ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ

ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ

ผู้ที่ใช้รถใช้ถนน  ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้าควรทราบ  ไม่ได้สอนให้หัวหมอหรือเอาเปรียบคู่กรณี  แต่คุณควรจะรู้กฏเกณฑ์กติกาที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน, พนักงานอัยการ,ศาล,ทนายความหรือพนักงานเคลมของบริษัทประกันภัยเขาใช้กัน
กฏหมายฉบับเดียวคือพระราชบัญญัติการจราจรทางบกซึ่งมีอยู่แค่ร้อยกว่ามาตรา
ผู้ทำหน้าที่สอบสวนและพิพากษาคดีใช้กฏหมายเล่มนี้เป็นคัมภีร์ แต่ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ทราบว่าได้ศึกษากฏหมายฉบับนี้บ้างหรือไม่
บางคนไม่เคยอ่านเลยแต่สอบใบอนุญาตขับขี่ผ่าน
คนรุ่นเก่าใช้เส้นสายทำใบอนุญาตขับขี่โดยไม่ได้สอบ
บางคนอ่านเพียงแค่ผ่านตาไปเที่ยวเดียว

ฉะนั้นเคล็ดลับของการ “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ”คือ
ให้ท่านไปหาซื้อ พ.ร.บ.จราจรทางบกมาอ่านทำความเข้าใจอย่างน้อย 2 เที่ยวต่อเดือน
อ่านทุกเดือนนะครับไม่เช่นนั้นลืม  ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเขาต้องเปิดดูบ่อยเพราะมีคดีรถชนหรือโดนกันทุกวัน
ทบทวนความรู้เดิมกันสักหน่อยนะครับ  เริ่มตั้งแต่คำจำกัดความ  ท่านคงเข้าใจแล้วนะว่า  ทางร่วมทางแยก  ที่คับขัน  เขตปลอดภัย  ช่องเดินรถ  เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ  เส้นแนวหยุด  เส้นให้ทาง  เส้นทางข้าม  เส้นทะแยงห้ามหยุดรถ  เส้นชลอความเร็ว ฯลฯมีความหมายเช่นไร  และท่านจะต้องปฏิบัติเช่นไรจึงจะถูกต้อง  ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่นก็คือผิด  เมื่อท่านไม่ปฏิบัติตามกฏจราจรแล้วถือว่าท่านประมาทปราศจากความระมัดระวัง  นั่นก็คือถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายผิด  ส่วนมากตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจะชี้เบื้องต้นให้คู่กรณีทราบก่อนว่า
“คุณเสียเปรียบคู่กรณี”(ที่จะชี้ว่าได้เปรียบคู่กรณีไม่เคยมี ) และมักจะไม่ชี้ชัดร้อยเปอร์เซ็นต์เลยว่า  คุณเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นฝ่ายผิด  ภาษานักเลงเรียกว่า “แทงกั๊ก” มันมีเหตุผลหลายอย่างครับ

นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะสำคัญของกฏหมายฉบับนี้ที่ท่านต้องแม่น คือ
เรื่องการใช้ทางเดินรถ
ตั้งแต่
การขับรถ
การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า
การออกรถ
การเลี้ยวรถ
การกลับรถ
การหยุด
การจอด
การใช้ความเร็ว
การปฏิบัติตามสัญญาณและเครื่องหมายจราจร
กฏหมายเขียนไว้ละเอียดยิบ

ผมยังงงว่าคดีรถชนเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อกฏหมายกำหนดไว้ชัดเจนให้ทำอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้
ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น
การขับขี่รถจะต้องขับขี่ในช่องทางเดินรถ  ถนนบางเส้นทางตีช่องทางไว้ให้ขนาดกว้างช่องละประมาณ 2 เมตรครึ่ง
ขนาดของรถยนต์ปกติกว้างที่สุดประมาณ 1เมตร 80 เซ็นต์  กฏหมายห้ามขับขี่รถคร่อมเส้นแบ่งช่องทาง  เส้นทางใดที่ไม่มีเส้นแบ่งช่องทางเดินรถก็ให้ถือแนวกึ่งกลางถนนเป็นแนวเส้นแบ่ง    การขับรถตามกันให้เว้นระยะห่างพอสมควรพอที่ผู้ขับขี่รถคันหลังจะหยุดรถได้ทันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับรถที่ขับขี่อยู่ข้างหน้า (มีบัญญัตไว้ใน ม.40)  เรื่องการเว้นระยะห่างนี้ศาลฎีกาเคยพิพากษาเป็นบันทัดฐานว่าอย่างน้อย ๑๕ เมตร  และถ้าหากรถมีความเร็วต้องเว้นระยะห่างมากยิ่งขึ้น  ความเร็วของรถยนต์ในเมืองสูงสุดได้ไม่เกิน  ๙๐ กม./ชม. และเมื่อขับขี่เข้าเขตเทศบาล  หรือผ่านทางแยกต้องลดความเร็วลงครึ่งหนึ่ง    ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลยเว้นแต่คุณจงใจจะขับชน
สถิติคนตายเพราะอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทยทั้งประเทศ  ในยามปกติจะเสียชีวิตชั่วโมงละ ๑ คนครึ่ง  ถ้าในช่วงเทศกาลเสียชีวิตชั่วโมงละ ๓ คน (เป็นตัวเลขถัวเฉลี่ย) จะเห็นว่าคนตายเพราะอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกันมากว่าในการสู้รบหรือทำสงครามและมากกว่าโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อถึงเทศกาลครั้งหนึ่งๆ  เช่นวันสงกรานต์  วันขึ้นปีใหม่  มีผู้คนใช้รถใช้ถนนกันมาก    อุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงตามไปด้วย  รัฐบาลรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยโดยวัดกันที่จำนวนคนตาย  สมัยที่ผมยังมีหน้าที่อยู่ (ตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจทางหลวง)  เคยเข้าร่วมประชุม  ผมพยายามคัดค้านตลอดว่า  จะวัดกันที่จำนวนคนเจ็บคนตายไม่ได้  มันต้องวัดกันที่จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ  เรื่องการเจ็บการตายเป็นเรื่องประสิทธิภาพของการแพทย์และหน่วยกู้ภัย  ยกตัวอย่างคนขับรถโดยสารขับรถหลับในพาผู้โดยสารจำนวน ๔๐ คนลงเหวข้างทาง  ผู้โดยสารและผู้ขับขี่ตายหมด  อย่างนี้จะถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควบคุมจัดการจราจรบกพร่องทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรตั้ง ๔๑ คนไม่ได้  เพราะอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ประมาทเพียงคนเดียวรายเดียว  ผมก็ไม่รู่ว่ารัฐบาลเขาคิดกันยังไง

สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกัน
ขับขี่รถใช้ความเร็วเกินกฏหมายกำหนด
เลี้ยวรถตัดหน้ารถอื่นในระยะกระชั้นชิด
เปลี่ยนช่องทางเดินรถ  หยุดรถ  เลี้ยวรถโดยไม่ให้สัญญาณก่อนล่วงหน้า
ขับขี่รถในขณะที่ร่างกายหย่อนความสามารถในการขับขี่  เช่นหลับในรวมทั้งขับรถ
ในขณะมึนเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นด้วย
และท่านได้โปรดทราบไว้ด้วย
- กรณีเลี้ยวรถทางขวาหรือกลับรถ  ห้ามกระทำเมื่อมีรถสวนทางมาในระยะห่างน้อยกว่า ๑๐๐ เมตร(มาตรา ๕๒)
- ผู้ขับขี่รถต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวรถ  เปลี่ยนช่องเดินรถ  จอดรถหรือหยุดรถ  ในระยะทางไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร (มาตรา ๓๖)
- การขับขี่รถขึ้นหน้ารถอื่นหรือแซงรถ  ต้องแซงทางด้านขวา  เว้นในกรณีที่รถที่ถูกแซงกำลังจะเลี้ยวขวา  หรือเป็นถนนที่แบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่สองช่องขึ้นไป (มาตรา ๔๕)
- การขับขี่แซงขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถซึ่งมิได้แบ่งช่องเดินรถไว้  ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายๆครั้ง  หรือให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวา  เมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางและทำได้อย่างปลอดภัยจึงจะแซงขึ้นหน้าได้ (มาตรา ๔๔)  ผู้ขับขี่รถแซงขึ้นหน้ารถอื่นเป็นฝ่ายที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง
- ผู้ขับขี่รถคันที่จะถูกแชง  เมื่อจะให้รถอื่นแซงขึ้นหน้า  ต้องให้ไฟสัญญาณกระพริบเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถด้านซ้ายหรือไฟเลี้ยวซ้าย (กรณีแซงด้านซ้ายเป็นเรื่องห้ามแซงตามที่ได้กล่าวไปแล้ว)  ข้อนี้เป็นเรื่องของมรรยาทการขับขี่รถ (มาตรา ๓๘อนุ ๓)
- กรณีห้ามแซงเด็ดขาด  เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน  ขึ้นสะพาน  อยู่ในทางโค้ง(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายให้แซงได้)    ภายในระยะ ๓๐ เมตรก่อนถึงทางข้าม  ทางร่วม  ทางแยก  วงเวียน  ทางเดินรถที่ตัดกับทางรถไฟ  เมื่อมีหมอก  ฝน  ฝุ่นหรือควันทำให้ไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ ๖๐ เมตร  เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย (มาตรา ๔๕)
- ในทางเดินรถ  ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้ชนหรือโดนคนเดินเท้า (มาตรา ๓๒ กฏหมายบังคับให้คนขับรถต้องระมัดระวังคนเดินเท้า)
- แต่ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถ  ชนหือโดนคนเดินเท้าที่ข้ามถนนทางนอกทางข้าม (เมื่ออยู่ในเขตที่บังคับให้ต้องข้ามในทางข้าม)  หรือลอด  หรือผ่านสิ่งปิดกั้นห้ามข้ามทาง  ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ขับขี่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว  มีอำนาจปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหลักประกันได้ (มาตรา ๑๔๕)

โปรดสำรวจตนเองว่าท่านแม่นกฏหมายจราจรเพียงใด  แล้วท่านปฏิบัติตามด้วยหรือไม่  ถ้าท่านยังไม่ทราบต้องรีบหาซื้อกฏหมายจราจรมาอ่าน  มิฉะนั้นเมื่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนท่านจะพูดอะไรที่มันเข้าตัว    เท่ากับสารภาพผิดไปโดยปริยาย  อย่าลืมนะครับ  อ่านกฏหมายจราจรเดือนละ ๒ เที่ยวทุกเดือน  ขับรถชนเมื่อใดรับรองท่านได้เปรียบ.

Cr. พล.ต.ต.อังกูร อาทรไผท

เรื่องคดีรถชนหรือโดนกัน พนักงานสอบสวนจะต้องสอบถามให้ได้ข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ก่อนเกิดการโดนกัน ขับขี่กันมาอย่างไร เมื่อได้ข้อเท็จจริงก่อนโดนกันแล้ว ก็นำไปพิจารณาเข้ากับข้อกฏหมาย ว่าที่แต่ละฝ่ายปฏิบัติมานั้นถูกต้องตามกฏหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ฝ่ายใดไม่ได้ปฏิบัติตามถือว่า น่าจะเป็นฝ่ายที่ประมาท นั่นคือ “ผิด”นั่นเอง
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีรถโดนกันทุกคดีก็คือ พนักงานสอบสวนไม่ได้ข้อเท็จจริงที่มันเป็นเรื่องจริงก่อนโดนกัน มีแต่เรื่องที่ปรับแต่งกันขึ้นมา สอบถามคู่กรณีก็พยายามชี้แจงแสดงเหตุว่าตนปฏิบัติถูกต้อง (ปฏิบัติถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย) พนักงานสอบสวนปวดหัว จึงต้องนำไปสู่ การเอาสภาพที่เห็นหลังเกิดการโดนกันแล้ว ไปวิเคราะห์ว่า ฝ่ายนั้นน่าจะขับขี่มาอย่างนี้ ฝ่ายนี้น่าจะปฏิบัติอย่างโน้น เป็นการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งอาจจะใช้ดุลยพินิจผิดพลาดก็ได้ เช่นถ้าในที่เกิดเหตุมีรอยห้ามล้อปรากฏบนพื้นถนนเป็นทางยาว สามารถนำไปคำนวณหาความเร็วได้ พนักงานสอบสวนก็จะชี้ได้เลยว่า ฝ่ายที่ปรากฏรอยห้ามล้อยาวขับขี่ด้วยความเร็วสูง เกินกฏหมายกำหนด เป็นฝ่ายประมาท แต่กรณีร่องรอยชนปรากฏอยู่ตรงตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ บางทีก็ไม่สามารถชี้ได้ถูกต้องว่า ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิด
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการหา “จุดชน” หมายถึง ต้องหาให้ได้ว่า จุดชนอยู่ในเส้นทางการขับขี่ของฝ่ายใด ประเด็นนี้เป็นการพิจารณาว่า ฝ่ายใดที่ลุกล้ำเส้นทางเข้ามา โดยถือหลัก เส้นทางของฝ่ายใดฝ่ายนั้นได้เปรียบ ใครอยู่เส้นทางตรงได้เปรียบกว่าเส้นทางเลี้ยว ฝ่ายเปลี่ยนเส้นทางต้องให้สิทธิ์รถทางตรง ใครมาก่อนหรือถึงก่อนย่อมมีสิทธิ์กว่า เป็นต้น
ต้องอธิบายกันยาวเพราะเรื่องรถโดนกันมีปัญหามาก ละเอียดอ่อน ตำรวจกลัวกันมาก ไม่เหมือนคดีลัก วิ่ง ชิง ปล้น หรือฆ่ากันตาย มันมองเห็นชัดกว่า ว่าใครผิดใครถูก
ผมอ่านข้อปรึกษาของคุณปราการ ไม่แน่ใจว่า ทางฝ่ายคุณปราการฯกำลังจะกลับรถ หรือฝ่ายขับขี่รถจักรยานยนต์กลับรถ จึงแนะนำทั้งสองกรณี ทั้งนี้ต้องเอาตัวบทกฏหมายจราจรมาเป็นบรรทัดฐาน
มาตรา ๕๒ ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ กลับรถ หรือเลี้ยวรถทางขวา ในเมื่อมีรถอื่นสวน หรือตามมา ในระยะน้อยกว่า ๑๐๐ เมตร เว้นแต่เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่น
ยังมีมาตราอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องอีก เช่นกฏหมายบังคับให้รถจักรยานยนต์ รถที่มีความเร็วต่ำ ต้องเดินรถชิดขอบทางด้านซ้าย เว้นแต่กรณีที่จะเลี้ยวรถ
อีกประเด็นที่เกี่ยวข้องทุกเรื่องคือความเร็ว อย่าลืมว่ามีกฏกระทรวงที่ใช้บังคับได้เสมือนกฏหมายคือ ในเขตเทศบาล หรือในเขตเมือง ขณะขับขี่ผ่านทางแยกให้ลดความเร็วลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของความเร็วปกติ (ความเร็วปกติคือ ๙๐ กม./ชม.)
ถ้าคุณปราการฯขับรถยนต์เพื่อจะกลับรถ (ซึ่งเป็นได้ทั้งกลับรถไปทางขวา และกลับรถไปทางซ้าย) รถจักรยานยนต์ขับขี่อยู่ในทางตรง ต้องเอามาตรา ๕๒ เข้ามาจับ คุณปราการฯเลี้ยวกลับในระยะห่างเกินกว่า ๑๐๐ เมตรหรือเปล่า ถ้าน้อยกว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นฝ่ายผิด (มาตรา ๕๒ ใช้บังคับทั้งกรณีขับขี่สวน และกรณีขับขี่ตามกันมา)
เวลาเดียวกัน พิจารณาการขับขี่รถของฝ่ายจักรยานยนต์ ขับขี่อยู่ในช่องทางถูกต้องตามกฏหมายบัญญัติไว้หรือไม่
ถ้าเป็นกรณีรถจักรยานยนต์กลับรถ ก็นำมาตรา ๕๒ มาปรับเข้าอีกเช่นกัน
ทางที่ดี หาซื้อ พ.ร.บ.จราจรทางบกมาอ่านสัก ๒ เที่ยว แล้วจะทราบว่า ท่านได้เปรียบหรือเสียเปรียบ (หาซื้อ พ.ร.บ.เล่มปัจจุบันนะครับ กฏหมายนี้มีการแก้ไขตลอด) ไม่ว่าตำรวจ ทนาย อัยการ ผู้พิพากษา ถือกฏหมายเล่มนี้เป็นบรรทัดฐานเหมือนกันหมด


ID=1869,MSG=2067
Re: ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ

Re: ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ

หลักในพิจารณาตัดสินคดีจราจร จะดูว่าฝ่ายไหนขับขี่ผิดกฏ หรือไม่ปฏิบัติกฏ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง เกี่ยวกับการจราจร ฝ่ายไหนไม่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์กติกา ฝ่ายนั้นประมาท ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ทั้งสองฝ่าย ก็ถือว่าประมาททั้งคู่

รายของคุณ ukk น่าจะเป็นกรณีรถของคุณกับรถ จยย.ขับขี่ไปในทิศทางเดียวกัน โดยรถ จยย.อยู่ทางด้านซ้าย ให้ถือช่องทางเดินรถเป็นสำคัญ แต่ช่องเดินรถ จยย.ไม่มี กฏหมายบังคับให้ จยย.ต้องขับขี่ชิดขอบทางด้านซ้าย และช่องทางด้านซ้ายรถยนต์ก็ขับได้ เพราะตีช่องไว้ให้สำหรับรถยนต์ สรุปใครที่ขับขี่รถยนต์ช่องทางด้านซ้ายท่านจะต้องขับขี่ร่วมไปกับรถ จยย. ต้องระวังให้ดี รถ จยย.เขาชอบแว้งซ้าย แว้งขวา งอกแงกๆ ระวังจะเป๋ไปเกี่ยวกับรถยนต์เข้า เกี่ยวเมื่อไรเป็นล้ม

คุณ ukk ต้องนำสืบให้ได้ว่า รถ จยย.เป็นฝ่ายขับขี่เสียหลักเข้ามาโดนคุณ ถ้าไม่เสียหลักเข้ามาไม่มีทางโดนกัน และคุณก็พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการโดนกันแล้ว โดนการหักรถหลบ แต่ก็ยังเกิดการโดนกันขึ้น อาจถือได้ว่า ฝ่ายรถ จยย.หาได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอไม่ ถือเป็นประมาท พยานคนเดียวพอแล้ว เหลือกิน มากพยานเดียวให้การขัดกัน เลยไม่รู้จะเชื่อใคร พยานคนเดียวดีกว่า เอาที่เจ๋งๆ

เรื่องการเรียกค่าเสียหายในชั้นสอบสวนเป็นเรื่องธรรมดาครับ เป็นการเจรจาออมชอมกัน บางทีไม่ได้พิจารณาลึกว่าใครถูกใครผิด ใครเจ็บใครตายเรียกค่าเสียหายไว้ก่อน เป็นเรื่องมนุษยธรรมและธรรมเนียมแบบไทยๆครับ เรื่องนี้ลองปรึกษาทนายความที่เก่งเรื่องกฏหมายจราจร ถ้าเห็นว่าเราไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท ไม่ต้องไปจ่ายเงินค่าเสียหายอะไรเลย ตำรวจแจ้งข้อหาคุณก็ประกันตัว ถ้าคดีตกลงค่าเสียหายกันไม่ได้ตำรวจมักจะทำสำนวนส่งฟ้อง ให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน ยังไงๆคุณต้องมีทนาย เสียค่าทนาย ค่าประกัน คำนวณดูว่า ถ้าจะตกลงกันชั้นโรงพักให้ตำรวจช่วย กับจ้างทนายสู้คดีในชั้นศาล ใครถูกกว่ากัน ควรเลือกเอาทางนั้นครับ

อ้างอิง
angkul007.wordpress.com/2007/06/18/ขับรถชนแล้วต้องไม่เสีย/


ID=1869,MSG=2068
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Sunday เวลา 07:35:21pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com