ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษี% ภาษีแต่ละขั้น ภาษีสะสม
1 - 150,000 150,000 ได้รับยกเว้น - -
150,001 - 500,000 350,000 10 35,000 35,000
500,001 - 1,000,000 500,000 20 100,000 135,000
1,000,001 - 4,000,000 3,000,000 30 900,000 1,035,000
4,000,001 บาทขึ้นไป   37    

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วเหลือเท่าใดเรียกว่าเงินได้สุทธิ
นำเงินได้สุทธิมาเทียบตามอัตราภาษี ถ้ามีเงินได้สุทธิคงเหลือ ไม่เกิน 150,000 บาทจะไม่เสียภาษี ตามการคำนวณวิธีแรก
(แต่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับวิธีที่สองว่ามีภาษีหรือไม่ แล้วยึดวิธีที่มีภาษีที่ต้องชำระมากกว่า)
(ดูวิธีการคำนวณตามรายละเอียดด้านล่าง)

สมัครโครงการประกันชีวิตได้สิทธิพิเศษนี้
ใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษีของเบี้ยประกันที่ส่งต่อปีสูงสุด 100,000 บาท นำมาคำนวณ

ถ้าซื้อประกันชีวิต ส่งเบี้ยปีละ 100,000 บาท

หากรายได้ต่อปีอยู่ที่เกิน 4,000,000 บาท จะได้รับการลดหย่อนภาษีที่ 100,000x37%= 37,000 บาท ต่อปี
หากรายได้ต่อปีอยู่ที่เกิน 500,000 บาท จะได้รับการลดหย่อนภาษีที่ 500,000x20%= 10,000 บาท ต่อปี
หากรายได้ต่อปีอยู่ที่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการลดหย่อนภาษีที่ 300,000x20%= 6,000 บาท ต่อปี

 


วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?

โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1
 
เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี xxx (1)
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด xxx (2)
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย xxx (3)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด xxx (4)
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ xxx (5)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด xxx (6)
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ xxx (7)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา    
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 xxx (8)

ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2* หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง

วิธีที่ 2*
ยอดเงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 xxxx (9)
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 2 = จำนวนตาม (9) x 5 /1000 xxxx (10)

กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.005 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น

ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี
การคำนวณภาษี


จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า   xxxx (11)
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว xx    
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว xx    
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า xx    
เครดิตภาษีเงินปันผล xx xx (12)
(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)   xx  

การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )
หน้าแรก | ประกันวินาศภัย | ประกันชีวิต | การสั่งซื้อ | การชำระเงิน | สนับสนุน | สาระน่ารู้ | ผังเว็บไซต์ | ติดต่อเรา
Copyright © 2006 Cymiz.com., All rights reserved. Power by Cymiz.com
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!