fax claim (แฟกซ์เคลม)กับ บัตร PA ต่างกันอย่างไร?

คือ รูปแบบการบริการจ่ายสินไหม ที่ใช้ระบบการพิจารณาอนุมัติผ่านทางแฟกซ์ โดยมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการกับทางบริษัท , ผู้เอาประกันเพียงยื่นบัตรประกันกับทางโรงพยาบาล จากนั้นรอเวลา ทางบริษัทประกันพิจารณา และตอบกลับไปทางโรงพยาบาล ถ้าหากค่าใช้จ่ายไม่เกินผลประโยชน์ที่ซื้อไว้ ก็ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย ด้วยวิธีนี้ลูกค้าจะได้รับ ความสะดวก และ รวดเร็ว


fax claim (แฟกซ์เคลม)

แฟกซ์เคลม เป็นรูปแบบบริการ สำหรับพิจารณาจ่ายเงินสินไหม ให้กับผู้เอาประกัน โดยผ่านทาง fax ซึ่งจะใช้กรณีที่ผู้เอาประกันนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
ผู้ที่มีประกันความคุ้มครองค่ารักษา สามารถยื่นบัตรผู้เอาประกัน หรือ บัตรสุขภาพของบริษัทประกันต่างๆที่ได้ทำไว้ ให้กับทางโรงพยาล เพื่อใช้ในการยื่นทำ fax cliam

การรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จะมีขั้นตอนวิธีการรักษา หลายอย่างประกอบกัน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นบางอย่างไม่สามารถเบิก กับทางบริษัทประกันได้ ทางโรงพยาบาลไม่สามารถทราบได้ว่า ค่าใช้จ่ายตัวไหนที่เบิกได้บ้างและไม่ได้บ้าง เนื่องจากเงื่อนไข ความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภทแต่ละแผนความคุ้มครองแตกต่างกัน รวมถึง เงื่อนไขของแต่ละบริษัทก็ไม่เหมือนกันจึงต้อง fax เอกสารค่าใช้จ่ายในการรักษาต่างๆ ไปที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ เพื่อให้บริษัทประกันภัย พิจารณา จ่ายสินไหม ต่อไป

เมื่อก่อนนั้น สินไหมจากประกัน ต้องมีการสำรองเงินจ่าย โดยผู้เอาประกันภัยเองก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐานมาทำการเบิกเคลมที่บริษัทประกัน ปัจจุบัน มีบริการ fax claim ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็ว สะดวก สบายให้ผู้ใช้บริการได้มาก

การยื่นบัตร PA

บัตร PA หรือ บัตรประกันอุบัติเหตุส่วนบุคล จะใช้กรณีที่ผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุ และต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งบัตร PA จะมีวงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุ เช่น 20,000 บาท, 50,000 บาท, 100,000 บาท แล้วเเต่แผนความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันได้ซื้อเอาไว้ การใช้งานบัตร PA ค่อนข้างง่าย เนื่องจากไม่ต้องรูปแบบ fax claim เหมื่อนอย่างประกันสุขภาพกรณีนอนโรงพยาบาล เพราะ ค่าใช้จ่ายที่มีวงเงินให้ในการรักษาตัวกรณีอุบัติเหตุ จะเป็นวงเงินแบบเหมาจ่าย นั่นเอง
หน้าแรก | ประกันวินาศภัย | ประกันชีวิต | การสั่งซื้อ | การชำระเงิน | สนับสนุน | สาระน่ารู้ | ผังเว็บไซต์ | ติดต่อเรา
Copyright © 2006 Cymiz.com., All rights reserved. Power by Cymiz.com
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!