่สวมขณะทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนและน้ำยาซักผ้า สำหรับหน้ากากใช้แล้วและขยะที่เกิดจากการทำความสะอาดให้ทิ้งลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิท
    หากคนในครอบครัวมีอาการผิดปกติ เช่น คัดจมูก ระคายเคืองนัยน์ตา มีน้ำตาไหล เจ็บคอ ไอ หายใจมีเสียงวี้ด ปวดศีรษะ มีผื่นคันที่ผิวหนังหรือหนังศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์


ID=2430,MSG=2739
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

ทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดี
ก้าวแรกที่กลับบ้าน
หากคุณปิดบ้านและอพยพไปอยู่ที่อื่นเป็นเวลาหลายวัน เมื่อกลับถึงบ้านเพื่อสำรวจความเสียหายและทำความสะอาดบ้าน คุณควรปฏิบัติตัวดังนี้

    อย่าจับสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเปิดไฟ หากไม่มั่นใจว่าปลอดภัย อาจให้ช่างไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบระบบไฟในบ้านก่อน
    ควรเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเข้าไปในตัวบ้าน
    ไม่ควรให้เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และสัตว์เลี้ยงเข้าไปอยู่ในบริเวณบ้านก่อนจะทำความสะอาดเสร็จ

นอกจากนี้ ก่อนจะเริ่มลงมือทำความสะอาด คุณควรเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วยการแต่งกายให้มิดชิด สวมหน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากอนามัยที่มีชั้นกรอง ถุงมือ รองเท้าบูท และแว่นตาป้องกัน

ขั้นตอนในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกขาว
ผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่มีใช้กันอยู่ตามบ้านเป็นหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดบ้านและสิ่งของเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และมีส่วนประกอบของ sodium hypochlorite 5-6% ซึ่งจะต้องทำการเจือจางกับน้ำ โดยปริมาณขึ้นกับลักษณะของพื้นที่และสิ่งของที่ต้องการทำความสะอาด และเนื่องจากสารละลายเสื่อมสภาพได้เร็ว จึงต้องผสมใหม่ก่อนใช้งานเท่านั้น

อาหารกระป๋องและพื้นผิวที่สัมผัสอาหาร

    พื้นผิวของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับอาหารที่โดนน้ำท่วม เช่น บนโต๊ะที่ทำอาหาร จาน (สำหรับเขียงไม้ จุกขวดนม และจุกนมปลอม ควรทิ้งไป)
        การเจือจางสารละลาย: ผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ช้อนชา (5 มล.) ต่อน้ำสะอาด 1 แกลลอน (3.8 ลิตร)
        ขั้นตอนการทำความสะอาด

            ทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นที่สะอาด
            ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
            ฆ่าเชื้อโรคโดยการทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่เจือจางกับน้ำแล้ว
            ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
    อาหารกระป๋องที่ยังไม่ถูกเปิด ยังไม่บุบ หรือไม่มีร่องรอยเสียหาย
        การเจือจางสารละลาย: ผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ถ้วย (240 มล.) ต่อน้ำสะอาด 5 แกลลอน (19 ลิตร)
        ขั้นตอนการทำความสะอาด

    แกะฉลากที่กระป๋องออก
    ล้างกระป๋องด้วยสบู่และน้ำอุ่นที่สะอาด
    จุ่มกระป๋องในผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่เจือจางกับน้ำแล้ว
    ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
    เขียนฉลากใหม่ด้วยปากกากันน้ำ

พื้นผิวต่างๆ ในบ้านและสิ่งของอื่นๆ

    พื้นผิวที่ไม่ได้แช่น้ำแต่อาจสัมผัสกับน้ำท่วม เช่น พื้นห้อง เตา อ่างล้างจาน ของเล่นเด็ก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จาน พื้นโต๊ะ และอุปกรณ์อื่นๆ
        การเจือจางสารละลาย: ผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ถ้วย (240 มล.) ต่อน้ำสะอาด 5 แกลลอน (19 ลิตร)
        ขั้นตอนการทำความสะอาด

    ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยสบู่และน้ำอุ่นที่สะอาด
    ล้างด้วยน้ำสะอาด
    ฆ่าเชื้อโรคโดยการทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่เจือจางกับน้ำแล้ว
    ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง

พื้นผิวแข็งที่มีเชื้อรา

    พื้นผิวแข็งที่มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา เช่น พื้นห้อง เตา อ่างล้างจาน ของเล่นเด็ก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จาน พื้นโต๊ะ และอุปกรณ์อื่นๆ
        การเจือจางสารละลาย: ผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ถ้วย (240 มล.) ต่อน้ำสะอาด 1 แกลลอน (19 ลิตร)
        ขั้นตอนการทำความสะอาด

    ผสมผลิตภัณฑ์ฟอกขาว 1 ถ้วย (240 มล.) กับน้ำ 1 แกลลอน
    ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกขาวที่เจือจางกับน้ำแล้ว
    ถ้าพื้นผิวมีความหยาบ ให้ใช้แปรงแข็งๆ ขัดทำความสะอาด
    ล้างพื้นผิวนั้นด้วยน้ำสะอาด
    ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง

ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกขาว
    ห้ามผสมผลิตภัณฑ์ฟอกขาวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่นโดยเด็ดขาด เนื่องจากทำให้เกิดก๊าซที่เป็นอันตรายและเป็นพิษ
    ขณะทำความสะอาดควรเปิดประตูและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท เนื่องจากผลิตภัณฑ์ฟอกขาวอาจทำให้ระคายเคืองเยื่อบุตาและทางเดินหายใจได้
    ผู้ทำความสะอาดจะต้องสวมหน้ากากอนามัย N95 ถุงมือ รองเท้าบูท และแว่นตาป้องกันตลอดเวลา
    อ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ ห้ามสัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง และเก็บผลิตภัณฑ์ให้พ้นมือเด็ก


ID=2430,MSG=2740
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

การกำจัดเชื้อราในรถยนต์
ก่อนอื่นเรื่องนี้ต้องขอบอกก่อนนะคะว่า เจ้าของรถเท่านั้นที่เห็นด้วยตาตัวเองว่ารถยนต์ของท่านมีรามากในระดับใด กรณีที่ meepole จะเขียนต่อไปนี้เป็นกรณีที่ท่านคิดว่าท่านสามารถรับมือได้ มีราขึ้นบนเบาะนั่งให้เห็นชัด บนชิ้นยางทุกส่วน หรือไม่เห็นราแต่ได้กลิ่นรา อันนี้ก็คงต้องหาที่มาของกลิ่นก่อนเพื่อให้กำจัดได้ถูกจุด และหากอาการหนักจริงๆมันฟูเต็มไปหมดทั้งคันรถ เอาไม่อยู่ก็ต้องตัดสินใจว่าส่งไปให้ที่ร้านช่วยจัดการหรือไม่ และหากใครคิดว่ารอไม่ไหวต้องใช้รถ คงต้องทำความสะอาดเอง ในทุกกรณีที่อาจเป็นไปได้
ขอเตือนไว้เบื้องต้นว่า แม้ว่าราหลายชนิดเป็นประโยชน์ แต่ก็มีหลายชนิดเป็นโทษ และหากเราไม่ใช่นักราวิทยาก็ยากที่จะรู้แน่ชัดว่า ราใดอันตรายหรือไม่อย่างไร ดังนั้นการกำจัดราที่จะฟุ้งกระจายได้ง่ายมากจึงต้องระมัดระวังป้องกันตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ กรุณาย้อนไปอ่าน อันตรายของราก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ

หากคุณตัดสินใจจะจัดการกำจัดรา ก็เริ่มต้นที่ตัวเองก่อน คืออุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างรัดกุม และหากใครมีโรคประจำตัวภูมิแพ้ หอบหืด ไม่ควรจะมาเป็นผู้ช่วยในงานนี้อย่างยิ่ง และควรอยู่ให้ห่างขณะที่มีการทำความสะอาด หลังจากนั้นที่ต้องทำต่อคือหาอุปกรณ์ที่เคยกล่าวมาแล้ว  เปิดประตูรถให้กว้างหมดทุกบาน เข็นรถออกไปในที่ปลอดโปร่งมีลมพัดผ่านได้ สำรวจตรวจตราว่าบริเวณใดที่ขึ้นราบ้าง ตรงไหนมากน้อยอย่างไร และหากมองไม่เห็นราแต่ได้กลิ่นราก่อนหน้านี้ก็ให้สำรวจตรวจตราให้ดี เช่นอาจอยู่ใต้พรมรถ  ใต้เบาะ ในช่องแอร์ ใต้หลังคารถ หรือฯลฯ

เมื่อพบแล้วก็มีข้อควรคำนึงต่อไปนี้

    หากคุณพบว่ามีเชื้อราที่ระบบทำความเย็น ต้องหยุดใช้เครื่องปรับอากาศและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่บริษัทรถ ซึ่งอาจจะต้องทำความสะอาดระบบท่อส่ง รวมทั้งหารอยรั่วที่ทำให้เกิดความชื้น
    สำหรับพรม หรือฝ้า หรือวัสดุที่มีรู เมื่อเกิดเชื้อราให้โยนทิ้ง เพราะเราไม่สามารถทำความสะอาดเชื้อราที่อยู่ในรู หรือร่องเหล่านั้นได้หมด หากมีน้อยที่จุดใดจุดหนึ่งก็ลองกำจัดดู แต่อาจขึ้นมาได้อีกนะคะ หากมีกำลังจ่ายก็ทิ้งไป ซื้อใหม่มาใส่ หรืออาจใช้วัสดุรองอย่างอื่นแทนพรมไปก่อน
    กรณีเบาะนั่งที่เป็นเนื้อผ้า อันนี้คงไม่ไหว หากขึ้นรามากเกินฟูไปหมด เบาะเปียกชื้น คงต้องรื้อออกเปลี่ยน  เพราะยังไงๆตราบที่มีความชื้นในรถ ราก็ขึ้นได้ตลอดเวลา
    สำหรับวัสดุผิวแข็ง หรือผิวเรียบให้ล้างบริเวณที่เป็นเชื้อราด้วยน้ำสบู่ และทำให้แห้ง (ใช้ไดร์เป่าผม)
    ส่วนที่เป็นยางใช้ผงซักฟอกลงแปรงอ่อน ขัดและเป่าให้แห้ง


คราวนี้ก็ถึงส่วนที่เราถอดออกไม่ได้เช่น ส่วนเพดานรถ แต่ละคันก็มีวัสดุที่ไม่เหมือนกันก็ต้องอ่านเรื่องนี้แล้วพิจารณาดูว่าควรใช้แบบไหนจึงเหมาะ

เบาะหนังขึ้นรา ก็ให้ใช้กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่จะหนาหน่อย หรือไม่ก็ฟองน้ำ ทุกอย่างใช้แล้วควรทิ้งเลยไม่แนะให้ใช้ผ้า ถ้าฟองน้ำเช็ดทีก็บีบล้างทีจะได้ไม่ไปปนเปื้อนต่อ แต่จริงๆแล้วกระดาษ tissue หนาดีที่สุด เช็ดทิ้งๆ ทันที เช็ดแบบหมาดๆ

เช็ดราออกแล้วก็ให้ใช้น้ำส้มสายชู (สีขาว มีข้อแนะนำในตอนก่อนนี้แล้ว) ผสมน้ำเปล่า 1:1 กะประมาณดู น้ำน้อยไปหน่อยก็ไม่เป็นไร  ควรใช้ขวดสเปรย์ที่ฉีดน้ำนะคะ  ผสมเสร็จก็ ฉีดๆๆๆๆไปยังบริเวณที่มีราให้ทั่ว ไม่ต้องเช็ด ปล่อยทิ้งไว้จนกลิ่นน้ำส้มเบาลง เพราะต้องการให้น้ำส้มช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  ระหว่างนี้เปิดประตูรถทิ้งไว้ตลอด
ถ้าราหนามากก็ให้ทำซ้ำเลย อย่ารีบเช็ดน้ำส้มออก ถ้าไม่มีรอยคราบอะไรก็ปล่อยแห้งไปเลยก็ได้ หมดกลิ่นก็ปิดรถ

เพียงเท่านี้ก็ได้รถที่ปลอดราในระดับหนึ่งกลับมา ในระหว่างนี้ให้ลองสังเกตดูว่าในรถยังมีความชื้นจากส่วนใดๆในรถหรือไม่ พยายามที่สุดที่จะลดความชื้นในรถ ในช่วงนี้หากไม่แน่ใจพยายามเอารถออกไว้ในที่มีแดด เปิดกระจกรถเล็กน้อย อย่าเพิ่งหาที่ร่มจอดรถ จับเขาไว้กลางแดดให้มากหน่อย

meepole ไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เพราะเราไม่สามารถฆ่าเชื้อได้หมด เราเพียงแต่แก้ไขเรื่องความชื้น เชื้อราก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้แล้ว

รู้ได้อย่างไรว่ากำจัดเชื้อราหมดไปแล้ว

ให้ดูด้วยตาไม่พบเชื้อราในบริเวณดังกล่าว หรือไม่มีกลิ่น (อันนี้ต้องปิดรถแล้วลองดมในวันถัดๆไป)

หลังจากจัดการเรียบร้อยแล้ว ช่วงแรกนี้ให้หมั่นตรวจสอบว่ามีความชื้นหรือเชื้อราเกิดขึ้นที่อื่นที่มองไม่เห็นหรือไม่ เพราะความชื้นจะค่อยๆออกมา ราจะใช้เวลา 24-50 ชั่วโมงในการเจิญเติบโตถ้าขึ้นอีกให้ทำซ้ำในช่วงแรกนี้ ต่อไปจะดีขึ้นเอง

ปัจจัยที่สำคัญคือต้องกำจัดแหล่งที่จะทำให้เกิดความชื้นเสียก่อน หากยังมีความชื้นอยู่ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นใหม่อีก

การทิ้งของที่มีเชื้อราไม่ควรกองตั้งไว้เพราะจะแพร่กระจายไปส่วนอื่นของบ้านได้ ให้ใส่ถุงพลาสติกมัดแน่นแล้วทิ้ง

หากแพ้กลิ่นน้ำส้มสายชู อาจลองใช้สูตรอื่นที่แนะไว้ก่อนหน้านี้ แต่สารธรรมชาติที่ไม่รุนแรงย่อมปลอดภัยต่อตัวเรา ลองเลือกดู และข้อแนะนำทั้งหมดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องเรือนอื่นๆในบ้านได้เลยค่ะ


ID=2430,MSG=2741
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

ราบ้าน-รารถ กำจัดไม่ยาก

สิ่งที่บ่งชี้ว่าในบ้านมีราอยู่คือ กลิ่นเหม็นอับ เพราะราจะสร้างสารระเหยปล่อยออกมาในอากาศ สารเหล่านี้มีความเป็นพิษ ถ้าสูดดมนานๆ จะเกิดอาการมึนงง เวียนหัว อ่อนเพลีย เรียกรวม ๆ ว่า อาการป่วยจากการอยู่ในอาคาร (Sick building syndrome) ถ้าออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอก อาการก็จะดีขึ้น

คนที่อยู่ในบ้านหรือที่ทำงานซึ่งอับชื้น เต็มไปด้วยเชื้อราเป็นเวลานาน มีผลทำให้สุขภาพทรุดโทรม ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เจ็บป่วยง่าย เสี่ยงที่จะเกิดอาการภูมิแพ้ หรือเป็นโรคติดเชื้อ

การกำจัดราในบ้านที่ถูกน้ำท่วม ควรทำทันทีหลังน้ำลด โดยเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อระบายกลิ่นอับและก๊าซก่อนที่จะเข้าไปทำความสะอาด ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันอ่อนแอไม่ควรเข้าไปเอง ผู้ทำควรสวมบูตยาง ถุงมือ แว่น และหน้ากากที่ป้องกันเชื้อราได้ 

ถ้าพบเชื้อราขึ้น ให้ใช้น้ำยาซักผ้าขาว อ่านดูที่ฉลากว่ามีโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ประมาณ 6% ในปริมาณ 1 ถ้วยตวง (240 ซีซี) ผสมน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 4 ลิตร) ราดลงบนบริเวณที่มีราขึ้น ทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที ให้น้ำยาออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรารวมทั้งจุลินทรีย์ต่าง ๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เชื้อราจะตายหมดแต่อาจยังมีคราบอยู่ ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดและแปรงขัดออกตามปกติ (ควรใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำที่ฉลากบอกไว้)

หลังการใช้ พื้นผิวที่สัมผัสน้ำยานี้อาจถูกกัดเป็นรอยซีดด่าง แต่จะไม่มีสารตกค้าง เมื่อใช้น้ำล้างออกควรทำให้บ้านแห้งโดยเร็ว ด้วยการเช็ดให้แห้งทั้งที่พื้นและผนังบ้าน เปิดตู้ต่าง ๆ ดึงลิ้นชักออก เปิดประตูหน้าต่าง ถ้าไฟฟ้าใช้ได้แล้ว เปิดพัดลมช่วยไล่ความชื้น หรือนำไปตากแดด

ควรระวังเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้หรือหนังแท้ บางอย่างจะเสียรูปร่างถ้าเปียกน้ำแล้วเอาไปตากแดด จึงควรปล่อยให้แห้งในที่ร่ม เมื่อพื้น ผนัง และส่วนอื่นๆ ของบ้านแห้งสนิท จึงเริ่มซ่อมแซมบ้าน เช่น ปูพื้นไม้ปาร์เกต์ ปูกระเบื้อง ติดวอลล์เปเปอร์ ทาสี ทำตู้ติดผนัง ฯลฯ รวมทั้งการทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ที่จะป้องกันเชื้อราและแมลง อย่ารีบทำตอนบ้านยังชื้น เพราะความชื้นจะถูกกักอยู่ภายในเนื้อวัสดุ จะเกิดผลเสียหายและทำให้ราขึ้นในภายหลัง

เชื้อราในรถยนต์
สำหรับรถยนต์ที่ห่อพลาสติกไว้ หรือได้รับความชื้นนานๆ อาจมีเชื้อราขึ้นตามเบาะ เพดานหลังคา พรมปูพื้น ช่องเก็บของท้ายรถ วัสดุหุ้มพวงมาลัย คอนโซล และที่มองไม่เห็นคือในระบบปรับอากาศ

วิธีกำจัดเชื้อราในรถยนต์ ที่แนะนำคือ ใช้น้ำส้มสายชูกลั่นชนิดใสไม่มีสี (ซื้อจากร้านค้าที่ไว้ใจได้ว่าจะไม่เป็นน้ำส้มสายชูปลอม มิฉะนั้นรถอาจเสียหาย) ซึ่งมีกรดอะซิติกหรือกรดน้ำส้ม ประมาณ 5% นำมาใส่ในกระบอกฉีดพ่นละอองน้ำที่สะอาด

จอดรถในที่โล่งห่างไกลคน และมีการระบายอากาศที่ดี เปิดประตู ผู้ทำความสะอาดสวมหน้ากากกันฝุ่นชนิดที่กรองสปอร์ของเชื้อราได้ ยืนเหนือลมหรือใช้พัดลมช่วย ฉีดพ่นสเปรย์น้ำส้มสายชูไปตามบริเวณที่มีราขึ้นภายในรถ ฉีดให้ทั่วแล้วทิ้งไว้ ต้องระวังอย่าสูดดมหรือให้ปลิวเข้าตา ความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูจะฆ่าเชื้อรา และจะระเหยหมดไปเองโดยไม่มีสารตกค้าง เมื่อระเหยหมดแล้วอาจสเปรย์ซ้ำอีกเพื่อให้มั่นใจว่าฆ่าราได้หมด

ซากเชื้อราที่ตายแล้วจะยังคงติดอยู่ ตามพื้นผิวที่เรียบและเบาะหนัง (แท้และเทียม) ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดออกและทิ้งผ้านั้นไป ถ้าเป็นเบาะผ้ากำมะหยี่อาจต้องใช้แปรงพลาสติกขัดและใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดออก ควรสวมหน้ากากกันฝุ่นตลอดเวลา เพราะเศษซากของราที่ตายแล้ว ถ้าหายใจเข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้เช่นกัน

หยุดราลามขึ้นบ้าน
ควบคุมความชื้น ได้แก่ ไอน้ำจากการประกอบอาหาร กาต้มน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่นเวลาอาบน้ำ กิจกรรมการซักล้าง และอื่นๆ สภาพของตัวบ้านเช่น รอยรั่วที่หลังคา รอยแตกที่ผนัง การรั่วซึมของระบบประปา ระบบระบายน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความชื้นเกิดขึ้นในบ้าน ไม่ทิ้งเศษอาหารหรือผลไม้ไว้นานจนมีราขึ้น ไม่สะสมขยะจำนวนมากไว้ในบ้าน รักษาความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ และเปิดบ้านให้มีการถ่ายเทอากาศอย่างทั่วถึง


ID=2430,MSG=2742
Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

Re: การกำจัดเชื้อรา ทำลายเชื้อรา ฆ่าสปอร์ของเชื้อรา (To kill mold spores)

เชื้อราก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เชื้อราที่อยู่ในบ้านมักจะไม่อันตราย แต่สปอร์ Spore ของมันจะทำให้เกิดผลเสีต่อสุขภาพเช่น

    ปฏิกิริยาภูมิแพ้ Allergic Reactions เมื่อได้รับสปอร์ได้แก่อาการ ไข้ บางคนมีอาการจาม น้ำมูกไหล หากสัมผัสบ่อยๆก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หนักถึงกับเสียชีวิต
    โรคหอบหืด
    ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ Hypersensitivity Pneumonitis
    ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
    ก่อให้เกิดสารพิษ

สำหรับผู้ที่แพ้ราเมื่อได้สัมผัสเชื้อราทั้งทางสัมผัส การสูดดมอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างๆ เช่น แพ้หญ้า Hay fever หอบหืด ผื่นแพ้ ตาอักเสบ เจ็บคอ น้ำมูกไหล

เราจะกำจัดเชื้อรานี้ได้อย่างไร

เนื่องจากเชื้อราเราพบได้ตามธรรมชาติเราไม่สามารถกำจัดได้หมด แต่เราสามารถป้องกันมิให้เชื้อเจริญเติบโตโดยการควบคุมความชื้นในบ้าน เมื่อคุณพบเชื้อราในบ้าน คุณต้องรีบกำจัดและหาสาเหตุโดยเฉพาะความชื้น หากคุณไม่แก้ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นใหม่

เนื่องจากเชื้อราอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพดังได้กล่าวข้างต้น และการหาสาก็อาจจะมีความยุ่งยาก ดังนั้นหากพื้นที่ที่เป็นเชื้อราไม่มากก็อาจจะกำจัดเองได้ แต่หากเป็นพื้นที่กว้างก็อาจจะต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญในการกำจัด ข้อแนะนำเกี่ยวกับการกำจัดเชื้อรา

    หากบริเวณที่เป็นเชื้อราไม่มากขนาด 10 ตารางฟุตเราสามารถกำจัดเองได้
    หากมีเชื้อราเป็นบริเวณกว้างและอาคารนั้นเป็นที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ก็ควรจะใช้บริการของมืออาชีพ
    หากคุณใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพต้องให้แน่ใจว่ามีความรู้และทักษะเพียงพอ และสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้
    หากคุณพบว่ามีเชื้อราที่ระบบทำความเย็น ต้องหยุดใช้เครื่องปรับอากาศและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจจะต้องทำความสะอาดระบบท่อส่ง รวมทั้งหารอยรั่วที่ทำให้เกิดความชื้น
    หากคุณคิดว่าเชื้อราเกิดจากความชื้นที่เกิดจากรอยรั่ว ควรจะปรึกษาช่างเพื่อจัดการรอยรั่วนั้น
    หากคุณมีปัญหาสุขภาพ คุณควรจะอยู่ห่างๆในระหว่างที่มีการกำจัดเชื้อรา

วิธีกำจัดเชื้อรา

วิธีที่นำเสนอนี้เป็นวิธีง่ายๆที่ทำได้ด้วยตัวเอง เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นกับอุปกรณ์นั้นอาจจะทำให้เกิดรอยด่างบนอุปกรณ์นั้น

    เมื่อเกิดรอยรั่วหรือชื้น รีบแก้ไขและรักษาอุกรณ์หรือบริเวณนั้นให้แห้งทันที
    สำหรับวัสดุผิวแข็งให้ล้างบริเวณที่เป็นเชื้อราด้วยน้ำสบู่ และทำให้แห้ง
    สำหรับพรม หรือฝ้า หรือวัสดุที่มีรู เมื่อเกิดเชื้อราให้โยนทิ้ง เพราะเราไม่สามารถทำความสะอาดเชื้อราที่อยู่ในรู
    เมื่อมีเชื้อราที่ฝ้าต้องรีบกำจัด และอย่าอยู่ใกล้หรือสัมผัส
    ไม่ควรทาสีบนอุปกรณ์ที่มีเชื้อรา เพราะไม่ใช่วิธีกำจัด ต้องทำความสะอาดเชื้อราก่อนและทำให้แห้ง แล้วจึงทาสีทับ
    หากอุปกรณืที่มีเชื้อรามีราคาแพง หรือมีคุณค่าและไม่อยากทิ้ง ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อซ่อมหรือกำจัดเชื้อราให้หมดไป

การป้องกันตัวเองระหว่างทำกำจัดเชื้อรา

    สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เพื่อป้องกันการหายใจเอาเชื้อราเข้าไป หรืออาจจะใช้หน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่า
    ใสถุงมือยาวเป็ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อมาสัมผัส
    ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกรเด็นเข้าตา

รู้ได้อย่างไรว่ากำจัดเชื้อราหมดไปแล้ว

ปัจจัยที่สำคัญคือต้องกำจัดแหล่งที่จะทำให้เกิดความชื้นเสียก่อน หากยังมีความชื้นอยู่ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นใหม่

    ดูด้วยตาไม่พบเชื้อราในบริเวณดังกล่าว หรือไม่มีกลิ่น
    หลังจากจัดการเรียบร้อยแล้ว ให้หมั่นตรวจสอบว่ามีความชื้นหรือเชื้อราเกิดขึ้นหรือไม่
    คนสามารถทำงานหรืออยู่บริเวณนั้นโดยที่ไม่เกิดปัญหาต่อสุขภาพ

การป้องกันความชื้น

เป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันเชื้อราในบ้าน หรือที่ทำงาน

    เมื่อเกิดความชื้นขึ้นในบ้านหรือที่ทำงานจะต้องแก้ไขรอยรั่วหรือซึมทันที และจะต้องจัดล้างหรือทำให้บริเวณที่เปียกชื้นให้แห้งโดยทันที หากปล่อยทิ้งเกิด 24 ชั่วโมงอาจจะทำให้เกิดเชื้อรา
    จะต้องดูแลรางน้ำบริเวณหลังคามิให้มีสิ่งแปลอกปลอมที่จะขวางทางเดินของน้ำ
    ตรวจสอบสนามหญ้าในบ้านว่ามีความลาดเอียงถูกต้องหรือไม่ เพื่มมิให้เกิดน้ำขังบริเวณบ้าน
    ตรวจสอบเครื่องปรับอากาศว่าถาดรองน้ำมีสิ่งที่จะทำให้เกิดน้ำขังหรือไม่ และตรวจสอบสายระบายว่าอุดตันหรือไม่
    รักษาความชื้นภายในบ้านให้ต่ำกว่า 60% อาจจะซื้อเครื่องมือตรวจความชื้น
    หากคุณพบว่ามีคราบน้ำจับที่กระจก และรีบเช็ดให้แห้งพร้อมทั้งหาว่ามีน้ำรั่วที่ใดและให้รีบแก้ไข

วิธีการลดความชื้นภายในบ้าน

    อุกรณ์ที่จะทำให้เกิดความชื้นให้เอาออกนอกบ้าน เช่น อย่าตากผ้าไว้ในบ้าน เตาต้มน้ำ ทำกับข้าว
    ใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องลดความชื้น
    ใช้พัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ หรือในห้องครัวเพื่อลดความชื้น

การป้องกันน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

    ลดความชื้นภายในบ้าน
    ให้อากาศภายในห้องถ่ายเทโดยการเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมดูดอากาศ
    เพิ่มอุณหภูมิห้อง
    ใช้ผ้าพันวัสดุที่มีผิวเย็นเช่นโลหะ

การตรวจสอบเชื้อรา

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีการนำไปตรวจสอบเชื้อ เพราะเราเห็นด้วยตา และกรรมวิธีตรวจสอบก็มีขั้นตอนมากมาย

การค้นเชื้อราในที่ลับ

เชื้อราในท่อแอร์


เชื้อราที่wall paper


เชื้อราที่ผนัง

ห้องที่มีความชื้นแต่คุณไม่สามารถตรวจสอบว่ามีเชื้อรา ผู้ที่อยู่อาศัยมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิแพ้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบหาเชื้อราให้ถึงถึงเชื้อราในที่ลับในที่นี้หมายถึงบริเวณที่เรามิได้นึกถึงเช่น ใต้พรม ด้านบนของฝ้าเพดาน ใต้ wall paper ผนังด้านในของท่อแอร์ ฝาผนังเป็นต้น

เมื่อคุณสงสัยว่าจะมีเชื้อราซ่อนเร้นให้ปรึกษาผู้เชียวชาญเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

การน้ำยาฆ่าเชื้อรา

โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เพราะเราไม่สามารถห่าเชื้อได้หมด เราเพียงแต่แก้ไขเรื่องความชื้นเชื้อราก็ไม่สามารถเจริญเติบโต จะพิจารณาในกรณีที่ผู้อยู่อาศัยเป็นโรคที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี

การแก้ไขเมื่อมีการเปียกน้ำของวัสดุในบ้าน

วัสดุ
  การแก้ไข

หนังสือและกระดาษ
    หนังสือหรือกระดาษไม่มีค่าก็ให้ทิ้ง
    ทำสำเนาเก็บไว้ ส่วนที่เปียกทิ้งไป
    แช่แข็ง

พรม
    ให้เอาน้ำออกโดยใช้เครื่องดูดน้ำจากพรม
    ลดความชื้นของห้อง
    ใช้พัดลมช่วย

ฝ้า
    ให้เปลี่ยนใหม่

ฉนวนหุ้มท่อแอร์
    ให้เปลี่ยนใหม่

คอนกรีต ถ่าน
    ให้เอาน้ำออกโดยใช้เครื่องดูดน้ำ
    ใช้พัดลมหรือเครื่องทำความร้อนช่วย

ปลอกไฟเบอร์
    ทิ้งและเปลี่ยนใหม่

เสื่อน้ำมัน กระเบื้อง กระเบื้องยาง
    ใช้เครื่องดูดน้ำ หรือเช็ดให้แห้ง
    ให้ตรวจใต้เสื่อว่าเปียกหรือไม่

ผนังยิบซัม
    ถ้าไม่บวมก็ไม่ต้องเปลี่ยน
    ใช้พัดล่มช่วย

ผ้าม่าน
    ถอดไปซักและทำให้แห้ง


ID=2430,MSG=2743
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Sunday เวลา 07:32:32am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com