การยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ.

ยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ ดังนั้นจะไม่มีสติ๊กเกอร์ให้ติดหน้ารถยนต์เเล้ว ซึ่งรัฐสามารถการทำ การทำ พรบ รถยนต์ได้ ตอนที่ไปต่อทะเบียนรถยนต์ในแต่ละปี โดยผู้ที่ประสงค์จะต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องนำเอกสารส่วนท้าย(ส่วนล่าง)มาแสดงด้วย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์ให้ยุ่งยากเปลืองงบอีกต่อไป

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์โดยใช้ส่วนท้ายของ พรบ
- การต่อภาษีป้ายรถยนต์ต้องใช้ส่วนท้ายของกรมธรรม์ พรบ (หาง พรบ) คือ ส่วนล่างของกระดาษเอกสารนั้น โดยฉีกตามรอยยประ หรือ รอยปรุ
- เอกสาร พรบ ดังกล่าวสามารถใช้ได้ ตราบเท่าที่ยังมีผลบังคับอยู่ ตัวอย่าง สมมติว่า พรบ ยังมีผลบังคับอีก3เดือนจึงจะหมดอายุลง
แต่เนื่องจากรอบของการต่อทะเบียนรถยนต์ ถึงกำหนดก่อน(รอบไม่ตรองกัน) เราก็สามารถนำเอกสาร พรบ นั้นไปใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ได้ ไม่จำเป็นต้องไปทำใหม่ ซื้อใหม่
เพราะ พรบ ยังมีผลบังคับใช้ได้อยู่นั่นเอง

หลายๆที่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว รวมทั้ง เจ้าหน้าที่บางคนยังแนะนำผิดๆ ทำให้ประชาชน ต้องซื้อ พรบ ใหม่ ซ้ำซาก เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

 


การยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ.

ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่4) พ.ศ.2550 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นต้นไปนั้นได้มีสาระสำคัญ เกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการรับประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ ดังนี้

1. ให้ยกเลิกเครื่องหมายที่แสดงว่ารถดังกล่าวได้จัดให้มีการประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
และยกเลิกภาระของนายทะเบียนในการจัดทำเครื่องหมายและส่งมอบให้กับบริษัทเพื่อส่งมอบเครื่องหมายให้เจ้าของรถที่จัดให้มีการประกันภัย ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้เจ้าของรถที่ได้จัดทำประกันภัยที่ความคุ้มครองเริ่มตั้งแต่ วันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นต้นมา จะไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยรถจากบริษัทประกันภัย

2 พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว บัญญัติให้กรมการขนส่งทางบกได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบรถทุกคันก่อนการจดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปี ว่าได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วหรือไม่ซึ่งหากไม่ได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วกรมการขนส่งทางบกก็จะไม่ดำเนินการจดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีให้แก่รถคันดังกล่าว ดังนั้นหากจะต้องนำรถไปจดทะเบียนหรือรถคันใดถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระภาษีประจำปีเจ้าของรถควรจัดให้มีการทำประกันภัยก่อนและนำเอกสารหลักฐานการจัดทำประกันภัยประกอบคำร้องขอการจดทะเบียนหรือชำระภาษประจำปีนั้นด้วยโดยป้ายวงกลมที่ได้รับหลังจากการชำระภาษีประจำปีจะเป็นข้อสันนิฐานเบื้องต้นว่ารถคันนั้นได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วและเพื่อให้ความเชื่อใจเกิดแก่ประชาชนกรมการประกันภัยได้มีการประสานงานกับกรมการขนส่งทางบกและพร้อมที่จะนำระบบส่งข้อมูล การรับประกันภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการตรวจสอบการจัดทำประกันภัย
หน้าแรก | ประกันวินาศภัย | ประกันชีวิต | การสั่งซื้อ | การชำระเงิน | สนับสนุน | สาระน่ารู้ | ผังเว็บไซต์ | ติดต่อเรา
Copyright © 2006 Cymiz.com., All rights reserved. Power by Cymiz.com
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!