ความรักมิใช่การครอบครอง

ความรักมิใช่การครอบครอง

ความรักมิใช่การครอบครอง
" ฉันทนไม่ได้แล้ว ทีสามีของฉันทุบตีลูกสาวอย่ารุนแรงทุกครั้งที่ลูกกลับบ้านผิดเวลา ทั้งๆที่ลูกโตเป็นสาวแล้ว"
เสียงสะอื้น ด้วยความสงสารลูกและเจ็บปวดหัวใจของแม่วัย 48 ปี ดังมาทางโทรศัพท์ " สามีของฉันเขาก็ดีทุกอย่าง ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ตั้งใจทำงาน แต่ถ้าลูกกลับบ้านผิดเวลา เขาจะทำโทษลูกรุนแรงทุกครั้ง ฉันไม่เข้าใจเลยว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น "
" แล้วคุณพ่อทำร้ายคุณแม่ด้วยไหมค่ะ "
" กับฉันเขาไม่ทำ เขาจะทำกับลูก "
" ครอบครัวเดิมของคุณพ่อล่ะคะ เป็นอย่างไร "
" ครอบครัวเดิมเขาไม่ค่อยมีความสุขหรอกค่ะ "
" เป็นอย่างไรค่ะ ที่เรียกว่าไม่มีความสุข "
คุณแม่เริ่มเล่าถึงของครอบครัวของพ่อ " พ่อของเด็กเขาเป็นลูกคนโต พ่อของเขาก็ทุบตีเขาเสมอ เขาเคยเล่าให้ฟังว่า เขาก็ไม่ชอบที่พ่อทำแบบนี้ แต่เขาเข้าใจพ่อทำไปเพราะต้องการให้เขาได้ดี "
บ่อยครั้งทีมักพบว่า พ่อแม่แสดงความรัก ความห่วงใยลูกด้วยวิธีการควบคุม ซึ่งเป็นวิธีการที่พ่อแม่เองเคยถูกกระทำมาในวัยเด็ก เพราะเข้าใจว่าการควบคุม ด้วยความเข้มงวดและการลงโทษจะทำให้ลูกเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัย และเห็นว่าตัวเองและพี่ๆ น้องๆ ก็เคยถูกเลี้ยงดูเช่นนี้มาก่อน แต่ตนเองและพี่น้องทุกคนก็เติบโตมาได้ดิบได้ดี ไม่เห็นว่ามีใครมีปัญหาอะไร แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในตัวอย่างนี้ การกระทำของพ่อกลับทำให้เกิดความเจ็บปวดทั้งพ่อ แม่และลูก ทั้งๆ ที่คุณแม่ก็บอกว่าจริงๆแล้วพ่อเขารักลูกมาก ที่พ่อทำเช่นนั้นเพราะพ่อต้องการใกล้ชิดกับลูก อยากให้ลูกๆเชื่อฟัง อยากให้ลูกๆมาคอยเอาใจใกล้ๆ แต่ลูกๆไม่อยากเข้าใกล้เพราะพ่อใช้วิธีการเช่นนี้ ทำให้ลูกๆไม่สนิทกับพ่อ ซ้ำร้ายกลับบอกแม่ด้วยซ้ำว่า พวกเขาเกลียดพ่อ
จริงๆแล้วคุณพ่อรายนี้ ก็ไม่ได้เป็นคนใจไม้ไส้ระกำอะไร เพราะเป็นคนไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ รับผิดชอบครอบครัวได้ดี ไม่ทำร้ายภรรยา ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่า เขาอาจใช้วิธีการควบคุมเพราะกลัวการสูญเสียอำนาจอะไรบางอย่างโดยไม่รู้ตัว หากเรามีโอกาสชักชวนให้พ่อรายนี้ได้ทบทวนถึงความรู้สึกของเขา ในประสบการณ์ที่เขาเคยถูกลงโทษในวัยเด็กว่า เขาเองเคยรู้สึกไม่ชอบหรือโกรธที่คุณพ่อของเขาลงโทษเขาเกินกว่าเหตุเช่นกัน แต่วัฒนธรรมไทยสอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ สอนให้ลูกเคารพพ่อแม่ ห้ามเถียง เพราะพ่อแม่มีบุญคุณล้นฟ้า การโกรธพ่อแม่ย่อมเป็นบาปอย่างใหญ่หลวง เด็กสมัยก่อนส่วนใหญ่ที่ถูกพ่อแม่ลงโทษแม้จะโกรธก็ต้องพยายามเก็บความรู้สึกนั้นๆเอาไว้ด้วยความรู้สึกขัดแย้ง ที่ไม่สามารถแสดงออกอย่างเปิดเผย และบุคคลเหล่านั้นก็เลียนแบบการกระทำในอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พ่อแม่ที่เคยถูกทารุณกรรมในอดีต มักใช้วิธีการรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดูลูกในปัจจุบันเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังพบว่าภายใต้ความโกรธของมนุษย์ ก็คือความกลัวถูกคุกคาม กลัวการสูญเสียอำนาจควบคุม ที่ทำให้มนุษย์ต้องใช้ความโกรธเพื่อกลบเกลื่อน และเอาชนะความรู้สึกกลัวของตนเองไว้ คุณพ่อรายนี้ก็เช่นเดียวกัน เขาพยายามใช้อำนาจของความเป็นพ่อ ควบคุมให้ลูกกลับบ้านตรงเวลา ด้วยการลงโทษเมื่อลูกกลับบ้านผิดเวลา แม้ลูกจะโทรมาบอกว่าจะกลับช้ากว่าเวลาปกติแล้วก็ตาม คุณพ่อรายนี้กลัวอะไร?
หากคุณพ่อต้องการให้ลูกกลับมารู้สึกดีกับคุณพ่อเหมือนเดิม คุณพ่อต้องแก้ไขปัญหาความโกรธที่เกินกว่าเหตุของตนเองเสียก่อน ด้วยการสำรวจความรู้สึกของตนเองอย่างซื่อสัตย์ โดยไม่ปิดบังไว้ ความกลัวหรือความเจ็บปวดที่ทำให้คุณพ่อโกรธอย่างมากจนต้องทำโทษลูกอย่างรุนแรง เมื่อลูกไม่กลับบ้านตรงเวลาเกิดจากสาเหตุอะไร ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณกลัวจะเสียการควบคุมลูก ขอให้บอกกับลูกตรงๆว่า " การที่ลูกกลับบ้านไม่ตรงเวลา มันทำให้พ่อรู้สึกว่าลูกไม่เชื่อฟัง รู้สึกว่าลูกไม่เห็นพ่ออยู่ในสายตา รู้สึกว่าลูกท้าทายอำนาจพ่อ รู้สึกว่าพ่อควบคุมลูกไม่ได้ หรือกลัวว่าลูกจะได้รับอันตราย..." ซึ่งการบอกนั้นต้องพูดอย่างเป็นกันเอง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือพยามตั้งป้อมให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตนเองเป็นเชลย เพราะถ้าทำเช่นนั้น จะทำให้ลูกอยากโต้แย้งมากกว่าที่จะยอมรับฟัง
การบอกถึงความรู้สึกเช่นนี้ มิได้แสดงความอ่อนแอของลูกผู้ชายแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการเปิดเผยตัวเองจะทำให้ลูกเข้าใจพ่อมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่พ่อทำไม่ใช่เพราะพ่อต้องการทำร้ายลูก แต่เป็นเพราะพ่อเองต่างหากที่ควบคุมอารมณ์กลัวของตนเองไม่ได้ ถ้าทำเช่นนี้เท่ากับคุณได้ปลดปล่อยตัวเองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วมนุษย์ผู้ชาย มักเป็นเพศที่ไม่ค่อยแสดงความรู้สึกอ่อนแอให้ใครเห็น เพราะถูกสอนมาว่าเพศชายต้องเข้มแข็ง ฉะนั้นการเปิดเผยตัวเองออกมา จะช่วยให้คุณพ่อมีโอกาสใหม่ๆ ในการมองเห็นตัวเองและปรับปรุงชีวิตใหม่ได้
สำหรับคุณแม่และลูกๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้ หากเราแก้ไขคุณพ่อไม่ได้ เพราะการแก้ไขผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยากมาก ขอให้แก้ไขที่ตัวเราโดยทำใจผ่อนคลาย เพราะปัญหานั้นเป็นปัญหาของคุณพ่อที่มีบาดแผลมาแต่วัยเด็ก คุณพ่ออาจทำไปโดยไม่รู้ตัว จริงๆแล้วคุณพ่อเป็นคนที่น่าสงสาร เพราะเขาปล่อยให้ประสบการณ์ในอดีตควบคุมตัวเขา จนทำให้เขาโกรธง่ายตลอดเวลาและทำให้เขาต้องเสียพลังงานไปอย่างมากมายกับความโกรธ คุณแม่ต้องพยายามหาทางช่วยให้คุณพ่อพ้นจากความโกรธก่อนที่ความโกรธจะทำให้คุณพ่อตายด้วยโรคหัวใจ เช่น อย่าพยายามกระตุ้นให้คุณพ่อโกรธ ด้วยการให้ลูกพยายามกลับบ้านให้ตรงเวลา ยอมรับความรู้สึกเจ็บปวดของคุณพ่อที่เขาต้องปฏิบัติต่อลูกเช่นนั้นเพราะเขาทำไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้คุณพ่อรับรู้ถึงความรู้สึกของลูกที่มีต่อเขา ด้วยการให้ลูกบอกความรู้สึกของเขาต่อการกระทำของพ่อ เช่น " ลูกเสียใจมากที่พ่อทำโทษลูกแรงๆ โดยไม่ยอมฟังเหตุผล " บอกความปรารถนาดีหรือความเป็นห่วงที่ลูกมีต่อพ่อ " ลูกไม่อยากให้พ่อโกรธ เพราะเวลาพ่อโกรธจะทำให้พ่อเครียดและเสียสุขภาพ " บอกความปรารถนาดีที่ต้องการให้พ่อปฏิบัติต่อเรา เช่น " ลูกอยากให้พ่อรับฟังเหตุผล ให้อิสระและยืดหยุ่นเรื่องเวลากลับบ้านของลูกให้มากกว่านี้ " " จริงๆแล้วลูกรักพ่อ แต่วิธีการลงโทษของพ่อทำให้ลูกกลัวและไม่อยากเข้าใกล้พ่อ " การบอกความรู้สึกและความปรารถนาในครั้งแรกๆ อาจจะยากสำหรับผู้ทีไม่เคยพูดถึงความรู้สึกของตนเองมาก่อน แต่ถ้าคุณสามารถทำได้จะช่วยให้คุณรู้สึกเป็นอิสระ ไม่เก็บกด มีสภาพจิตใจปลอดโปร่งพร้อมที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
ในครั้งต่อๆไปหากคุณโกรธใคร ขอให้ลองหยุดสำรวจตัวเองสักนิดว่าคุณกลัวอะไร เพราะถ้าหากคุณค้นพบตัวเองแล้ว และสามารถสื่อความรู้สึกต่างๆ ได้อย่างเปิดเผยและจริงใจ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความโกรธเพื่อปกป้องตัวเอง หรือควบคุมผู้อื่นอีกต่อไป เพราะ " ความรักคือความเข้าใจ มิใช่การครอบครอง "


ID=1990,MSG=2281


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 08:02:35am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com