ทำไมต้องทำประกันชีวิต

วงจรชีวิต ปกติของคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนเข้าสู่วัยเรียน จากนั้นสู่วัยทำงานสร้างฐานะ เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่า อนาคตจะได้มีเงินใช้
ภายหลังจากทำงานเหนื่อยมาหลายสิบปี หวังว่าจะได้พักผ่อนอย่างสบายตอนบั้นปลายชีวิตในวัยเกษียณ จนกระทั่งถึงขั้นสุดท้าย คือการจากไปในวัยอันควร
แต่ธรรมชาติของคนเรา เมื่อเกิดมาแล้ว การแก่ การเจ็บ และการตาย เป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ไม่เลือกวัยว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่เลือกว่าผู้ชาย หรือ ผู้หญิง ไม่เลือกว่าเรียนอยู่หรือทำงานแล้ว ไม่เลือกว่าคนจนหรือคนรวย

 


เหตุผลของการทำประกันชีวิต

เมื่อคนเราเกิดมา ย่อมมีความต้องการตามมาด้วย ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน คนเรายังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีก เช่น การศึกษาที่ดีของบุตร ต้องการมีรถ เพื่อสะดวกสำหรับการเดินทาง ต้องการพักผ่อนท่องเที่ยวตามใจปรารถนา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังต้องมีภาระเลี้ยงดูครอบครัว เลี้ยงดูพ่อแม่ที่แก่เฒ่า เลี้ยงดูญาติพี่น้องที่อยู่ในอุปการะ ต้องดูแลกิจการหรือธุรกิจ ภาระในการผ่อนชำระหนี้สิน เช่น หนี้สินธุรกิจ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ การซื้อสินค้าโดยระบบเงินผ่อนที่เข้ามามีบทบาทในครอบครัวคนไทย เป็นต้น

ความจำเป็นและภาระต่างๆ เหล่านี้ เราจำเป็นต้องมี เงิน หรือ ต้องมีรายได้ นี่คือหลักความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้

โดยส่วนใหญ่แล้ว คนเรามีรายได้มาจากการทำงาน ซึ่งต้องอาศัย ความรู้ เวลา และเครดิตของคนๆนั้น แต่อย่างไรก็ตาม เพราะชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ทุกคนมีความเสี่ยงภัยอยู่ตลอดเวลา ภัยจากการไร้งาน ชรา ทุพพลภาพ และความตาย จะมีใครบอกได้ว่า วันพรุ่งนี้ของเราจะมีหรือไม่ เวลาไหนจะเป็นเวลาสุดท้าย

"หากวันนี้เรานอนหลับแล้ว พรุ่งนี้เช้าเราไม่ตื่นขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้น ภาระต่างๆ ใครจะรับผิดชอบ"

อย่าให้ความตายสร้างหนี้โดยอัตโนมัติ
การให้ครอบครัวเป็นผู้ชำระหนี้แทนนั้น ไม่เป็นการยุติธรรม อย่างน้อยที่สุด ที่คนคนหนึ่งควรจะได้ทำ คือ การตายโดยปราศจากหนี้สิน ถ้าต้องจากไปก่อนวัยอันสมควร ครอบครัวของเขาควรจะมีหลักประกันว่า จะไม่ต้องไปจากบ้านที่อยู่อาศัยหลังเดิม

เนื่องจากทุกคนมีโอกาสที่จะพบเหตุการณ์ดังกล่าว เราจึงพยายามที่จะหาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา ได้แก่

- ปล่อยตามยถากรรม อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เมื่อถึงเวลาเกิดขึ้นคงมีวิธีแก้ไขได้เอง
- สัญญากับตัวเองและครอบครัว ว่าจะไม่เจ็บ จะไม่ป่วย จะไม่พิการ จะไม่จากไปไหน
- หาเงินให้ได้มากที่สุด ในยามที่มีความสามารถในการหารายได้ จะทำงานหาเงิน และ เก็บเงินให้มากที่สุด แต่ปัญหาคือ เงินที่เราเก็บอยู่นั้นเพียงพอที่จะแบกภาระทั้งหมดเมื่อเราไม่อยู่หรือไม่
- เก็บเล็กผสมน้อย ค่อยๆ เก็บ อาจจะเป็นฝากประจำ ฝากแบบเงินต้นเท่ากันทุกงวด นาน 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี หวังว่าจะต้องเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต แต่เราจะการันตีได้อย่างไรว่า เราจะสามารถฝากได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุด หากเราหรือพ่อแม่ พี่น้อง เจ็บป่วยหนัก จะไม่ถอนออกมาใช้ได้หรือไม่ หรือจะยืนกรานอดทนต่อสิ่งยั่วยวนที่จะต้องทำให้เราถอนเงินได้นานเพียงไร และถ้าต้องจากไปก่อนวัยอันควร โดยที่เป้าหมายเงินออมยังไม่บรรลุ จะมีใครช่วยฝากต่อหรือไม่
- นำเงินไปลงทุน ในความเป็นจริง ผลตอบแทนมาก ความเสี่ยงย่อมสูงมาก ใครจะรับประกันได้ว่าลงทุนทุกครั้ง กำไรทุกครั้ง ใครจะรับประกันได้ว่าไม่มีการขาดทุน
- เก็บเงินแบบเป็นระบบ และ รับรองเป้าหมาย หากต้องจากไปก่อนวัยอันควร ครอบครัวยังสามารถมีเงินพยุงฐานะ บุตรได้มีโอกาสเรียนจบ แม่ม่ายได้มีเวลาดูแลบุตร พ่อแม่ผู้แก่เฒ่ามีเงินไว้ใช้จ่าย หากโชคดีอายุยืนก็จะมีเงินไว้ให้ตัวเองใช้ในยามชรา โดยไม่จำเป็นต้องเอาเงินก้อนโตมาฝาก เราสามารถทยอยเก็บทีละน้อยได้ การแก้ปัญหาวิธีนี้ก็คือ การประกันชีวิต
หน้าแรก | ประกันวินาศภัย | ประกันชีวิต | การสั่งซื้อ | การชำระเงิน | สนับสนุน | สาระน่ารู้ | ผังเว็บไซต์ | ติดต่อเรา
Copyright © 2006 Cymiz.com., All rights reserved. Power by Cymiz.com
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!