การทำเว็บไซต์เพิ่อขายสินค้าไปต่างประเทศ

การทำเว็บไซต์เพิ่อขายสินค้าไปต่างประเทศ

ขายส่งก็แนะนำ Alibaba (เน้นขายส่ง ต้องมีการจัดทำเอกสารต่างๆด้วย) กับ Tradekey  (ถ้าภาษาอังกฤษดี) ช่องทางนี้ดี ได้ลูกค้าเรื่อยๆ หากถ้าเป็น Niche Market  มีติดต่อเกือบทุกวัน

Ebay (เน้นขายปลีก) เป็นเเนว Active Income คือ ต้องทำตลอด หยุดเมื่อไรรายได้หมดทันทีเลย และต้องคอยตอบเมลล์เยอะ
แต่ก็มีวิธีแก้ คือ การทำในรูปแบบบริษัท จ้างพนักงานฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายตอบเมล์ ฝ่ายถ่ายรูปสินค้ามาลงเว็บ ฝ่ายส่งของไปรษณีย์ ฝ่ายอื่นๆ
คิดค่าขนส่งดี อย่าใด้ผิดพลาด, ถ้าได้รับเงิน PayPal มันมีให้เราเอา tracking ID ไปรษณีย์ ไปกรอกได้ด้วย

Passive Income จะตรงกันข้ามอย่างเช่น การทำ adsense เป็นต้น

ถ้าสินค้ากำไรสูงและมีเงินทุนเพียงพอ, PPC ก็เป็นทางเลือกที่ดีมากวิธีหนึ่ง เเละต้องรู้ด้วยว่า keyword ไหนทำกำไร ต้องวิเคราะห์ ทำการบ้านเยอะเลย
ลอง บิต ดูทำไปสักพักจะเริ่มเข้าใจ เเละจับทางได้, งบสำหรับ PPC ก็เตรียมไว้ เเล้วแต่การเเข่งขันเเละกำไรของสินค้านั้นๆ อาจจะเป็นเดือน 10,000 หรือ หลายๆหมื่นก็ได้
แล้วแต่ธุรกิจ และความชำนาญ ช่วงแรกอาจขาดทุนเพราะขาดประสบการณ์

การทำ SEO จะเป็นการโปรโมทเว็บแบบยั่งยืน และลงคุ้มกว่าในระยะยาว ทั้งนี้ต้องดูสินค้าที่จะทำตลาด
เพระา SEO ต้องใช้เวลาทำ ซึ่งสินค้าบางประเภท บางชนิด วงจรสั้น หากมัวทำ SEO อยู่กว่าจะได้ สินค้านั้นก็ OUT! เเล้ว

การทำ Social Network Marketing เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมากขึ้น เช่น ช่องทาง Facebook ,Hi5 , etc.
แต่ไม่ควรขายแบบ hard sell ให้เน้นการสร้างแรนด์ และ CRM)

Facebook มีหลักๆ 3 แบบ กลุ่ม, แฟนเพจ และส่วนตัว
2.1 ถ้าเอาแบบโปรๆ ก็สร้าง Fanpage แล้วเอาไปติดที่เว็บไซต์เรา จากนั้นเริ่มหา แฟนโดยการดูว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเราเป็นใคร และให้เราไปร่วมกับกลุ่มนั้น และก็พูดคุยกับเขา พร้อมแนะนำ Fanpage ของเรา (Fanpage จะโตได้ต้องมี Activity  อาจจะแจกสินค้าและบริการที่ตรงกับสิ่งที่เราทำการตลาด ให้กับ แฟนๆ ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกเดือน เพื่อให้เกิด activity)
2.2 ถ้าเอาแบบบ้านๆ แบบโปรไฟล์ก็ สมัคร ID และไปเฟ็นเพื่อนกับกลุ่มเป้าหมาย และอย่า Hard sell ให้เน้นการสร้าง ralation ship เช่นการพูดคุยธรรมดา เช่นการ Chat Facebook กับฝรั่ง ประมาณขอความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าเรา  ว่าเราจะขายนี่นะ  คุณคิดว่าที่ประเทศคุณชอบไหม  ข้อดีคือเขาจะเข้าไปดูเว็บเรา  และถ้าสนใจก็สั่งซื้อ  ถ้าไม่สนใจก็ถามเขาอีกว่าเป็นยังไง เพื่อเอาไว้ปรับปรุงเว็บเรา (ต้องทำเว็บให้ดูดี ให้ลูกค้าชอบ และประทับใจ)

หารายชื่อผู้ซื้อจากกรมส่งเสริมการส่งออก แล้วdirect mail

อีเมลย์มาหาเรา เพื่อถามการซื้อ หรือว่าถามสินค้า?
ถามสินค้ากับต่อราคา, ต้องดูคู่แข่งก่อน  ลองเข้าไปเช็คราคาคู่แข่งในอีเบย์ก่อน และอ่านกฏพร้อมกับแนวทางเอาตัวรอดจากลูกค้าหัวหมอ
ปัญหาเช่น
การส่งสินค้า  การส่งสินค้าแบบพัสดุย่อย จะไม่สามารถเช็คสถานะการส่งสินค้าได้ บางครั้งลูกค้าอาจจะได้รับสินค้าแต่อ้างว่าเราไม่ส่งสินค้าให้
แต่ถ้าเราลงทะเบียนก็จะสามารถเช็คสถานะโดยโทรไปสอบถามที่ไปรษณีย์

ดูราคาคู่แข่งจากเว็บต่างๆ ที่นี่ http://www.google.com/products

การขายใน ebay
ข้อดีคือ  ไม่ต้องโปรโมท 1 week ก็รู้ผลแล้วว่าขายได้หรือไม่ได้ งาน hand made ของไทยๆ จะขายดีในอีเบย์ด้วย

การส่งสินค้าไม่เหมือนกัน ราคาแตกต่างตามบริษัท
ไปรษณีไทย ลองเข้าเว็บคำนวน มันมี  http://www2.thailandpost.co.th/search_ems_result.asp
พัสดุไปรษณีย์ทางอากาศ และ พัสดุไปรษณีย์ทาง SAL หรือ พัสดุไปรษณีย์ทางภาคพื้น แตกต่างกันอย่างไร?

ต่างกันตรงระยะเวลาการจัดส่ง
พัสดุไปรษณีย์ทางอากาศ 8-14 วัน  SAL ยุโรป 21-30  อเมริกา 24-30  Surface ประมาณเดือนครึ่ง
ไปรษณีย์ ไทยค่าจัดส่งถูกที่สุด  โดยมากจะนิยมส่งแบบพัสดุย่อยทางอากาศ  และก็ลงทะเบียนอีก 50 บาท
(เป็นหลักฐานได้ และตรวจสอบทางโทรศัพทืได้ว่าถึงประเทศเขาหรือยัง แต่ไม่สาามารถ Track ผ่านเว็บได้)
หรือ สมัครใช้บริการของ DHL แบบ Global mail ราคาแพงกว่าพัสดุย่อยไม่มาก แต่ต้องใช้บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ค้ำประกัน 100,000 บาท
(ห้ามถอนออกภายในหนึ่งปี)  แต่บางทีก็มีโปรโมชั่น 50,000 บาท

Fanpage นั้น facebook ให้บริการฟรี  ส่วนการเข้าถึงลูกค้าแล้วแต่กลยุทธ์  ใช้คู่กันได้ครับ  fanpage เวลาเราอัพเดตเนื้อหาบทความใหม่ๆ ก็จะแสดงใน wall ของ Fanclub ด้วยครับ
อันที่ 3 สังสัยสุด และมากสุด คือ การโอนเข้าบัญชีเราที่ในไทยเลยเนื่ย ถ้าเราให้บัญชี และ หมายเลขบัญชีเค้าจะโอนจากธนาคารเค้า สมมุติ
คนซื้ออยู่ วอชิงตัน สั่งซื้อแล้วจ่ายค่ามัดจำเรา แล้วเค้าโอนจากธนาคารในประเทศเค้าเข้ามาในไทยเลยได้ใช่ไหมครับ แต่เสียค่าธรรมเนียม ผมเข้าใจถูกรึเปล่า
แล้วการเข้าแบงค์ที่เมกาแล้วเข้าถอนมาไทย คือ การให้ลูกค้าโอนเข้าบัญชีเราในธนาคารของไทยที่อยู่ในเมกา (สาขาเมกา) แล้วเราก็ถอนออกมายังในไทยอีกรอบ
ใช่ไหมครับ แต่เสียครั้งละ 400 บาท เข้าใจถูกไหมครับ

การจ่ายเงินถ้าไม่ได้สั่งเป็นล็อตใหญ่ โดยมากก็ชำระเต็มเลยครับ  ซึ่งถ้าเป็นราคาไม่แพงโดยมากเขาไม่ค่อยโอนธนาคารหรือส่งเงินผ่าน western union ครับ  ส่วนใหญ่ใช้บัตรเครดิต หรือPaypal ครับ  และถ้าใน ebay ส่วนใหญ่ก้ Paypal ครับ  และการถอนเงินจาก Paypal มีการถอนเข้าไทยโดยตรงกับถอนเข้าธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์คครับ (ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนนี้นะครับ)

ค่าขนส่งลูกค้าออก
เช่นราคาสินค้า 1,000 บาท ค่าส่ง 300 บาท  ลูกค้าจะต้องจ่ายให้เรา 1,300 บาทครับ  โดยเราสามารถให้ลูกค้าเลือกวิธีส่งได้ครับ  ราคาและเวลาก็แตกต่างกันไป
ราคาส่งเช็คจากที่เว็บไซต์นี้นะครับ http://www2.thailandpost.com/search_ems_result.asp

น่าจะไปลองตลาดสินค้าได้ที่ไหนบ้าง อยากจะขอลิสรายชื่อเว็บ
ขายปลีกลองที่ ebay ก็พอแล้วครับ  ขายส่งลอง alibaba ครับ (แต่ alibaba ควรมีเว็บไซต์นะครับ  เพราะจะง่ายขึ้นเยอะ)

เกี่ยวกับภาษีผมจะโดนหักภาษีระหว่างด่านเข้าประเทศหรือไม่ จะมีบิลย้อนหลังไหม?
ต้องเช็คกับกรม แต่โดยมากไม่โดน  ถ้าโดนลูกค้าก็จ่ายเอง  ตอนส่งถ้าขายปลีกก็ใส่เป็นของขวัญไว้)

ประเทศไทยจะหักภาษีขายสินค้าพวกนี้ไหม? ควรไปจดเป็นบริษัทดีไหม? หรือว่า นิ่งๆเอาไว้
ถ้าลองขายก็ขายผ่านอีเบย์ยังไม่ต้องจดทะเบียนบริษัท  ไว้ขายดีเป็นกอบเป็นกำค่อยจด


ID=2172,MSG=2465
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 11:16:11am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com